Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 8 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีผู้นำจาก เวียดนาม ลาว ไทย สิงคโปร์ บรูไน และผู้แทนจาก อินโดนีเซีย กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย และนายโรเบิร์ต ซี. โอไบรอัน (Robert C. O’Brien) ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Security Advisor) เป็นผู้แทนฝ่ายสหรัฐฯ

วันที่ 14 พ.ย.2563  นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการประชุมว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ ในอนาคต ขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ให้พัฒนาอย่างเต็มศักยภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของความร่วมมือเพื่อจำกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน ตลอดจนทบทวนเพื่อต่อยอดความร่วมมือจากการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 7

นายกรัฐมนตรีเวียดนามชื่นชมบทบาทของสหรัฐฯ ในภูมิภาค และด้วยความท้าทายที่มากขึ้น ประเทศในภูมิภาคต้องร่วมมือกันมากขึ้นตามหัวข้อหลักของการประชุม แน่นแฟ้นและตอบสนอง เพื่อการฟื้นฟูหลังโควิด-19 ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

โดยที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เชื่อมั่นว่าการประชุมจะดำเนินการหารือไปด้วยดี และเป็นปีสำคัญของความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้กระทบการพบเจอเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น การเชื่อมห่วงโซ่อุปทานสำหรับโควิด-19 ยังคงจำเป็น ต้องมีความร่วมมือต่อต้านโรคระบาด การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ทั้งความมั่นคงและอาหาร นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การมีการฝึกอบรมสนับสนุนอาชีพ เป็นต้น

ในโอกาสนี้พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า สหรัฐฯ เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่รอบด้านของอาเซียน บทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐฯ จะช่วยเสริมสร้างความเป็นแกนกลางและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอาเซียนการสร้างดุลยภาพใหม่ทางยุทธศาสตร์ (new strategic equilibrium) ในอินโด-แปซิฟิก จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศของความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การฟื้นตัว ทางเศรษฐกิจ และการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภูมิภาค นายกรัฐมนตรีเสนอให้ อาเซียนและสหรัฐฯ กระชับความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างอนาคตที่มีเสถียรภาพและความยั่งยืนสำหรับประชาชนใน 3 ประเด็น คือ

1. การส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข สนับสนุนการวิจัยและการผลิต ตลอดจนการเข้าถึงยาและวัคซีนต้านโควิด-19 อย่างเร่งด่วน โดยไทยพร้อมจะเป็นฐาน ในการผลิตยาและวัคซีน เพื่อให้เป็นสินค้าสาธารณะ และไทยพร้อมสนับสนุน โครงการ “อาเซียน-สหรัฐฯ ด้านสาธารณสุขเพื่ออนาคต”

2. การส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และภูมิภาค โดยสหรัฐฯ และอาเซียน เขตเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 1 และ 5 ของโลก ควรร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทานสินค้า เพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีในอาเซียน และพัฒนาเมืองอัจฉริยะร่วมกัน รวมทั้งเสริมสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ โดยเฉพาะจากการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนภาคเอกชนของสหรัฐฯ มาร่วมพัฒนาขีดความสามารถด้านดิจิทัลในอาเซียน ซึ่งไทยมีโครงการเพื่อรองรับการเติบโตด้านดิจิทัลที่พร้อมร่วมมือกับสหรัฐฯ อาทิ โครงการ “ASEAN Digital Hub” รวมถึงโครงการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ “Digital Park Thailand”

3. การพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งอาเซียนและสหรัฐฯ ควรร่วมกันพัฒนาทักษะแรงงาน ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต ควรมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา ในสาขาอาชีพใหม่ ๆ การพัฒนาทักษะภาษา และการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาผลิตแรงงานที่ทันสมัย และมีทักษะตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานโลก

ด้านที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าวย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะสานต่อมิตรภาพและความเป็นหุ้นส่วนสหรัฐ-อาเซียน ให้ดำเนินต่อไปในปีหน้าและต่อ ๆ ไป โดยจะแน่นแฟ้นมากขึ้นทุกด้าน ความร่วมมือสำคัญต่อสันติภาพ ความมั่นคง และประโยชน์ต่อประชาชน รวมทั้ง จะมีความร่วมมือใหม่ ๆ เช่น Task Force ด้านสาธารณสุข และโควิด-19 ลงทุนด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลมากขึ้น เพื่อส่งเสริมแรงงานและบุคลากร ลงทุนเพิ่มขึ้นในด้านโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน ส่งเสริมอินโด-แปซิฟิกที่เปิดกว้างและเสรี รวมทั้งปกป้องความเป็นแกนกลางของอาเซียน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า