SHARE

คัดลอกแล้ว

หมอกระดูก ระบุ กระดูกสันหลังคดมี 4 ประเภท เกิดจากกรรมพันธุ์เป็นหลัก ชี้เด็กหญิงวัย 14 ปี กระดูกสันหลังคด งอ อาจไม่ใช่เพราะกระเป๋านักเรียนหนัก 

วันที่ 31 ก.ค.2562 ทนพ. ภาคภูมิ เดชหัสดิน นักเทคนิคการแพทย์ โพสต์ข้อมูลผ่านแฟนเพจหมอแล็บแพนด้า เกี่ยวกับประเด็นที่สังคมกำลังให้ความสนใจกรณีเด็กหญิงวัย 14 ปี กระดูกสันหลังคดงอ คาดเหตุจากกระเป๋านักเรียนหนัก โดยหมอแล็บแพนด้าระบุว่า หมอกระดูกได้ออกมาให้ความเห็นว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ จากงานวิจัยทั้งหลายที่ศึกษามาบอกว่า เกิดจากกรรมพันธุ์เป็นหลัก ยังไม่เจอว่าเกี่ยวข้องกับการแบกกระเป๋าหนักๆ ท่านฝากบอกว่าอย่าเพิ่งวิตกจนเกินไปค้าบผม

ขณะที่เฟซบุ๊ก ‘วิ่งดิหมอ’ ให้ข้อมูลว่า แม้จะไม่ใช่เรื่องวิ่งแต่ในฐานะหมอกระดูกและข้อที่ทำงานในศูนย์ที่มีผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดจำนวนมากต่อปี ได้อ่านข่าวที่กำลังสร้างความเข้าใจผิดต่อประชาชนขณะนี้ แล้วก็เกิดความไม่สบายใจ อยากให้เกิดการแก้ไขความเข้าใจผิดต่อโรคที่เกิดขึ้น (แรกก็ว่าจะไม่เขียน แต่เวลานี้กลายเป็นไฟลามทุ่ง ประเภทเพจต่างๆ นักข่าว เอาไปลงกันอึกทึกครึกโครม) จึงขอนำเรียนมาให้ทุกท่านได้ศึกษาเกี่ยวกับความจริงของภาวะกระดูกสันหลังคดในเด็กและวัยรุ่น ดังนี้ กระดูกสันหลังคดเกิดขึ้นได้หลายช่วงอายุ ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงวัยชรา ซึ่งมีปัจจัยการเกิดแตกต่างกัน และแต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกันในหลายประเด็น กล่าวคือ

กระดูกสันหลังคด แบ่งได้เป็นประเภท ดังนี้
1) โรคกระดูกสันหลังคดตั้งแต่แรกเกิด (Congenital Scoliosis) เนื่องจากขณะแม่ตั้งครรภ์ตัวอ่อนในครรภ์มีกระดูกสันหลังที่ผิดปกติ
2) โรคกระดูกสันหลังคดจากโรคทางระบบประสาทหรือระบบกล้ามเนื้อผิดปกติ (Neuromuscular Scoliosis) เช่น โรคกล้ามเนื้อโตมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อกระดูกสันหลังฝ่อลีบ เป็นต้น
3) โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic Scoliosis) มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ เพศหญิง อายุ และกรรมพันธุ์ แบ่งได้เป็น 3 ช่วงวัย (เกิดในช่วงวัยรุ่นมากสุด)
3.1 โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก (Infantile Idiopathic Scoliosis) ก่อนอายุ 3 ปี
3.2 โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก (Juvenile Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 4 – 10 ปี
3.3 โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น (Adolescent Idiopathic Scoliosis) อายุระหว่าง 10 – 18 ปี พบมากที่สุด
4) โรคกระดูกสันหลังคดจากความเสื่อม (Degenerative Lumbar Scoliosis) มักพบในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ จากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อกระดูกที่เปราะบาง คุณภาพเสื่อมลง ร่วมกับการผ่านการใช้งานมาเป็นเวลายาวนาน (กรณีนี้จะไม่ได้เกิดการคดมาก่อนในวัยเด็ก) อันนำมาซึ่งอาการที่เราเรียกๆกันว่า กระดูกทับเส้นซึ่งแต่ละชนิดจะมีวิธีแยกทางการแพทย์ ซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก (ไม่ขอลงรายละเอียด ณ ที่นี้

ภาพจาก ศูนย์รักษากระดูกสันหลังคด รพ.สมิติเวช

กรณีของเด็กหญิงในข่าวมีความเข้าได้กับภาวะ Adolescent Idiopathic Scoliosis มากที่สุด … นั่นคือ ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับกระดูกสันหลังคดในทางการแพทย์มีการทำการศึกษาไว้มานานนับร้อยปีแล้ว และไม่เคยมีเอกสารทางการแพทย์ หรืองานวิจัยใดที่ยืนยันการเกี่ยวข้องการเกิดกระดูกสันหลังคดในวัยเด็ก และวัยรุ่นว่าเกิดจากการยกของหนัก (หากต้องการที่มา แหล่งอ้างอิงมีมากมาย ทั้ง textbook ทางการแพทย์ งานวิจัย บทความ)

อยากให้ทุกท่านที่ได้เข้ามาอ่าน พิจารณา คิดวิเคราะห์ และจะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากได้นำความรู้นี้ บอกต่อในวงกว้างต่อไป เพื่อลดปัญหาความเข้าใจผิด ที่กำลังเกิดขึ้น ณ ขณะนี้ และคงเป็นการดี หากเพจ หรือสื่อใดที่ลงเนื้อหาสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ลองทำการศึกษาใหม่ และแก้ไขด้วยจะเป็นการดีอย่างมาก (เพราะเพจเล็กๆ นี้ ก็อาจไม่สามารถส่งผลต่อภาวะตื่นตระหนกของคนไทยที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ได้ดีที่สุด) ขอบคุณทุกท่าน มา ณ ที่นี้ค่ะ

ปล. การแบกหนัก เป็นสาเหตุของการเกิดอักเสบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และความเสื่อมชนิดอื่นได้ (เพียงแต่ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดกระดูกสันหลังคดในเด็ก ควรแยกประเด็นกันค่ะ) … ฉะนั้นก็ยังควรเลี่ยงการแบกหนักเกินไป … แต่ขณะเดียวกัน ก็มิใช่โทษว่ากระดูกหลังคดในเด็ก เกิดจากการแบกหนัก

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/448663099320763/

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/995343560834922/

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า