SHARE

คัดลอกแล้ว

กลุ่มต่างชาติความเสี่ยงต่ำเริ่มเดินทางเข้าไทยในมาตรการ Medical and wellness (เมดิคอล แอนด์ เวลเนส) ด้านกระทรวงสาธารณสุขสั่งคุมเข้มการป้องกันโควิด รพ.ทางเลือก

วันที่ 29 ก.ค. 2563 ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แถลงข่าวว่าศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 ได้ประกาศให้มีสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) สำหรับผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติรวมผู้ติดตามที่เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยเป็นการรักษาในสถานพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนที่กำหนด และมีการนัดหมายไว้ล่วงหน้าตามกลุ่มโรค/ อาการ/ หัตถการที่นัดหมาย เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 14 วันซึ่งโรงพยาบาลจะต้องจัดสถานที่เฉพาะไม่ปะปนกับผู้ป่วยอื่น มีห้องพักกักตัวญาติ 14 วันเช่นเดียวกัน และมีระบบการป้องกันไม่ให้ออกนอกสถานที่กักตัว เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19

ขณะนี้ได้ประกาศรายชื่อและออกใบประกาศรับรองสถานพยาบาลที่ร่วมเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) แล้ว 124 แห่ง เป็นโรงพยาบาล 98 แห่ง และคลินิก 26 แห่ง และได้เปิดรับผู้ป่วยชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามารับการรักษาพยาบาลแล้ว โดยอนุญาตเฉพาะผู้ป่วยที่เดินทางมาจากกลุ่มประเทศสีเขียว ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ จีน เมียนมาร์ และกัมพูชา เฉพาะการรักษาพยาบาลและบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่มีศักยภาพสูง (Magnet) อาทิ โรคตา โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ภาวะมีบุตรยาก ศัลยกรรมเสริมความงาม เป็นต้น ซึ่งเป็นการรักษาโรคตามกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกรณีการรักษาโรคโควิด 19 สำหรับผู้ป่วยชาวต่างชาติมีผู้ติดตามได้ไม่เกิน 3 คน

รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ย้ำว่ากระทรวงสาธารณสุขมีกลไกควบคุมกำกับดูแลโรงพยาบาลทางเลือกอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจะต้องมีหนังสือรับรองผลการตรวจโควิด 19 ก่อนเข้าประเทศไม่เกิน 72 ชั่วโมง และเมื่อเข้ารักษาในโรงพยาบาลจะได้รับการตรวจซ้ำอีก 3 ครั้ง คือ วันแรก, วันที่ 5-7 และในวันที่ 14 ซึ่งหากผลการตรวจไม่พบเชื้อ จะอนุญาตให้ผู้ป่วยและผู้ติดตามออกจากโรงพยาบาลได้ พร้อมหนังสือรับรองการกักกันตัวครบ 14 วัน ที่อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ออกให้ และจะสามารถไปท่องเที่ยวตามแผนการเดินทางที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้เข้าประเทศ ทั้งธุรกิจด้านการแพทย์และการท่องเที่ยวของประเทศตามนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)

ด้านนายแพทย์ไพบูลย์ เอกแสงศรี เลขาธิการสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวว่า ประเทศไทยมีโรงพยาบาลเอกชน 382 แห่ง สมัครเข้าร่วมเป็นโรงพยาบาลทางเลือก 98 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ให้บริการชาวต่างชาติ สร้างรายได้เข้าประเทศ ขณะนี้มีผู้ป่วยที่ต้องรักษาต่อเนื่อง และผู้ป่วยตามนัดหมายเริ่มเข้ามารักษาแล้ว ไม่ใช่ผู้ป่วยโรคโควิด 19 โดยโรงพยาบาลมีการจัดระบบรองรับตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้มั่นใจว่ามีการป้องกันควบคุมโรคไม่เข้ามาแพร่ในประเทศไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า