SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลการทดลองวัคซีนชนิด mRNA ในหนูสามารถยับยั้งเชื้อในหลอดทดลองได้ดี ลุ้นผลการฉีดครั้งที่ 2 กับลิงอีก 2 สัปดาห์หากได้ผลเป็นที่น่าพอใจไทยเตรียมเดินหน้าผลิตวัคซีน 10,000 โดส ทดลองในคน 
วันที่ 25 มิ.ย.2563 วานนี้มีการหารือถึงความคืบหน้าการทดลองฉีดวัคซีนชนิด mRNA และการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ร่วมกันระหว่างนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผลการทดสอบวัคซีนในหนูทั้ง 2 ครั้งพบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น และสามารถยับยั้งเชื้อในหลอดทดลองได้ ส่วนในลิงอยู่ในระหว่างรอผลการฉีดครั้งที่ 2 คาดว่าจะทราบผลใน 2 สัปดาห์ หากผลเป็นที่น่าพอใจ โรงงานผลิตที่จองไว้ก็จะเริ่มผลิตจำนวน 10,000 โดส ถ้าเป็นไปตามแผนก็จะเริ่มที่อาสาสมัครคนไทย อย่างไรก็ตามการทดลองในคนต้องผ่าน อย. และกรรมการจริยธรรม นอกจากนี้ในส่วนของประเทศไทยจะเตรียมความพร้อมโรงงานสำหรับผลิตวัคซีนในปีหน้า
ขณะที่นายอนุทิน กล่าวว่า รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขเห็นความสำคัญและมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะให้การสนับสนุนทุกสถาบันในการค้นคว้าวิจัยวัคซีนโควิด-19 ได้จัดสรรงบฯ จาก พ.ร.ก.เงินกู้ให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ 3,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนและร่วมทำการค้นคว้าวิจัยวัคซีนโรคโควิด-19 กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชนชาวไทย โดยปัจจุบันประเทศไทยถือว่าบริหารสถานการณ์โควิด-19 ในด้านการป้องกันควบคุมสอบสวน รักษาพยาบาล และให้บริการทางการแพทย์ รวมถึงแก้ปัญหาการขาดแคลนเวชภัณฑ์ต่างๆ ได้ดี ซึ่งเหลือขั้นตอนสุดท้ายคือการมีวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 สำหรับคนไทย
ทั้งนี้ ทีมวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอความก้าวหน้าของการทดลองวัคซีนโดยได้ทดลองในหนูได้ผลดี ภูมิคุ้มกันเพิ่มในระดับที่น่าพอใจและขณะนี้ได้ทดลองในลิง รอบที่ 1 อยู่ระหว่างรอผล ระยะต่อไปจะเป็นการทดลองในคน สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อคือ ต้องหากลุ่มตัวอย่างทดสอบวัคซีน โดยจะมีแผนหารือความร่วมมือทดลองและผลิตในระดับอาเซียน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า