SHARE

คัดลอกแล้ว

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ย้ำ 2 ปัจจัยทำให้เชื้อโควิด-19 แพร่ระบาดช่วงหน้าฝน เผยต้องจัดการให้ได้ก้อนเปิดเทอม ส่วนปัจจัยการเสียชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ในกลุ่มวัยทำงานที่เพิ่มมากขึ้นยังไม่มีข้อมูล

วันที่ 6 เม.ย.2563 กระทรวงสาธารณสุขแถลงสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงการดูแลผู้สูงอายุเดือนเมษายน แม้จะมีการเลื่อนเทศกาลสงกรานต์ออกไปแต่ยังมีวันผู้สูงอายุอยู่จึงต้องขอความร่วมมือ ลูกหลานดูแลผู้สูงวัยในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด เพราะผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อมากสุด หากเจ็บป่วยติดเชื้ออาการอาจรุนแรง และอาจเสียชีวิตได้ จากรายงานพบว่าจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เสียชีวิต 20 ราย มีผู้สูงอายุ 9 รายในการเสียชีวิต เพราะฉะนั้นอยากจะย้ำอีกครั้งว่า ผู้สูงอายุควรงดออกจากบ้านในช่วงนี้และควรเว้นระยะห่างจากบุตรหลานอย่างน้อย 1-2 เมตร และในช่วงสงกรานต์นี้คนอยู่ไกลครอบครัวให้ใช้วิธีโทรอวยพรแสดงความกตัญญูแทนการเดินทางไปหา ไม่แนะนำให้รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หรือกอดหอม

ด้าน นพ.ธนรักษ์ ผลพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อโควิด-19 ในระยะที่ผ่านมา ประกอบด้วย มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในประเทศ โดยการเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคล (Social Distancing) ได้แก่ การออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น การงดกิจกรรมทางสังคม การไม่ไปในสถานที่แออัด การทำงานที่บ้าน การสวมหน้ากากผ้าเมื่อออกจากบ้าน รวมทั้งผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยงทั้งจากต่างประเทศและกรุงเทพมหานคร ที่ให้กักตัวที่บ้าน 14 วัน และมาตรการยับยั้งการนำเข้าเชื้อจากต่างประเทศ ซึ่งในระยะนี้ก็ทวีความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากประเทศต่างๆ เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคกว้างขวางมากขึ้นเป็นลำดับ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องยกระดับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ โดยกักกันตัวในสถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้ในทุกจังหวัด (State/Local Quarantine) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน มีการติดตามอาการทุกวัน หากมีอาการป่วยจะได้รับการตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อไปสู่คนในครอบครัว โดยเฉพาะบ้านที่มีสภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการกักตัวที่บ้าน หรือมีผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่ร่วมบ้าน เมื่อครบกำหนดทุกคนจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการให้มั่นใจว่าไม่มีเชื้อโควิด-19 และใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นได้

กระทรวงสาธารณสุข เน้นการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชนมาโดยตลอด เพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องมากกว่าจะทำให้กลัว เพราะหากประชาชนเกิดความหวาดกลัวมากเกินไปจะรังเกียจผู้ป่วย ทำให้ไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้ตามปกติ แม้ว่าผู้ป่วยรายนั้นผ่านกระบวนการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว ซึ่งข้อมูลวิชาการบ่งชี้ว่าการรักษาในช่วงเวลา 14 วันนั้นเพียงพอที่จะไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น นอกจากนี้ ความหวาดกลัวของผู้ป่วยจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมปิดบังข้อมูลต่อแพทย์พยาบาล ยิ่งทำให้รักษาโรคไม่ถูกต้อง และเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อเพิ่มได้อีก

สำหรับผู้ที่เดินทางข้ามจังหวัดและกักตัวอยู่ที่บ้าน ขอให้เคร่งครัดการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้ร่วมบ้าน ไม่ออกจากที่พักจนครบ 14 วัน เว้นระยะห่างในครอบครัว โดยแยกรับประทานอาหาร ภาชนะ และของใช้ส่วนตัว ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล สวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างจากคนอื่น 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการพูดคุยใกล้ชิดกับคนอื่น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง ทำความสะอาดที่พักด้วยน้ำยาทำความสะอาดทั่วไป น้ำยาฟอกขาว 1 % เช็ดพื้นผิวต่าง ๆ ด้วยแอลกอฮอล์ 70% สำหรับเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าเช็ดตัว ซักด้วยผงซักฟอกและน้ำธรรมดา

[คำถามที่น่าสนใจจากสื่อมวลชน]

1. ปัจจัยการเสียชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ในกลุ่มวัยทำงาน

นพ.ธนรักษ์ อธิบายว่า ความรุนแรงของโรคร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการน้อย ร้อยละ 30 แทบไม่มีอาการเลย ร้อยละ 15 อาการรุนแรง ร้อยละ5-6 อยู่ภาวะวิกฤติ และร้อยละ1.4 เสียชีวิต โดยกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวมีอัตราเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป ส่วนกรณีคนอายุน้อย ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีภาวะเสี่ยง แต่พบว่าป่วยเพียง 1 สัปดาห์แล้วเสียชีวิตนั้น ยืนยันว่าขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละคน ซึ่งยังไม่ทราบปัจจัยที่ชัดเจน แต่จากข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วย ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาเร็ว จะเริ่มมีอาการมากช่วงประมาณวันที่ 5 -7 วัน ของการได้รับเชื้อ

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า วิธีสังเกตลักษณะอาการติดเชื้อโควิด-19 คือ จะมีไข้ต่ำประมาณ 37.6 องศา ติดต่อกัน 3-5วัน มีไข้สูงถึง 39 องศา โดยไข้ไม่ลดลง รู้สึกหายใจเหนื่อย หายใจเกิน 24 ครั้งต่อนาที ให้ถือว่าไม่ปกติ ถ้ามีลักษณะดังกล่าวให้รีบพบแพทย์โดยทันที ซึ่งจากข้อมูลผู้ติดเชื้อในประเทศพบว่าร้อยละ 50 ติดเชื้อภายในบ้าน ตอนนี้ได้มีการสั่งการทุกโรงพยาบาลหากผู้ป่วยทำการตรวจเชื้อให้รับแอดมิน โรงพยาบาลจนกว่าผลจะออก โดยไม่ให้กลับบ้านทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน

2. มีผลการวิจัยพบว่า เชื้อโควิด-19 สามารถลามเข้าสู่ระบบประสาทได้

นพ.ธนรักษ์ ชี้แจ้งว่าแม้คนไข้ส่วนใหญ่จะมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ แต่จะมีข้อยกเว้นสำหรับคนไข้บางคนที่อาการเด่นเป็นอาการของโรคระบบประสาท เพราะฉะนั้นมีโอกาสพบได้ แต่พบน้อยมาก

3. การแพร่ระบาดเชื้อช่วงฤดูฝนจะเพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า หลักการแพร่ระบาดของโรคในช่วงฤดูฝนมี 2 ปัจจัยที่อาจจะส่งเสริมให้โรคแพร่ระบาดไปได้เร็ว ปัจจัยที่ 1 เรื่องของอุณหภูมิ ความชื้น อุณหภูมิลดลงช่วงฤดูฝนจะทำให้เชื้ออยู่ในสภาพแวดล้อมได้ยาวนานขึ้น และปัจจัยที่ 2 การรวมตัวกันแบบเป็นกลุ่มเป็นก้อน โดยเฉพาะในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย ถ้าโรงเรียนเปิดเทอมในขณะที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคได้ดีเท่าที่ควร จะเป็นความท้าทายมากในการควบคุมโรคในระยะต่อไป เพราะในกลุ่มเด็กเมื่อติดเชื้อแล้วอาการจะน้อยกว่าผู้ใหญ่ อาการไข้ อาการไอ จะเกิดขึ้นกับเด็กไม่ถึงครึ่ง ฉะนั้นช่วงนี้จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการควบคุมโรคให้ได้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก่อนโรงเรียนเปิดเทอม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า