Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธปท. เผยผลการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย เร่งดำเนิน 3 ปัจจัยสำคัญ สาระสำคัญคือ

ระบบการเงินไทยโดยรวมยังมีเสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) และธุรกิจประกันภัยมีเงินกองทุนอยู่ในระดับสูง ระบบการเงินมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่ยังมีความไม่แน่นอนว่าการแพร่ระบาดของโรคจะสิ้นสุดลงเมื่อใดและผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินจะยืดเยื้อเพียงใด จึงจำเป็นต้องรักษากันชน (buffer) ระดับสูงไว้อย่างต่อเนื่อง ในสถานการณ์ที่มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดในหลายประเทศรวมทั้งไทยทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ รายได้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ปรับลดลงมาก และยังต้องใช้เวลานานกว่าจะกลับมาเป็นปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ด้อยลงเป็นวงกว้าง รวมทั้งรูปแบบการดำเนินธุรกิจและวิถีชีวิตใหม่ของประชาชนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย Slack

ที่ประชุมได้ประเมินความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (scenario analysis) อย่างรอบด้าน ทั้งความเสี่ยงด้านสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจในระยะข้างหน้า รวมถึงความเสี่ยงที่ธุรกิจที่ระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้จะถูกปรับลดอันดับเครดิต (credit rating downgrade) จากแนวโน้มผลประกอบการที่ชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคส่วนสำคัญในระบบการเงิน อาทิ สหกรณ์ออมทรัพย์ ธุรกิจประกันภัย กองทุนรวม และ ธพ. ผ่านช่องทางการลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนและการให้สินเชื่อ นอกจากนี้ ยังได้ประเมินความเพียงพอของ buffer ของระบบ ธพ. ภาคตลาดทุน และภาคประกันภัย หากเหตุการณ์รุนแรงขึ้น

ภายใต้สถานการณ์ที่ยังไม่แน่นอนสูง การเตรียมพร้อมมาตรการเชิงป้องกัน (pre-emptive) อย่างครอบคลุมจึงมีความจำเป็น โดยที่ประชุมให้น้ำหนักกับการดำเนินงานที่สำคัญ 3 ด้าน ดังนี้

1. การประเมินผลมาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องแก่ภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งครัวเรือน ธุรกิจ และตลาดการเงินที่ได้ดำเนินการแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่ามาตรการต่าง ๆ สามารถช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องได้ตรงจุดและทันการณ์ในช่วงเยียวยาและช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 1-2 ที่ ธปท. ดำเนินการร่วมกับผู้ให้บริการทางเงินเพื่อลดภาระการผ่อนชำระหนี้ของครัวเรือน และสร้างความมั่นใจว่าเมื่อสิ้นสุดมาตรการการให้ความช่วยเหลือแล้ว จะไม่ส่งผลให้ภาระหนี้ของลูกหนี้เร่งขึ้นจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตลอดจนมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (soft loan) รวมทั้งโครงการค้ำประกันสินเชื่อของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ที่ช่วยเหลือผ่านการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ SMEs

ด้านการดูแลสภาพคล่องและรักษาเสถียรภาพตลาดการเงิน ธปท. และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ประสานงานกันอย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามความเสี่ยงของกองทุนรวมและตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน และได้จัดตั้งกลไกช่วยเหลือกองทุนรวมที่ได้รับผลกระทบจากการขาดสภาพคล่องในตลาดการเงิน (Mutual Fund Liquidity Facility: MFLF) และกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ (Corporate Bond Stabilization Fund: BSF) ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ลงทุน และทำให้กลไกการทำงานในตลาดการเงินปรับดีขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลไกดังกล่าวยังมีความจำเป็นที่จะเป็นหลังพิง (backstop) เพื่อให้ตลาดตราสารหนี้สามารถทำหน้าที่เป็นช่องทางการระดมทุนได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19

2. การเร่งผลักดันมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (proactive debt restructuring) เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการปรับรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ ซึ่งกลไกการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ต้องเหมาะสมกับรูปแบบธุรกิจและลักษณะปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม เช่น กลุ่มที่ขาดสภาพคล่องชั่วคราวแต่ธุรกิจสามารถฟื้นตัวได้เองเมื่อสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย กลุ่มที่จำเป็นต้องปรับรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เป็นต้น รวมถึงต้องสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้หลังสถานการณ์ COVID-19 คลี่คลาย นอกจากนี้ ต้องเตรียมแนวทางรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้จำนวนมากด้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การจัดให้มีรูปแบบกลางเพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ในวงกว้างสำหรับลูกหนี้รายย่อยและ SMEs รวมทั้งกลไกรองรับการบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้

นอกจากนี้ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างออกแนวทางการจัดตั้งกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับลงทุนได้ (high yield bond fund) เพื่อสนับสนุนเงินทุนในช่วงสั้น ๆ (bridge finance) สำหรับกิจการที่ประสบปัญหาสภาพคล่องและอาจจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการระดมทุนโดยเฉพาะในช่วง COVID-19 เพิ่มสภาพคล่องให้ตลาด high yield bond และเพิ่มทางเลือกให้ผู้ลงทุนรายใหญ่ (high net worth) เปลี่ยนมาลงทุนผ่านกองทุนซึ่งบริหารจัดการโดยมืออาชีพแทนการลงทุนโดยตรงในตราสารดังกล่าว

3. การดำเนินมาตรการเพื่อรักษาความแข็งแกร่งของระบบการเงินไทย การกำกับดูแลและการบริหารความเสี่ยงอย่างระมัดระวังในช่วงที่ผ่านมาช่วยให้ระบบการเงินไทยแข็งแกร่งและสามารถรองรับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่หดตัวและความผันผวนในตลาดการเงินได้ อย่างไรก็ดี ภาคส่วนต่าง ๆ ในระบบการเงินควรให้ความสำคัญกับการประเมินความเพียงพอของ buffer ภายใต้ภาวะวิกฤต (stress test) เพื่อเตรียมแนวทางรองรับความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้ดำเนินมาตรการสนับสนุนให้ ธพ. รักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เช่น การขอความร่วมมือให้ ธพ. ไม่จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563 และไม่ซื้อหุ้นคืนเพื่อรองรับคุณภาพสินเชื่อที่มีแนวโน้มด้อยลงและสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อในช่วงที่เศรษฐกิจฟื้นตัวต่อไป ขณะที่ ก.ล.ต. อยู่ระหว่างปรับปรุงเกณฑ์ เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) มีเครื่องมือที่หลากหลายมากขึ้นในการบริหารจัดการสภาพคล่องของกองทุนรวม ด้านสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อยู่ระหว่างการปรับปรุงเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนเพื่อดูแลความเสี่ยงของบริษัทประกันภัย เพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารความเสี่ยงด้านสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการกระจายความเสี่ยงที่ดีระหว่างความเสี่ยงด้านสินทรัพย์และด้านประกันภัย

ในระยะต่อไปสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอน หน่วยงานกำกับดูแลทั้ง ธปท. ก.ล.ต. และ คปภ. จะร่วมกันประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ ตลอดจนประสิทธิผลของมาตรการที่ดำเนินการไปแล้วอย่างใกล้ชิด รวมทั้งพร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทย และเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจเมื่อสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 เริ่มคลี่คลายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยจะประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการปรับตัวของผู้ประกอบการ รวมทั้งปรับแนวทางการกำกับดูแลให้สอดคล้องกับความปกติใหม่ (new normal) ภายใต้บริบททางเศรษฐกิจการเงินและโครงสร้างระบบการเงินที่เปลี่ยนไป

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า