SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 24 ก.พ.2563 ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการตามแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยปี 2562 วงเงิน 3,120.86 ล้านบาท ซึ่งเป็นการดูแลเกษตรกรต่อเนื่องหลังจากรัฐบาลได้เยียวยาเกษตรกรทั้งหมด 538,316 ราย ในพื้นที่ฝนทิ้งช่วง 19 จังหวัด และอุทกภัย 30 จังหวัดงบประมาณโครงการเป็นการถัวจ่ายงบประมาณระหว่างโครงการภายใต้กรอบวงเงิน 3,120.86 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปี 2562 จำนวน 2,967.50 ล้านบาท งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้ว 152.31 ล้านบาท และเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 1.05 ล้านบาทสิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการต่อเพื่อฟื้นฟูเกษตรกร คือ

1.โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร วงเงิน 347.52 ล้านบาท รับผิดชอบโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ตั้งเป้ามีเกษตรกรเข้าร่วม 150,000 ครัวเรือน พื้นที่รวม 1.4 ล้านไร่ โดยสนับสนุนเงินโอนเข้าบัญชีเกษตรกร เพื่อซื้อเมล็ดพันธ์ตามพื้นที่ปลูกจริง แบ่งเป็น

1)ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 100,000 ครัวเรือน รายละไม่เกิน 20 ไร่ อัตราไร่ละ 245 บาท (ครัวเรือนละ 4,900 บาท) พื้นที่รวม 1 ล้านไร่

2)ถั่วเขียว เป้าหมายเกษตรกรจำนวน 50,000 ราย รายละไม่เกิน 20 ไร่ อัตราไร่ละ 200 บาท (ครัวเรือนละ 4,000 บาท) พื้นที่รวม 4 แสนไร่

2.โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว ปี 2563/64 วงเงิน 1,739.43 ล้านบาท รับผิดชอบโดยกรมการข้าว ตั้งเป้ามีเกษตรกรเข้าร่วม 827,000 ครัวเรือน เมล็ดพันธุ์ข้าว 63,200 ตัน พื้นที่รวม 6.32 ล้านไร่ โดยสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวแก่เกษตรกร ไร่ละ 10 กิโลกรัมไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ ทั้งนี้ ครม.ได้เห็นชอบให้กรมการข้าวปรับเปลี่ยนปริมาณของเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดข้าวและปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวของแหล่งผลิต (กรมการข้าว สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร และศูนย์ข้าวชุมชนและแปลงใหญ่) ให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกรและตามความสามารถในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและปริมาณที่จะสนับสนุนของแต่ละแหล่งผลิต

3.โครงการพัฒนาทางเลือกอาชีพด้านประมง การเลี้ยงปลานิลแปลงเพศในบ่อดิน วงเงิน 260 ล้านบาท รับผิดชอบโดยกรมประมง ตั้งเป้ามีเกษตรเข้าร่วม 50,000 ราย โดยสนับสนุนพันธุ์ปลานิล ขนาดประมาณ 5-7 เซนติเมตรขึ้นไปรายละ 800 ตัว และอาหารสัตว์น้ำนำร่อง จำนวน 120 กิโลกรัม ให้แก่เกษตรกร

4.โครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงในแหล่งน้ำชุมชน วงเงิน 506.91 ล้านบาท รับผิดชอบโดยกรมประมง ตั้งเป้าแหล่งน้ำในชุมชน จำนวน 1,436 แห่ง ในพื้นที่ 129 อำเภอ โดยสนับสนุนลูกพันธุ์กุ้งก้ามกรามนำไปปล่อยในแหล่งน้ำของชุมชน ขนาดลูกพันธุ์ประมาณ 5-7 เซนติเมตรขึ้นไป จำนวน 200,00 ตัวต่อแหล่งน้ำ

5.โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก วงเงิน 240 ล้านบาท รับผิดชอบโดยกรมปศุสัตว์ ตั้งเป้ามีเกษตรเข้าร่วม 48,000 รายโดยสนับสนุนเงินโอนเข้าบัญชีเกษตรกร เพื่อซื้อพันธุ์ไก่ไข่ เป็ดไข่ ครัวเรือนละ 10 ตัว และไก่พื้นเมืองคละเพศ ครัวเรือนละ 30 ตัว พร้อมอาหารและค่าวัสดุ ครัวเรือนละ 4,850 บาท


คุณสมบัติของเกษตรกรและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

1) เป็นเกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วง/ฝนแล้งหรืออุทกภัย ปี 2562 ที่ได้รับความเสียหายสิ้นเชิง และได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ โดยให้เกษตรกรมีสิทธิ์เลือกได้ 1 โครงการ เท่านั้น (ยกเว้นโครงการสร้างรายได้จากอาชีพประมงฯ เนื่องจากเป็นโครงการที่กรมประมงดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชนเองโดยไม่ได้ให้เกษตรกรดำเนินการและไม่มีการรับสมัครเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ)
2) เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายทั้งด้านพืช ด้านประมง และด้านปศุสัตว์ สามารถแจ้งความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการด้านใดด้านหนึ่งได้โดยไม่จำเป็นต้องตรงกับด้านที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบพบว่า คุณสมบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละโครงการที่ประสงค์เข้าร่วม ให้ถือว่าเกษตรกรสละสิทธิ์และจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการอื่นได้
3) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านพืช มีเงื่อนไข ดังนี้
3.1) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ มีเงื่อนไขคือ (1) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย โดยเกษตรกรสามารถเลือกแปลงปลูกอื่นของครัวเรือนที่ไม่ได้รับความเสียหาย แต่มีเอกสารสิทธิเข้าร่วมโครงการได้ (2) เกษตรกรสามารถเลือกพืชได้มากกว่า 1 ชนิด (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเขียว) แต่พื้นที่รวมกันไม่เกิน 20 ไร่ต่อรายหรือครัวเรือน และ (3) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีความเหมาะสมในการผลิต ซึ่งทั้งสภาพพื้นที่และปริมาณน้ำต้นทุนต้องเหมาะสม/เพียงพอ
3.2) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าวฯ มีเงื่อนไข คือ (1) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฎหมาย โดยเกษตรกรสามารถเลือกแปลงปลูกอื่นของครัวเรือนที่ไม่ได้รับความเสียหาย แต่มีเอกสารสิทธิเข้าร่วมโครงการได้ (2) เกษตรกรสามารถเลือกรับการสนับสนุนพันธุ์ข้าว 1 พันธุ์ (ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมปทุม ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว) ชนิดใดชนิดหนึ่งตามพื้นที่เสียหายสิ้นเชิงจริง แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 10 ไร่ (ไร่ละ 10 กิโลกรัม) และ (3) พื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการต้องมีความเหมาะสมในการผลิต ซึ่งทั้งสภาพพื้นที่และปริมาณน้ำต้นทุนต้องเหมาะสม/เพียงพอ
4) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านประมง มีเงื่อนไข ดังนี้
4.1) เกษตรกรจะต้องมีบ่อดิน
4.2) มีปริมาณน้ำเพียงพอและเหมาะสมในการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ
5) กรณีเกษตรกรขอรับการสนับสนุนด้านปศุสัตว์ มีเงื่อนไข ดังนี้
5.1) เกษตรกรต้องมีโรงเรือนสัตว์ปีก พร้อมลานปล่อยที่มีตาข่ายป้องกันสัตว์พาหะ
5.2) อยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัย 17 จังหวัด (มีเพียงพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ได้รับความเสียหายในด้านปศุสัตว์) ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน น่าน พิจิตร พิษณุโลก สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ขอนแก่น อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ นครพนม และมุกดาหาร
6) เกษตรกรต้องมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กรณีที่รับการสนับสนุนเป็นเงินโอนเข้าบัญชีตามโครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยฯ และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีก

อ้างอิงข้อมูลจากฐานเศรฐกิจ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า