กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงความผิดพลาดการตรวจผู้ติดเชื้อที่จังหวัดยะลา 40 คน อยู่ระหว่างการตรวจสอบสาเหตุความผิดพลาด โดยความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้ เบื้องต้น ส่งตัวอย่างเชื้อตรวจซ้ำรอบ 3 ที่กรุงเทพมหานคร
วันที่ 5 พ.ค.2563 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงถึงผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่จังหวัดยะลาที่มีความคลาดเคลื่อน 40 คน ว่าจังหวัดยะลาได้ทำการตรวจแบบเชิงรุกในพื้นที่มีความเสี่ยง หรือ active case finding โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งหรือ RT- PCR จากสารคัดหลั่ง ที่มีการการตรวจเชื้อในห้องแล็ป ซึ่งวิธีการตรวจสอบหาเชื้อวิธีนี้ ต้องมีตัวควบคุมเปรียบเทียบระหว่าง positive control และ negative control ซึ่งในกรณีที่จังหวัดยะลาได้ดำเนินตามขั้นตอนตามมาตรฐาน แต่ยอมว่ามีความผิดพลาดซึ่งอยู่ระหว่างการหาสาเหตุ โดยจะเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจหาสาเหตุ ซึ่งความผิดพลาดของการตรวจย่อมเกิดขึ้นได้ อาจจะเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ เครื่องมือ หรือระบบ มีความเป็นไปได้
นพ.โอภาส กล่าวว่า การตรวจแบบ RT- PCR ถือว่าเป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในขณะนี้ แต่จากผลที่คลาดเคลื่อนนั้น ทางอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ ยืนยันว่า ไม่เป็นปัญหา เนื่องจากเป็นการพบผลบวกที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้ดำเนินการป้องกันและควบคุมทันที โดยขณะนี้ ทางกรมได้นำสารคัดหลั่งทั้ง 40 ตัวอย่างนำมาทดสอบอีกครั้งที่ห้องแล็บของกระทรวงสาธารณสุข เป็นครั้งที่ 3 โดยจะทราบผลในวันพรุ่งนี้ ส่วนผู้สะมผัสใกล้ชิดทั้ง 40 คนในขณะนี้ยังไม่ต้องตรวจซ้ำ
ปัจจุบันมีห้องแล็ปที่ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT -PCR ทั่วประเทศ 151 แห่ง ตรวจหาเชื้อไปแล้ว 227,860 ตัวอย่าง โดยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ตรวจหาเชื้อเพิ่มขึ้น เป็น 6,000ตัวอย่าง มากกว่าจำนวนการตรวจในสัปดาห์ของเดือนเมษายนที่มีการตรวจ 3,000 ตัวอย่าง

นพ.อนุพงศ์ สุจริยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค
ด้าน นพ.อนุพงศ์ สุจริยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค แสดงความเห็นต่อกรณีภาพปราชนจึ้นรถไฟฟ้าจำนวนมาก ระบุว่า อย่าเพิ่งติเตียนกัน เชื่อว่าขณะนี้ อยู่ระหว่างปรับตัว ทางหน่วยงานขนส่งมวลชนจะมีการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามมาตรการเว้นระยะห่าง
ส่วนข้อสงสัยว่าควรใส่หน้ากากอนามัยระหว่างออกกำลังกายหรือไม่ นพ.อนุพงศ์ ระบุ หัวใจสำคัญในการออกกำลังกายในช่วงนี้ คือ เลือกสถานที่ที่ไม่แออัด มีการเว้นระยะห่าง 2 เมตร หากทำตามนี้ ไม่ต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยในขณะออกกำลังกาย
นพ.อนุพงศ์ กล่าวถึงสัญญาณเตือนการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ระลอก 2 หลังมีการผ่อนปรน 6 กิจกรรมและกิจการ ว่า สิ่งที่จะบ่งบอกถึงการแพร่ระบาดระลอกสอง คือ จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นในลักษณะเป็นหย่อมๆ ในวงจำกัด หรืออาจจะมีรายใหม่เกิดขึ้นในลักษณเป็นกลุ่มก้อน (cluster) เพราะฉะนั้นระบบการเฝ่าระวัง คัดกรอง สอบสวนโรค การ์ดห้ามตก ต้องทำงานทันเวลาสามารถนำผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยตรวจหาเชื้อโดยเร็ว รักษาเร็ว จะสามารถวางแผนดูแลรักษาผู้ป่วยยืนยันแล้วได้ ในส่วนของการพบผู้ป่วยในศูนย์กักไม่ค่อยน่าห่วง เพราะรู้และจัดการให้อยู่ในพื้นที่ได้ ไม่มีการแพร่เชื้อไปแพร่สู่คนอื่น แต่สิ่งที่น่าห่วและต้องเฝ้าดูอยู่คือหลังจากมีมาตรการผ่อนปรน 6 กลุ่มกิจการ กิจกรรมแล้วทุกคนให้ความร่วมมืออย่างไร หากทุกคนช่วยกัน แน่นอนว่าการดำเนินชีวิตก็จะปลอดภัยขึ้น
นพ.อนุพงศ์ ย้ำว่า การดูสถานการณ์ต่างๆ ต้องดูทั้งระบบ ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศต้องเข้ากักตัวในที่รัฐบาลจัดให้ตรงนี้เป็นการสกัดกั้นโรคที่มาจากต่างประเทศ เหลือแต่ว่าหากเกิดการแพร่ระบาดในประเทศ เราสามารถจัดการได้โดยเร็วหรือเปล่า หากจัดการได้เร็วเราจะมีปลอดภัยสูง