SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงการคลังเตรียมปิดให้ร้องทุกข์ทบทวนสิทธิ์เงินเยียวยา เราไม่ทิ้งกัน ย้ำให้ผู้ตกค้างให้ส่งข้อมูลภายใน 29 พ.ค.นี้ ก่อนหมดสิทธิ์ ขณะที่วันนี้เริ่มโอนเงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน 5,000 บาท เพิ่มเติมแล้ว

นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผยว่า สำหรับกรณีผู้ที่ผ่านเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท แต่บัญชีผิด โอนเงินไม่ได้ยังคงได้รับสิทธิ์อยู่ไม่ถูกตัดสิทธิ์ แต่ต้องให้ความร่วมมือด้วยการไปผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน โดยขณะนี้จะโอนเงินให้คนที่บัญชีผิดทุกสัปดาห์ คือ วันอังคารและวันพฤหัสบดีนี้ สำหรับคนที่ได้รับสิทธิ์ แต่โอนเงินไม่สำเร็จ เนื่องจากบัญชีธนาคารถูกปิด, บัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวนานเกิน 1 ปี, ชื่อบัญชีไม่ตรงกับชื่อที่ลงทะเบียน, เลือกรับโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ แต่ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์, เข้ามาแก้ไขข้อมูลบัญชีแล้ว แต่ใส่ข้อมูลไม่ถูกต้อง

โฆษกกระทรวงการคลัง แนะนำว่าให้ทำการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน สำหรับกลุ่มโอนเงินไม่สำเร็จ โดยสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชนผ่าน Mobile Banking หรือ ตู้ ATM ได้ทุกธนาคารที่ท่านมีบัญชี โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขาธนาคาร

ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือเงินเยียวยา 5,000 บาท ในโครงการ เราไม่ทิ้งกัน ผ่านการลงทะเบียนใน www.เราไม่ทิ้งกัน.com ได้มีการทยอยจ่ายเงินให้กับผู้ลงทะเบียนอย่างต่อเนื่องโดยดำเนินไปกว่า 99 % แล้ว มีผู้ผ่านเกณฑ์รับเงินเยียวยาประมาณ 15 ล้านคน ส่วนกลุ่มยื่นทบทวนสิทธิ์ที่เหลืออีก 2.4 แสนคนนั้นยังไม่เสียสิทธิ์การรับเงินเยียวยา หากทางระบบพบปัญหาในขั้นตอนการดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ลงทะเบียนทุกคน โดยผู้ยื่นทบทวนสิทธิ์ที่ไม่สามารถนัดพบได้ หรือติดต่อไม่ได้นั้นทางเราไม่ทิ้งกัน ได้มีการส่ง SMS แจ้งเตือนถึงการตรวจสอบสถานะการรับเงินเยียวยาดังกล่าว และขอให้ผู้ที่ได้รับข้อความรีบไปติดต่อยัง สาขาธนาคารกรุงไทยที่ใกล้ตัว เพื่อยืนยันตัวตน และการประกอบอาชีพสำหรับพิจารณารับเงิน 5,000 บาท ภายใน วันที่ 29 พ.ค.นี้

สำหรับเงินเยียวยาเกษตรกร ล่าสุดนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ของเกษตรกร กรณีรายชื่อตกหล่นจากการเยียวยา คือ ให้เกษตรกรขอยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเอง โดยแจ้งชื่อ-นามสกุล, เลขที่บัตรประชาชน, ที่อยู่และรายละเอียดของอาชีพ สามารถยื่นอุทธรณ์ที่หน่วยงานในพื้นที่ใกล้บ้าน 8 หน่วยงาน คือ
1. กรมส่งเสริมการเกษตร ที่สำนักงานเกษตรอำเภอทุกแห่ง
2. กรมประมง ที่สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงานประมงอำเภอทุกแห่ง
3. กรมปศุสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทุกแห่ง
4. กรมหม่อนไหม ที่กรมหม่อนไหม และศูนย์หม่อนไหม 21 แห่ง
5. การยางแห่งประเทศไทย ที่สำนักงานการยางแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด และสาขาทุกแห่ง
6. ยาสูบแห่งประเทศไทย ในส่วนภูมิภาคทุกแห่ง
7. สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย ในส่วนภูมิภาคทุกแห่ง
8. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ทุกจังหวัด

จากนั้นเจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคตรวจสอบ แล้วส่งต่อหน่วยงานต้นสังกัดตรวจสอบ (ระยะเวลา 3 วัน) แล้วส่งต่อให้คณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณา (ระยะเวลา 5 วัน) หลังจากนั้นสามารถตรวจสอบได้ที่ www.อุทธรณ์เงินเยียวยาเกษตรกร.com

https://www.facebook.com/MOACThailand/photos/pb.127261297312518.-2207520000../5289195751119021/?type=3&theater

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า