SHARE

คัดลอกแล้ว

ครม. อนุมัติกรอบ-งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ปี 64 กว่า 1.5 ล้านล้านบาท คาดทำกำไรสุทธิราว 73,503 ล้านบาท พร้อมกันนี้ได้เห็นชอบการรถไฟแห่งประเทศไทย จัดตั้งบริษัทลูกบริหารสินทรัพย์ พร้อมกู้เงิน 200 ล้านบาทเป็นทุนจดทะเบียน คาดผลตอบแทนที่ รฟท.จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 631,628 ล้านบาท 

วันที่ 20 ก.ย.2563 วานนี้ น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อบริหารทรัพย์สินของ รฟท. โดยใช้ชื่อว่า บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มีทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยเห็นชอบให้ รฟท. กู้ยืมเงินจำนวน 200 ล้านบาท เพื่อนำมาลงทุนเป็นทุนจดทะเบียนด้วย โดยที่รฟท.รับภาระต้นเงินกู้ ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงินรวมถึงพิจารณาวิธีการรกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามคความเหมาะสม

กระทรวงคมนาคมรายงานถึงความจำเป็นในการจัดตั้งบริษัทลูกในครั้งนี้ว่า รฟท. มีที่ดินที่ไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถจำนวน 38,469 ไร่ มูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท แต่มีรายได้ผลตอบแทนจากการบริหารสินทรัพย์ประมาณปีละ 2,400 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 1ของมูลค่าสินทรัพย์ เนื่องจากการบริหารสินทรัพย์ไม่ใช่กิจกรรมหลักที่รฟท.มีความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ไม่สามารถนำสินทรัพย์ที่มีอยู่มาบริหารจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่เพื่อบริหารสินทรัพย์เป็นกิจกรรมหลัก

สำหรับรายได้ของบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด จะมาจาก 3 ส่วนคือ 1.รายได้จากค่ารับจ้างบริหารสัญญาเช่าเดิมจำนวน 15,270 สัญญา โดยสินทรัพย์ทั้งหมดยังคงเป็นของรฟท. 2.รายได้จากการให้เช่าช่วง ร่วมทุน หรือพัฒนาที่ดินเดิมที่หมดอายุสัญญา 3.รายได้จากโครงการร่วมลงทุนกับเอกชนและการพัฒนาพื้นที่ดินเปล่าแปลงอื่นๆ และในอนาคตอาจมีรายได้จากการขายกระแสเงินสดในอนาคตให้กับกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

ส่วนผลประโยชน์ที่ รฟท.จะได้รับนั้น รฟท.จะมีรายได้จากบริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด มาลดภารระหนี้สิน โดยประมาณการผลตอบแทนที่ รฟท.จะได้รับในระยะเวลา 30 ปี จะอยู่ที่ 631,628 ล้านบาท เพียงพอที่จะนำมาแก้ไขปัญหาหนี้สินในปัจจุบัน ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562 มีภาระหนี้สินรวม 177,611 ล้านบาท

ด้าน น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบกรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ 2564 จำนวน 44 แห่ง ภายใต้ 15 กระทรวง โดยปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 52 แห่ง แต่ 8 แห่ง เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นลักษณะบริษัทมหาชน จึงไม่ได้อยู่ในกรอบเงินลงทุนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติในวันนี้ โดย 44 รัฐวิสาหกิจ จะประกอบด้วย วงเงินดำเนินการ จำนวน 1.51 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 2.91 แสนล้านบาท โดยวงเงินเบิกจ่ายใช้ในการดำเนินโครงการทั้งหมด 16 โครงการ เช่น โครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก Smart Park, โครงการระบบขนส่งมวลชน จังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ห้าแยกฉลอง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

โครงการเพิ่มความสามารถในการจ่ายไฟด้วยสายเคเบิลใต้น้ำให้เกาะต่างๆ ที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และยังมีโครงการอื่นๆ อีกด้วย เป็นเพียงแต่ตัวอย่างโครงการหลักๆ เท่านั้น โดยกำหนดเป้าหมายให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายเงินลงทุนจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน

ทั้งนี้มีการประมาณการงบทำการปี 2564 ของรัฐวิสาหกิจ 44 แห่ง คาดว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 7.3 หมื่นล้านบาท ในส่วนของระยะยาว ประมาณการแนวโน้มการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจในช่วง 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2567 คาดว่าจะมีการลงทุนเฉลี่ยนประมาณปีละ 3.8 แสนล้านบาท จะกำไนสุทธิเฉลี่ยปีละ 1.06 แสนล้านบาท เมื่อรวมงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้ง 52 แห่ง แต่ไม่รวมงบที่อาจมีเพิ่มเติมระหว่างปี คาดการณ์ว่าปี 2564 จะมีวงเงินดำเนินการอยู่ที่ 1.55 ล้านล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน 4.32 แสนล้านบาท เท่ากับว่าปีนี้รัฐวิสาหกิจจะมีเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากรัฐวิสาหกิจ 52 แห่ง ราว 4 แสนกว่าล้านบาท

นอกจากนี้ ครม.ยังได้เห็นชอบการลงทุนโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โครงการนี้มีพื้นที่รวม 1,383 ไร่ ห่างจากท่าเรือมาบตาพุด 7 กิโลเมตร สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา 17 กิโลเมตร ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ 29 กิโลเมตร ท่าเรือแหลมฉบัง 53 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ 150 กิโลเมตร มูลค่าโครงการประมาณ 2,370 ล้านบาท เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

สำหรับการใช้ประโยชน์ที่จัดสรรไว้ดังนี้ โครงการนี้มีพื้นที่รวม 1,383 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่อุตสาหกรรม 621 ไร่ พื้นที่พาณิชยกรรม 150 ไร่ พื้นที่สาธารณูปโภค เช่น พื้นที่จอดรถส่วนกลาง ผลิตน้ำประปา การจัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย สถานีไฟฟ้าย่อย และถนน 373 ไร่ รวมถึงพื้นที่สีเขียวและจัดสรรไว้เป็นแนวกันชนอีก 232 ไร่ โดยเป้าหมายของโครงการนี้มุ่งเน้นให้กลุ่มอุตสาหกรรม หรือ New S-curve ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน วงเงินลงทุน 2.48 พันล้านบาท คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ประมาณ 3 ปี และคาดว่าพื้นที่จะถูกเช่าหมดภายใน 4 ปีหลังจากก่อสร้างเสร็จ ผลของการคำนวณความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ระยะเวลาคืนทุนคาดว่าจะเป็น 14 ปี ถ้าคำนวณค่าปัจจุบันสุทธิจะเท่ากับประมาณ 585 ล้านบาท โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับประชาชน โดยเฉพาะเรื่องการจ้างงาน ในช่วงระยะการก่อสร้างจะเกิดการจ้างงานประมาณ 200 คน นำไปสู่เงินหมุนเวียนในชุมชนประมาณ 23 ล้านบาทต่อปี แต่เมื่อโครงการดำเนินการแล้วเสร็จก็จะเกิดการจ้างงานประมาณ 7,500 คน และนำไปสู่เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ประมาณ 1.3 พันล้านบาทต่อปี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า