SHARE

คัดลอกแล้ว

เลขา สมช. เผยที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ มีมติเห็นชอบขยายเวลาพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ อีก 1 เดือน แจงเหตุผล 3 ข้อจำเป็นต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยทางสาธารณสุข 

วันที่ 22 ก.ค.2563 พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ชี้แจงรายละเอียดหลังการประชุม ศบค. ถึงเหตุผลในการขยายระยะเวลาการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แพทย์มีความเห็นอยากให้คง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไว้ก่อนอย่างน้อยอีก 1 เดือน เนื่องจากสถานการณ์โลกยังมีการติดเชื้อทั่วโลกเฉลี่ยวันละเกือบ 200,000 ราย ซึ่งถือเป็นสถานการณ์ที่ยังรุนแรง และขณะนี้เราอยู่ในช่วงที่จำเป็นต้องเปิดประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งในที่ประชุม ศบค.ก็ได้ให้ความเห็นชอบในหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการเปิดประเทศเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการรับแรงงานต่างด้าว การเปิดให้มีการผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น มีโปรแกรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น การอนุญาตให้ชาวต่างชาติมาจัดการประชุมในประเทศไทย หรือแม้แต่การอนุญาตให้เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย ทั้งหมดเพื่อเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยทางด้านสาธารณสุข

เลขา สมช. กล่าวว่า ทีมงานด้านกฎหมายและสาธารณสุขได้หารือในการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่มากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะยกเลิกการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ซึ่งตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ได้ยกเลิกการห้ามออกนอกเคหสถานมาระยะหนึ่งแล้ว จึงจะเพิ่มเติมยกเลิกการห้ามชุมนุม เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่า รัฐบาลขยายระยะเวลาการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น แต่ผู้ที่ชุมนุมทางการเมืองก็จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 โดยจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพุธที่ 29 ก.ค. 63

พล.อ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ตั้งแต่ตั้ง ศบค.ขึ้นมามีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ. โรคติดต่อ ควบคู่กันไปเพราะซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในช่วงต้นของสถานการณ์ จนกระทั่งมีการออกมาตรการผ่อนคลายระยะต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งอำนาจหน้าที่ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ทำให้สามารถกำหนดมาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น ฉะนั้นจึงมีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายทั้งสองฉบับควบคู่กัน ยืนยันว่า การต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในเดือนสิงหาคมนี้ได้เอามาตรา 9 ออกไปการชุมนุมการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนในประเทศเป็นปกติ กฎหมายฉบับนี้จะควบคุมสำหรับคนที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อกักตัว 14 วัน ซึ่งการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในช่วงต้นนั้นเพื่อใช้บังคับประชาชนส่วนใหญ่ไม่ให้ทำในบางสิ่ง และกิจการบางอย่างเพื่อประโยชน์ในการควบคุมโรคและจำกัดการเคลื่อนไหว แต่ระยะหลังเรามีมาตรการการผ่อนคลายจนถึงขณะนี้คือระยะที่ 5 ไปแล้ว พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะใช้เพื่อประโยชน์ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีมาตรการอื่นในเชิงบังคับประชาชนอีกต่อไป นี่คือความแตกต่าง แต่ยังคงจำเป็นที่ต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปอีกอย่างน้อย 1 เดือนก่อน เพื่อรอว่าจะมีกฎหมายอื่นที่จะมาทดแทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า