SHARE

คัดลอกแล้ว

ร.ต.อ.พงศกร โฆษก กทม.ให้คำแนะนำร้านอาหารไหนเล่นดนตรีได้-ไม่ได้ ผ่อนปรนระยะที่ 4 ให้กิจกรรมกิจการกลุ่มเสี่ยงเปิดได้ โฆษก กทม.ย้ำร้านที่มีการแสดงดนตรีได้ต้องมีใบอนุญาตเท่านั้น

วันที่ 15 มิ.ย. 2563 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด (ศบค.) ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 4 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศ เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว 11 ประเภทกิจการ/กิจกรรมที่มีการผ่อนปรนเพิ่มเติม ซึ่งล่าสุด ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร (กทม.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับร้านอาหารที่มีการแสดงดนตรี ระบุว่า ร้านอาหารไหนเล่นดนตรีได้ ร้านแบบไหนเล่นไม่ได้ วิธีดูคือ
1.ร้านอาหารนั้นจดทะเบียนเป็นร้านอาหารและขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทแสดงดนตรีไหม?
2.ใบอนุญาตนี้คือสิ่งที่ต้องมี หากต้องการเปิดร้านอาหารที่มีการแสดงดนตรี
3.การดำเนินการจะต้องไม่เข้าข่ายเป็น “สถานบริการ” ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ. 2509 หรือเป็นสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ

หากร้านอาหารนั้นๆ ทำการจดทะเบียนและขออนุญาตถูกต้อง อีกทั้งไม่เข้าค่ายเป็นสถานบริการหรือสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการก็สามารถทำการแสดงดนตรีได้ และต้องจัดมาตรการพื้นฐานอย่างเคร่งครัด

https://www.facebook.com/earthpongsakornk/posts/279103746832861

สำหรับ 11 ประเภทกิจการ/กิจกรรมที่ กทม.ประกาศผ่อนปรนระยะ 4 ประกอบด้วย
1.การผ่อนผันใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา
– โรงเรียนในระบบประเภทนานาชาติ
– สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรนานาชาติ
– โรงเรียนนอกระบบประเภทกวดวิชาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
– โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งโรงเรียนไม่เกิน 120 คน
– นอกจากนี้ การเปิดเรียนการจัดการเรียนการสอนให้เป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวตกรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณีกำหนด

2.โรงแรม โรงมหรสพ ห้องประชุม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า โรงภาพยนต์ หรือในสถานที่อื่นๆ ให้สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
– การจัดประชุม การอบรม การสัมนา
– การจัดนิทรรศการ การจัดแสดงสินค้า
– การจัดเลี้ยง งานพิธี
– การแสดงนาฎศิลป์ ดนตรี คอนเสิร์ต
– ให้ผู้จัดแสดงดนตรี คอนเสิร์ต จำหน่ายตั๋วนั่งชมเท่านั้น
– หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในสถานที่ดังกล่าว

3.ร้านอาหารและเครื่องดื่มทั่วไป ภัตตาคาร สวนอาหาร โรงแรม หรือสถานที่ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและได้รับการผ่อนคลายที่ให้เปิดดำเนินการอยู่แล้ว แต่ต้องภายในกำหนดเวลาปกติตามกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
– อนุญาตให้บริโภคสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ (การจำหน่ายอนุญาตก่อนหน้าที่แล้ว)
– งดเว้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย
– ในส่วนสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานประกอบการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ยังไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการ

4.สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ศูนย์เด็กพิเศษ สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานที่บริการดูแล สถานที่พำนักอาศัย หรือสถานที่สงเคราะห์อื่นที่จัดสวัสดิการให้แก่เด็กและผู้สูงอายุ
– สามารถเปิดให้บริการได้แบบรายวัน (แบบพักค้างเดิมได้เปิดให้บริการไปแล้ว)
– เว้นระยะห่างนั่งหรือยืน นอนหรือเตียง อย่างน้อย 1 เมตร
– ควบคุมจำนวนไม่ให้แออัด ลดเวลาในทำกิจกรรมเท่าที่จำเป็น
– ให้แยกเด็กตามกลุ่มอายุ คิดเกณฑ์จำนวนเด็กตามขนาดพื้นที่ ไม่น้อยกว่า 2 ตารางเมตร/คน และให้แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมไม่เกิน 5 คน/จำนวนผู้ดูแลเด็กหรือครูพี่เลี้ยง 1 คน

5.ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
– ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการไม่ให้แออัด
– เว้นระยะห่างนั่งหรือยืนอย่างน้อย 1 เมตร

6.การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ภาพยนต์และวีดีทัศน์
– ให้ดำเนินการได้โดยมีจำนวนผู้แสดง ผู้ร่วมรายการและคณะทำงานถ่ายทำรวมกันไม่เกินคราวละ 150 คน
และมีผู้ชมไม่เกิน 50 คน

7.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา หรือสถานประกอบการนวดแผนไทย
– ยกเว้น สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด ยังไม่เปิดให้ดำเนินการได้
– อนุญาตให้มีการอบตัว อบสมุนไพร การอบไอน้ำ แบบรวมหรือการนวดบริเวณใบหน้าดำเนินการได้
– จำกัดการใช้บริการไม่เกิน 2 ชั่วโมง
– ให้เว้นระยะห่างนั่งหรือยืนห่างกันขณะใช้บริการออนเซ็น อบตัว อบสมุนไพร อบไอน้ำแบบรวม อย่างน้อย 2 เมตร

8.สวนสาธารณะ ลานกิจกรรม พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ หรือลานกีฬากลางแจ้ง
– ให้ออกกำลังกายแบบกลุ่มได้ แต่ต้องไม่เกิน 50 คน และต้องเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย 2 เมตร ในขณะออกกำลังกาย
– ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากก่อน และหลังออกกำลังกาย

9.สวนน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสนุก
– ยกเว้นการใช้เครื่องเล่นในลักษณะติดตั้งชั่วคราวหรื่อเครื่องเล่นที่มีพื้นผิวสัมผัสมากซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคในเด็ก เช่น บ้านบอล บ้านลม
– ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการ
– จำกัดการให้บริการไม่เกิน 2 ชั่วโมง
– ขณะใช้บริการระหว่างการว่ายน้ำ และเล่นสวนน้ำจำกัดระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร

10.สนามกีฬาหรือสถานที่เพื่อการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา หรือเพื่อการเรียนการสอนในทุกประเภทกีฬา ให้เปิดดำเนินการได้
– ยกเว้น สนามชนโค สนามชนไก่ สนามกัดปลา หรือสนามแข่งขันอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน
– สามารถจัดให้มีการแข่งขันและถ่ายทอดโทรทัศน์หรือสื่อต่าง ๆได้
– แต่ต้องไม่มีผู้ชมอยูในสนามแข่งขัน
– ให้ควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการในสระว่ายน้ำ ไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตรต่อคน

11.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์
– อนุญาตให้ตู้เกมส์ เครื่องเล่นหยอดเหรียญที่ได้รับอนุญาตตามกฏหมายให้บริการได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า