Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ยอดผู้ติดเชื่อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในไทย โดยเฉพาะล่าสุดกลุ่มเพื่อน 11 คนที่ติดจากการไปปาร์ตี้ ทำให้เกิดข้อกังวลกันถึงความเสี่ยงที่จะติดเชื้อที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกับเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ด้วยวิธีเป่าลมหายใจ ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ออกมาระบุว่า ต้องเปลี่ยยหลอดก่อนเป่าทุกครั้งเพื่อความปลอดภัย

นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจว่าแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ แบบตรวจคัดกรอง (screening) เป็นเครื่องที่ใช้ในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวางปากให้ห่างจากปลายกระบอกประมาณ 5-8 เซนติเมตร เพียงแค่มีการพูดคุยกัน แอลกอฮอล์ในลมหายใจก็ลอยเข้าปลายกระบอก ประมาณ 3-5 วินาทีเครื่องก็สามารถตรวจได้แล้ว เครื่องนี้ตรวจได้รวดเร็ว ไม่ต้องลงจากรถ ผลที่แสดงจะบอกได้ว่ามีหรือไม่มีแอลกอฮอล์ ไม่แสดงเป็นตัวเลข

แบบตรวจยืนยันผล(Evidential) เป็นเครื่องที่ใช้ในตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยเป่าลมหายใจเข้าเครื่องตรวจ ผู้ถูกตรวจจะต้องอมหลอดเป่า เพื่อวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะเปลี่ยนหลอดใหม่ก่อนเป่าทุกครั้ง ผลที่แสดงจะเป็นตัวเลขบอกถึงปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด มีหน่วยเป็น mg/100 ml เช่น 50 mg% แสดงว่าในเลือด 100 มิลลิลิตร มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ 50 มิลลิกรัม จะใช้ตรวจยืนยันผลจากกรณีที่ตรวจคัดกรองแล้วพบว่ามีแอลกอฮอล์

กรมควบคุมโรค ขอแนะนำการใช้เครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ ในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ควรปฏิบัติ คือ สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ และล้างมือบ่อยๆ ให้ผู้ถูกตรวจฉีกซองของหลอดเป่าเอง เพื่อให้ผู้ถูกตรวจมั่นใจว่าเป็นหลอดใหม่ ไม่ได้ใช้ซ้ำ ให้ทำความสะอาดภายนอกตัวเครื่องตรวจด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทุกครั้งก่อนและหลังใช้ทุกราย และ ทิ้งหลอดเป่าที่ใช้แล้วในภาชนะที่ปิดมิดชิดและ ผู้ถูกตรวจ ควรปฏิบัติ คือ ขอฉีกซองบรรจุหลอดเป่าเอง เพื่อความสบายใจ และ ให้เป่าลมหายใจออกยาวๆ นับ 1-5 ไม่สูดหายใจเข้าระหว่างเป่า

นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีและโฆษกกรมควบคุมโรค

ทั้งนี้ มีการดำเนินงานดังกล่าวตลอดทั้งปี โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะตั้งด่านตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในผู้ขับขี่ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้คนเมาไปขับรถ เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้รถใช้ถนนที่ร่วมทาง ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจราจร ช่วง 7 วันเทศกาลปีใหม่ 2563 ที่ผ่านมา ของกรมควบคุมโรค พบว่าสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุยังคงเป็นการดื่มแล้วขับคิดเป็นร้อยละ 32.68 ลดลงเมื่อเทียบกับปีใหม่ 2562 (ร้อยละ 40.39) และจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากดื่มแล้วขับลดลงร้อยละ 19.09 ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้น ทั้งการตั้งด่านตรวจสกัดผู้ดื่มแล้วขับ และมาตรการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดผู้ขับขี่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ในกรณีที่เป่าไม่ได้จะถูกส่งไปเจาะเลือดตรวจที่โรงพยาบาล ซึ่งตรวจฟรี โดยกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนสนับสนุนค่าตรวจตลอดปี 2563 นี้ ดังนั้น จึงจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยเฉพาะช่วงใกล้เทศกาลสงกรานต์ ปี 2563 นี้ เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มแล้วขับ และขอให้ประชาชนมั่นใจในการใช้เครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจดังกล่าว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า