Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา วิเคราะห์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 พบแต่ละประเทศเกิดการระบาดจากเมืองก่อนจะแพร่ระบาดสู่พื้นที่ชนบท

วันที่ 2 ต.ค.2563 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยการระบาดของโรคโควิด-19 ในแต่ละประเทศ การระบาดจะเริ่มจากตัวเมืองก่อนแล้วค่อยไปสู่ชนบท

การระบาดในประเทศพม่าเห็นได้ชัดเจนว่า เริ่มทางตะวันตกเข้าหัวเมืองชายทะเล แล้วเข้าสู่เมืองขนาดใหญ่คือย่างกุ้ง การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจะเป็น 2 เท่าทุกสัปดาห์ เริ่มจาก 1,500 คนเป็น 3000 คน และเป็น 6000 ในสัปดาห์ต่อมา และเพิ่มเป็น 12000 คน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 300 คนแล้ว หรือประมาณ 2.3 % ขณะนี้จึงมีผู้ป่วยวันละประมาณเกือบ 1,000 คน และก็จะเป็นการยากในการควบคุมการระบาด เมื่อไปสู่หัวเมืองต่างๆโดยเฉพาะไปสู่ชนบท ที่มีข้อจำกัดในการตรวจวินิจฉัย และระบบสาธารณสุข ถึงแม้ว่าจะปิดเมืองย่างกุ้ง

เราเห็นได้ชัดในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ซึ่งขณะนี้ก็ยากที่จะควบคุมให้เหลือน้อยที่สุด ถ้าเชื้อหลุดเข้ามาก็ขอให้เราควบคุมและดูแลได้อย่างสิงคโปร์และมาเลเซีย เราเชื่อมั่นว่าเราจะต้องทำได้ ประเทศไทยกำลังผ่านฤดูฝน ที่ทุกปีจะมีการระบาดพบโรคทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก

สิงคโปร์ถึงแม้จะมีผู้ติดเชื้อ มากกว่า 57,000 คน เสียชีวิตเพียง 27 คน และมาเลเซีย มีผู้ติดเชื้อ มากกว่าหมื่นราย แต่ก็มีผู้เสียชีวิตเพียง 1.2% น้อยกว่าพม่าเท่าตัว

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ระยะฟักตัวของโรคส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2 ถึง 7 วัน ส่วนน้อยจะอยู่ที่ 7-14 วัน และส่วนน้อยมากๆจะอยู่ในสัปดาห์ที่ 3 คือ 15 ถึง 21 วัน การกักกันตัว เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ โควิด 19 จึงขึ้นอยู่กับสภาวะและสถานการณ์ต่างๆ เช่น ในประเทศจีน ไม่ต้องการให้มีเชื้อเลยแม้แต่รายเดียว จีนก็จะใช้มาตรการเต็มที่ในการกักกัน ถึง 21 วัน เพื่อไม่ให้เชื้อ โควิด 19 รอดออกมาได้ จีนเป็นประเทศที่พึ่งพาตัวเอง และมีเศรษฐกิจเป็นบวก ถึงแม้จะปิดประเทศ

ประเทศไทยเรายังถือเอา 14 วัน เพราะว่าส่วนใหญ่ก็สามารถควบคุมได้ดีแล้วทางตะวันตกที่มีการระบาด บางแห่งถ้ามีมาตรการวินิจฉัยอย่างดี ก็จะเอาที่ 7 วัน และบางแห่งก็ไม่ต้องมีการกักกันตัวเลย เช่นคนไทยจะไปอังกฤษ ก็ไม่จำเป็นต้องถูกกักกันตัวเพราะถือว่ามาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ

การจะกักกันควบคุมกี่วัน ยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ เข้ามาประกอบ เช่นถ้าเรามั่นใจว่าเดินทางมาจากประเทศความเสี่ยงต่ำมากๆ เช่นประเทศจีน นิวซีแลนด์ ไต้หวัน ในปัจจุบัน ก็อาจใช้ระยะเวลาการกักกันตัวให้สั้นลง เช่น 10 วัน ตรวจเชื้อวันสุดท้ายก่อนออก เพราะขณะนี้การตรวจเชื้อครั้งที่ 2 เฉลี่ยอยู่ในวันที่ 12 อยู่แล้ว และใช้มาตรการอื่นในการติดตาม ความเสี่ยง การแพร่กระจายเชื้อ ให้อยู่เฉพาะบริเวณ และมีการตรวจเชื้อซ้ำ จนกว่าจะพ้นระยะเวลาติดต่อของโรค

ปัจจุบันวิธีการตรวจมีความไวสูงมาก และทำได้เร็วขึ้น ตรวจเช้าได้เย็น มีห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก หลักการและเหตุผลต่างๆ จะอ้างอิงตามหลักวิชาการ เพื่อลดการกระจายของ โควิด 19 มาสู่ประชากรไทยให้น้อยที่สุด ในระยะยาวกว่าจะมีวัคซีน ที่รู้แน่ชัดว่าใช้ป้องกันโรคได้ และมีใช้ในประเทศไทยเราคงต้องมีทุกมาตรการ ตั้งแต่ลดการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย และคนไทยทุกคนช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในประเทศ ด้วยการดำรงชีวิตแบบวิถีชีวิตใหม่อย่างเคร่งครัดในระยะยาวจะต้องอยู่บนจุดสมดุล ที่ทุกคนจะต้องอยู่ได้ เหตุการณ์นี้เคยเปรียบเสมือนวิ่งมาราธอน เรายังวิ่งมาไม่ถึงครึ่งทางจึงต้องมีการผ่อนหนักผ่อนเบา เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางให้ได้

สถานการณ์ทั่วโลกวันที่ 2 ตุลาคม 2563, เวลา 08:30 น. มีผู้ป่วยยืนยัน 34,471,182 ราย, กลับบ้านแล้ว 25,658,125 ราย, ยังรักษาใน รพ. 7,785,532 ราย และเสียชีวิต 1,027,525 ราย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า