SHARE

คัดลอกแล้ว

รมว.สาธารณสึข ร่วมการประชุมทางไกลความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการรับมือ COVID-19 และการฟื้นเศรษฐกิจและสังคมหลังการระบาด ในเวที World Economic Forum เผยไทยมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต และพลังอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ช่วยควบคุมป้องกันโรค

วันที่ 22 เม.ย.2563 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมทางไกลเปิดตัว Regional Action Group for Asia Pacific จัดโดย World Economic Forum (WEF) เพื่อหารือความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการรับมือกับ COVID-19 รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อการรื้อฟื้นเศรษฐกิจและสังคมหลังการระบาด COVID-19 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกสำนักงานภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก ผู้แทนระดับสูงจากภาครัฐ และภาคเอกชนในภูมิภาคเอเชีย และประธานของ World Economic Forum เข้าร่วมการประชุม

นายอนุทิน กล่าวว่า  การระบาดของโรคโควิด 19 ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างทุกมิติ การรับมือจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือทั้งภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้เตรียมพร้อมตั้งแต่ระยะแรกของการระบาด ทำให้สามารถรับมือกับสถานการณ์และควบคุมการระบาดของโรคได้ ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมามีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่น้อยกว่า 40 ราย   โดย WEF จะมีบทบาทสำคัญในการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและการดำเนินธุรกิจในบริบท “ความปกติในรูปแบบใหม่” (new normal)

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยสามารถรับมือกับการระบาดของโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี คือการมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า อีกทั้งได้น้อมนำปรัชญาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตระหว่างการเผชิญกับโรคระบาด รวมทั้งการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันควบคุมโรคในระดับชุมชน และความทุ่มเทของบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอย่างเสียสละในการรับมือกับโรคระบาดตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

สำหรับคำถามถึงการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคของไทยในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ ของประธาน World Economic Forum นายอนุทินกล่าวตอบว่า เป้าหมายหลักของรัฐบาลคือความปลอดภัยของประชาชน การผ่อนปรนมาตรการต่างๆ จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบและค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้น และรัฐบาลกำลังร่างแนวทางในการดำเนินงานดังกล่าว

ทั้งนี้ World Economic Forum หรือ WEF ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2514 และได้รับสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนจากรัฐบาลสหรัฐเมื่อปี พ.ศ. 2548 มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในเรื่องการดำเนินกิจกรรมเพื่อเสนอแนะทิศทางในการกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาในระดับระหว่างประเทศ ผ่านเครือข่ายผู้นำภาคการเมือง ธุรกิจ และภาคประชาสังคม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า