Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความคืบหน้าสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ประจำวันที่ 31 มี.ค. 2563 มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย พบรายใหม่ 127 ราย เผยขั้นตอนการเตรียมความพร้อมและการคาดการณ์จำนวนผู้ป่วยถึง 15 เม.ย.นี้ 

วันที่ 31 มี.ค.2563 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงความคือบหน้าสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ว่า วันนี้มีผู้ป่วยโควิด-19 เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 48 ปี มีอาชีพเป็นนักดนตรีในกรุงเทพมหานคร มีโรคประจำตัวเป็นมะเร็งและเบาหวาน รวมผู้เสียชีวิต 10 ราย ขณะที่ผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่ม 127 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 1,651 ราย แบ่งเป็นคนไทย 1,407 ราย ชาวต่างชาติ 244 ราย

ผู้ป่วยที่พบเพิ่มวันนี้ 127 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 62 ราย

  • สนามมวย 4 ราย
  • สถานบันเทิง 11 ราย
  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 47 ราย

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยอื่นๆ จำนวน 49 ราย

  • คนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ 17 ราย
  • ชาวต่างชาติเดินทางมาจากต่างประเทศ 6 ราย
  • คนทำงานในสถานที่แออัด หรือทำงานใกล้ชิดชาวต่างชาติ 9 ราย
  • บุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย (รวมสะสม 24 ราย)
  • ไปสถานที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ราชการ 6 ราย
  • ผู้ป่วยติดเชื้ออื่นๆ อีก 8 ราย

กลุ่มที่ 3 ผลจากห้องปฏิบัติการติดเชื้ออรายละเอียดสอบสวนโรค 16 ราย

ทั้งนี้การแพร่เชื้อโควิด-19 กระจายกระจายไปทั่วประเทศ 61 จังหวัด โดยการกระจายโรคอยู่ที่กรุงเทพฯ 795 ราย, นนทบุรี 79 ราย, ภูเก็ต 55 ราย, ยะลา 48 ราย, สมุทรปราการ 41 ราย, ชลบุรี 40 คน และอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 270 ราย

นพ.สุขุม กล่าวว่า ผู้ป่วยรักษาตัวที่อยู่โรงพยาบาลมี 1,299 ราย ถือว่าลดลงเกือบ 100 ราย ขณะที่ผู้ป่วยรายใหม่เกินครึ่งเกี่ยวข้องกับต่างชาติ เบื้องต้นยังคงต้องขอความร่วมมือต้องการเพิ่มมาตรการ ระยะห่างทางสังคม ร้อยละ90 สิ่งสำคัญ คือ ต้องเร่งติดตามผู้ป่วยในกรุงเทพมหานครให้ได้มากที่สุด

สำหรับการจัดสรรหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ได้มีการจัดสรรไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 7-28 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้กระจายไปยังโรงพยาบาลในสังกัด สาธารณสุข/ โรงพยาบาลนอกสังกัดสาธารณสุข/โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย/โรงพยาบาลเอกชน/โรงพยาบาลสังกัดกทม ประมาณ 19.59 ล้านชิ้น ขณะที่หน้ากากอนามัยฯ N95 มีการกระจายไปแล้ว 183,910 ชิ้น ในประเทศไทย คาดการณ์หากมีผู้ป่วย10,000คน ยอดการใช้หน้ากากอนามัยฯจะอยู่ที่ 17,000 ชิ้น

ส่วนแผนการจัดหาหน้ากากอนามัยฯ N95 ตอนนี้ได้จัดซื้อนำเข้าของ บริษัท 3M 200,000ชิ้น ซึ่งจะมาในวันที่10เมษายน2563 /บริษัท สยามโคเค็น จำกัด เดือนบะ100,000ชิ้น / นำเข้าจากประเทศจีน โดย องค์การเภสัชกรรม 400,000ชิ้น ในส่วนนี้ล่าสุด บอร์ด องค์การเภสัชกรรม ได้ประชุมอนุมัติซื้อเรียบร้อยแล้ว ในงบกลาง ที่รัฐจัดสรรให้ 1500 ล้านบาท

ส่วนการรองรับผู้ป่วย​โดยเฉพาะเตียง ​ขณะนี้ทั่วประเทศมีเตียง120,000เตียง ได้กันไว้ประมาณ10,000 เตียงรองรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19​ โดยตรง​ ส่วน กทม. มีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19ประมาณ 1,000-2,000เตียง ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อใน กทม. 700 ราย ส่วนเครื่องช่วยหายใจใน กทม. มีประมาณ 300 เครื่อง โดยใช้ไปแล้ว 20 เครื่อง ต่างจังหวัดมีประมาณ 1000 เครื่อง​ทั่วประเทศ

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสข่าวว่ามี ขบวนการหักหัวคิวค่าตรวจน้ำยาตรวจหาเชื้อโควิด​-19​ โดยแพทย์อักษรย่อ​ น​ กับนักการเมืองมีส่วนร่วมในขบวนการ​ ผู้แถลงจากกระทรวงสาธารณสุข​ปัดที่จะตอบคำถามในเรื่องนี้​ ขณะที่ นพ.สมฤกษ์​ จึงสมาน​  รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์​ทำการชี้แจง​ขั้นตอนการออกใบอนุญาติให้บริษัทตัวแทนนำเข้า​ชุดทดสอบ​ rapid test​ รายหนึ่งที่ผลิตในโรงงานสาธารณรัฐประชาชนจีน​ ต่อมามีการเปิดเผยในประเทศสเปนว่า​ชุดทดสอบของโรงงานดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพพอในการตรวจหาเชื้อโควิด-19​ได้​  โดยการชี้แจง​ ระบุว่า​ ทางคณะกรรมการที่มำการออกใบอนุญาตินั้น​พิจารณาจากเอกสารเป็นหลัก​ โดยดูเอกสารที่บริษัทนำส่งพิจารณาประกอบร่วมกับความน่าเชื่อถือของบริษัท​ โดยไม่ใด้ใช้วิธีการทดสอบชุดทดสอบในห้องแล็ป​ ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง​3​ เดือน​ อาจไม่ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน​  โดยขณะนั้นมี 5​บริษัทที่นำเสนอชุดทดสอบแอนติเจน​ให้ทางกรมทำการพิจารณา​ มี​3บริษัทที่ผ่านการประเมิน​ แต่ขณะนี้หลังทราบข้อมูลในประเทศสเปน​ จึงได้ทำการยกเลิกใบอนุญาตของบริษัทดั่งกล่าวไป

ด้าน นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงตัวเลขการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ถึงวันที่ 15 เม.ย.ว่า อย่ามองแค่ตัวเลข ให้มองเหตุผลการคาดการณ์ว่า เพื่อวางแผน เตรียมเครื่องมือ หอผู้ป่วย หอผู้ป่วยหนัก ตัวเลขค่าประมาณที่กระทรวงสาธารณสุขใช้ มาจากการคิดค่าประมาณโดยทีมนักระบาดวิทยา
.
หากสถานการณ์ที่ไม่ทำอะไรมากมาย ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่ประมาณ 25,000 คน ถ้าสามารถเพิ่มระยะห่างทางสังคม หรือระยะห่างบุคคลได้ประมาณ 50% จะมีผู้ป่วยประมาณ 17,000 คน และถ้าสามารถเว้นระยะห่างทางสังคมได้เพิ่มขึ้นจะมีผู้ป่วยประมาณ 7,000 คน ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ห่างจาก 3.5 แสนคนซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้เสียชีวิต 7,000 คน เป็นตัวเลขค่อนข้างมาก
.
นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า หากเราไม่ทำอะไรเลย ไม่ปิดเมือง จะมีผู้ป่วยประมาณ 3.5 แสนคน แต่ถ้าปิดเมืองจะมีผู้ป่วยประมาณ 24,000 คน เสียชีวิตประมาณ 500 คน ตัวเลขคาดการณ์จะสูงกว่าความเป็นจริงทุกตัว ไม่ว่าจะปิดเมืองหรือไม่ปิดเมืองก็ตาม หากถามว่าตอนนี้เราปิดเมืองหรือยัง ตอนนี้ปิดแค่สถานที่บางแห่ง ประชาชนสามรถออกไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งความจริงเราต้องการให้คนออกจากบ้านให้น้อยลง เพื่อประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่
.
นพ.ธนรักษ์ ยืนยันว่า ตัวเลขที่มีการคาดประมาณก็เพื่อนำไปใช้ในการเตรียมทรัพยากรต่างๆ เราอาจจะตั้งความหวังได้ว่าจะมีผู้ป่วยไม่มากนัก แต่เวลาเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ เราจะต้องเตรียมในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ถ้ามัวแต่หวังว่าจะมีผู้ป่วยน้อย เมื่อเวลาผู้ป่วยมากจะกลายเป็นว่า ไม่เตรียมการไม่ทัน ส่งผลให้มีคนเดือนร้อนจำนวนมาก
.
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เคยมีคนตั้งข้อคำถามว่า ตัวเลขคาดการณ์จำนวนมากต้องการขู่ให้กลัวหรือเปล่าว่า ตัวเลขค่าประมาณที่คาดการณ์ไว้มีจำนวนผู้ป่วยมาก ไม่ใช้ต้องการให้คนตกใจ เพราะการพยายามขู่ให้คนกลัวกับโรคภัย ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง เพราะเมื่อคนกลัวจะเกิดความกังวลตามมา จากนั้นเขาจะไม่ปฏิบัติตัวอย่างมีเหตุ มีผล จะเกิดการรังเกลียดกันในสังคม ตัวอย่างเกิดขึ้นหลายครั้งแล้วไม่ใช่เฉพาะกรณีที่บางบอน และเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นคนไข้จะไม่ยอมเปิดตัว ปกปิดข้อมูลกับแพทย์
“ยิ่งสร้างความกลัว สร้างความกังวลขึ้นในสังคม ยิ่งเพิ่มโอกาสให้โรคแพร่ได้ง่ายขึ้น วิธีที่ถูกต้อง คือ วิธีการให้ความจริง ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง จะทำให้เกิดปัญญา ตระหนักรู้ ปัญญากับสติจะพาเราผ่านวิกฤติ แต่ความกลัวไม่ เราต้องสร้างความรู้ให้กับคนไทยเร็วที่และมากที่สุด เราถึงจะก้าวข้ามปัญหานี้ไปได้” นพ.ธนรักษ์ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า