SHARE

คัดลอกแล้ว

สสส.ปั้นโมเดลแกนนำแม่วัยรุ่น พัฒนาศักยภาพ เสริมทักษะการเลี้ยงดูเด็กให้มีพัฒนาการสมวัย ช่วยแม่วัยรุ่นตั้งหลักชีวิต กลับสู่สังคมอย่างมีศักดิ์ศรี ลดปัญหาครอบครัวเปราะบาง

วันที่ 30 มิ.ย.2563 สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัวเปิดเผยข้อมูลจากสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พบว่า อัตราการคลอดของหญิงอายุ 15 – 19 ปี ในปี 2561 มีจำนวน 70,181 คน (อัตราคลอด 35 ต่อประชากรวัยเดียวกัน 1,000 คน) และมีแม่วัยรุ่นสะสมกว่า 1 ล้านคน ส่วนใหญ่แม่วัยรุ่นมีปัญหาทับซ้อนหลายด้าน เช่น เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ยากจน การศึกษาไม่สูง มีความรุนแรงในครอบครัว ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเองได้ ผลการสำรวจพบว่า แม่วัยรุ่นไม่มีอาชีพ/รายได้ ไม่เพียงพอร้อยละ 62.8 มีปัญหากับครอบครัวร้อยละ 43.6 และไม่มีความรู้เรื่องการเลี้ยงดูบุตรร้อยละ 31.4

น.ส.ณัฐยา บุญภักดี ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็กเยาวชนและครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า สสส.ได้หาวิธีแก้ไขปัญหาเชิงลึก จึงได้สนับสนุน “โครงการพัฒนาศักยภาพพ่อแม่วัยรุ่นและครอบครัวเพื่อสุขภาวะของเด็กและเยาวชน” โดยร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส) ดำเนินโครงการในพื้นที่นำร่อง 6 ตำบลในจังหวัดเชียงใหม่ ชัยนาท สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก และสงขลา และพื้นที่ต้นแบบ 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ฅนวัยใส จ.เชียงใหม่ เพื่อส่งเสริมให้แม่วัยรุ่นเห็นความสำคัญของการเลี้ยงดูบุตรด้วยตนเอง สามารถเลี้ยงดูบุตรให้มีพัฒนาการสมวัยได้ และสามารถเป็นแกนนำให้ความรู้ในการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยแก่ครอบครัวอื่นๆในชุมชนได้ ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดสถานการณ์ครอบครัวเปราะบาง
สถานการณ์แม่วัยรุ่น จากเยาวชนที่เป็นแม่วัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องออกจากโรงเรียน แม้กฎหมายให้กลับมาเรียนได้ แต่กลับไม่ได้เรียนต่อเพราะการตีตราสูง ไม่มีงานทำ เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว พ่อ แม่ ตา ยาย เป็นผู้เลี้ยงดูบุตร มีความเครียด กดดัน ไม่สามารถเลี้ยงลูกได้ และตั้งหลักชีวิตไม่ได้ โมเดลการทำงานของโครงการนี้จะช่วยพัฒนาศักยภาพให้แม่วัยรุ่นกลับสู่สังคมอย่างมีศักดิ์ศรี ช่วยให้เด็กได้รับการดูแลมีพัฒนาการสมวัย ซึ่งสสส.เตรียมถอดบทเรียนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า โมเดลแกนนำแม่วัยรุ่นมีผลเชิงประจักษ์ วัดผลได้จริงจากพัฒนาการของเด็กที่ดีขึ้น แม่วัยรุ่นที่เติบโตและมีวุฒิภาวะเพิ่มมากขึ้น สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับในแต่ละพื้นที่ ขยายครอบคลุมในทุกตำบล

ผศ.ดร.กนกวรรณ ธราวรรณ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ตั้งใจออกแบบโครงการโดยใช้หลักการ แกนนำ”หรือการพัฒนาศักยภาพแกนนำ 4 ขั้นตอน ได้แก่
1) คัดเลือกแกนนำจากประชากรแม่วัยรุ่นในตำบล
2) พัฒนาศักยภาพของแกนนำแม่วัยรุ่นให้มีความรู้และทักษะ
3) จัดหา “สนามฝึก” ให้แกนนำแม่วัยรุ่นได้ปลุกพลังบวกในตนเองและเรียนรู้ทักษะการเลี้ยงดูบุตร
4) ประเมินผลศักยภาพและหนุนเสริมให้แกนนำแม่วัยรุ่นได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร.กนกวรรณ กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการได้พัฒนาแกนนำแม่วัยรุ่นแล้ว 18 คน แกนนำแม่วัยรุ่นแต่ละคนมี สนามฝึก ให้ดูแลครัวเรือนแม่วัยรุ่นและครอบครัวเปราะบางคนละ 10 ครัวเรือน การดำเนินโครงการพบว่า เด็กปฐมวัยลูกของแม่วัยรุ่นในโครงการซึ่งได้รับการดูแลจากแกนนำแม่วัยรุ่นมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัยมากขึ้น เช่น สามารถอ่านออกเขียนได้ มีภาวะโภชนาการดีขึ้น (ไม่กินขนมกรุบกรอบ ไม่ดื่มน้ำอัดลม รับประทานอาหารครบ 5 หมู่) ทิ้งขยะลงถัง สุขนิสัยดีขึ้นซึ่งเหล่านี้เป็นการสะท้อนว่าแกนนำแม่วัยรุ่นสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นผู้มีศักยภาพมากขึ้นได้ สามารถให้คำแนะนำครอบครัวอื่นได้ ตนเองมีความรู้และทักษะในการดูแลบุตรของตนมากขึ้น มีความมั่นใจในตนเอง และภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น
ด้านน.ส.ปิยภา เมืองแมน มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) ผู้จัดการโครงการพัฒนาศักยภาพพ่อแม่วัยรุ่นกล่าวว่า โครงการนี้เป็นการพัฒนาศักยภาพแม่วัยรุ่นและบุตรอย่างเป็นระบบ เพื่อให้แม่วัยรุ่นตัดสินใจเลี้ยงบุตรด้วยตนเอง โดยบุตรของแม่วัยรุ่นทุกคนที่อายุแรกเกิดถึง 6 ปีมีพัฒนาการเหมาะสมตามช่วงวัย โดยใช้ “การพัฒนาศักยภาพแกนนำแม่วัยรุ่น” เป็นเครื่องมือในการดำเนินโครงการ พัฒนาทักษะด้านพัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัยให้มีความพร้อมและมั่นใจในการดูแลลูกของตนเอง ควบคู่กับการปฏิบัติภารกิจ “บ้านหนูน้อยแสนสุข” เพื่อฝึกทักษะการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือครอบครัวแม่วัยรุ่นในพื้นที่ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา ให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก และการดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาวะ
“แม่วัยรุ่นส่วนใหญ่จะขาดความมั่นใจในการเลี้ยงลูก การได้ไปเยี่ยมบ้านของครอบครัวแม่วัยรุ่นด้วยกันเป็นการฝึกฝนพัฒนาทักษะการดูแลเด็ก และได้เห็นภาพสะท้อนชีวิตของตัวเอง ขณะเดียวกันคณะกรรมการตำบลที่ประกอบด้วยผู้ใหญ่ กำนัน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต่างรับรู้ถึงการทำงาน เห็นความตั้งใจใส่ใจ ความสม่ำเสมอ เมื่อครอบครัวและชุมชนให้การยอมรับแม่วัยรุ่นมากขึ้น สิ่งนี้ย่อมสร้างความมั่นใจและทำให้แกนนำแม่วัยรุ่นสามารถเลี้ยงดูลูกของตนเองได้อย่างดี สามารถก้าวข้ามปัญหา มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ซึ่งสิ่งสำคัญคือผู้ใหญ่เห็นความสำคัญของปัญหา สนับสนุน ให้โอกาส มีกลไกชุมชนที่พร้อมในการทำงาน” นางสาวปิยภา กล่า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า