Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค. เร่งตามตัว นทท.จาก 8 ประเทศเสี่ยง ‘โอไมครอน’ คงค้างอยู่ในไทย 252 ราย เชื้อโควิดซ้ำด้วยวิธี RT-PCR

วันที่ 1 ธ.ค. 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันว่า จากข้อมูลผผู้เดินทางจากทวีปแอฟริกาเข้าประเทศไทย ช่วงวันที่ 15-27 พ.ย. 2564 เป็นผู้เดินทางมาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยงสูงที่พบการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน จำนวน 252 รายที่คงค้างอยู่ในประเทศไทย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า โอไมครอนมีการระบาดเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ และส่วนใหญ่เป็นการนำเชื้อเข้าประเทศ ซึ่งประเทศไทย ช่วง 15-17 พ.ย. มีผู้เดินทางจากประเทศเสี่ยงเข้ามาแล้ว255 ราย กลับไปแล้ว 3 ราย ยังอยู่ในไทย 252 ราย ติดตามตัวได้แล้ว 11 ราย ขอให้ผู้ที่มาจากประเทศในกลุ่มนี้ ขอให้เข้ามาตรวจ RT-PCR ซ้ำที่โรงพยาบาลรัฐทุกแห่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโควิดอย่างเข้มงวด หากไม่ปฏิบัติตามถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ มาตรา 34

ขอความร่วมมือผู้ที่เดินทางมากจาก 8 ประเทศ ได้แก่ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว ตั้งแต่วันที่ 15 – 27 พ.ย. 2564 ถ้าอยู่ในระบบแซนด์บ็อกซ์ (Sandbox) ขอให้สังเกตตัวเองเป็นเวลา 14 วัน และให้ตรวจหาเชื้อตามช่วงเวลาที่กำหนด กรณีที่ออกจากสถานที่กักตัวแล้ว แต่ไม่ครบ 14 วันขอให้สังเหตุตัวเอง 14 วันลดการเดินทางและตรวจหาเชื้อซ้ำ

ส่วนผู้ที่เดินทางถึงไทยตั้งแต่วันที่ 28 พ.ย. 2564 จะต้องกักตัว 14 วัน และตรวจหาเชื้อโควิดอีก 3 ครั้ง ส่วนประเทศอื่นๆในทวีปแอฟริกาใต้ที่เดินทางมาถึงไทย ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ย. – 5 ธ.ค. 2564 ให้กักตัว 14 วัน หากมีอาการให้ตรวจหาเชื้อทันที ถ้าเข้ามาในระบบ กักตัว (Quarantine) ขอให้กักตัวจนครบกำหนด 14 วัน

ทั้งนี้ จะมีการส่งข้อความ SMS ไปยังผู้ที่เดินทางมาจาก 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยงให้มาตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR โดยเร็วที่สุดให้ปฏิบัติ 3 ข้อ ดังนี้

1. ตรวจ RT-PCR โดยเร็วที่สุดกับโรงพยาบาลรัฐไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยแสดงข้อความนี้กับโรงพยาบาล และ ส่งผลตรวจเข้าระบบหมอชนะ

2.ขอให้ท่านปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวด

ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ การไม่ปฏิบัติตามถือว่าละเมิด พ.ร.บ. ควบคุมโรคมาตรา 34 หากมีข้อสงสัยติดต่อ 1422 และตรวจสอบอย่างละเอียดในอีเมล์ที่ลงทะเบียน Thailand pass

• สตม.รายงาน นทท.จากประเทศเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำเข้าไทยแล้ว 783 ราย

ขณะที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง รายงานว่า มีชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยจาก 8 ประเทศเสี่ยงสูง และกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำในทวีปแอฟริกา ประมาณ 783 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจและติดตามเชิงรุกร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับผลการเดินทางเข้าประเทศไทยของชาวไทยและชาวต่างชาติ ตั้งแต่วันที่ 1-30 พ.ย.ที่ผ่านมา สะสม 133,061 ราย พบติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 171 ราย หรือคิดเป็น 0.13% ประกอบด้วยผู้ที่เดินทางเข้าไทยโดยมาจาก

สหรัฐอเมริกา 14,730 ราย พบติดเชื้อ 21 ราย

เยอรมนี 12,099 ราย ติดเชื้อ 13 ราย

เนเธอร์แลนด์ 8,478 ราย ติดเชื้อ 7 ราย

สหราชอาณาจักร 6,701 ราย ติดเชื้อ 21 ราย

รัสเซีย 5,307 ราย พบติดเชื้อ 20 ราย

ญี่ปุ่น 5,146 ราย ติดเชื้อ 3 ราย

เกาหลีใต้ 5,003 ราย ติดเชื้อ 2 ราย

ฝรั่งเศส 4,741 ราย ติดเชื้อ 7 ราย

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4,338 ราย ติดเชื้อ 11 ราย

อิสราเอล 4,035 ราย ติดเชื้อ 2 ราย

และอื่นๆ 62,783 ราย ติดเชื้อ 64 ราย

กรมควบคุมโรครายงานว่า ยืนยันว่า ประเทศไทยมีระบบการตรวจคัดกรองหลายชั้น จึงทำให้พบผู้ติดเชื้อ 171 ราย

นอกจากนี้กรมควบคุมโรคได้เปรียบเทียบความรุนแรงไอโมครอนกับสายพันธุ์อื่นๆ รวมถึงการก่อโรคต่อที่ประชุมของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยลักษณะอาการ เบื้องต้นยังไม่พบว่ามีความแตกต่าง บางรายงานระบุว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไม่สูญเสียการรับกลิ่น-รส อาการป่วยไม่รุนแรง ความเร็วในการแพร่โรค คาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากแทนที่สายพันธุ์เดลตาในแอฟริกาใต้ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังไม่มีข้อมูลยืนยันเรื่องความรุนแรง แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าวัคซีนยังสามารถป้องกันอาการรุนแรงได้ ส่วนผลต่อภูมิคุ้มกัน มีความกังวลว่าอาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้อย่างมีนัยสำคัญ พบว่ามีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้สูงขึ้น

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า