Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมสุขภาพจิต จัดสัมมนา รวบรวมเสียงสะท้อน มุมมอง ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางความร่วมมือลดภาวะวิกฤตผลกระทบทางด้านจิตใจจากเหตุความรุนแรง พร้อมเตรียมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การป้องกันแก้ไขปัญหาในอนาคต

วันที่ 25 ก.พ.2563 นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานเปิดสัมมนา เรื่อง “ลดวิกฤตผลกระทบทางจิตใจ…สื่อช่วยได้” ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว อาคาร 1 ชั้น 1 กรมสุขภาพจิต ในโอกาสนี้ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่จังหวัดนครราชสีมาที่ผ่านมา ส่งผลกระทบทางด้านจิตใจรุนแรงทั้งในเชิงลึก และเชิงกว้างกับประชาชน ทั้งกับผู้ประสบเหตุ บุคคลในครอบครัว ญาติ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในเหตุการณ์ ตลอดจนบุคคลในชุมชน สังคม และโดยที่สื่อมวลชนมีความสำคัญ เป็นกลไกหลักของสังคมที่จะช่วยลดวิกฤตผลกระทบทางจิตใจ ประกอบกับผลกระทบที่รุนแรงดังกล่าวเป็นสัญญาณที่กรมสุขภาพจิตต้องเร่งถอดบทเรียน หาวิธีการ และแนวทางปฏิบัติร่วมกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งด้านวิชาการ ด้านการสื่อสาร ด้านกฏหมาย และด้านสังคมอื่นๆ เพื่อช่วยกันดูแล แก้ไข และฟื้นฟู ผลกระทบวิกฤติทางด้านจิตใจของประชาชน จากเหตุความรุนแรงที่ผ่านมา และเตรียมการสำหรับการป้องกันในอนาคต โดยจะนำผลจากการสัมมนา เข้าสู่การกลั่นกรองเพื่อนำไปใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการป้องกันแก้ไขผลกระทบทางจิตใจของประชาชนจากเหตุการณ์ความรุนแรงทุกรูปแบบต่อไป

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวต่อว่า การสัมมนาในครั้งนี้ มีศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มาร่วมเปิดมุมมองด้านกฎหมาย และนายสมยศ เกียรติอร่ามกุล รักษาการผู้อำนวยการสำนักรายการ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ร่วมเปิดมุมมองในประเด็น “สื่อ-รัฐ จะจับมือก้าวผ่านเหตุการณ์นี้ไปได้อย่างไร” และนายแพทย์ กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ ในฐานะผู้บัญชาการเยียวยาจิตใจ (ทีม MCATT) ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุกราดยิงที่ห้างเทอร์มินอล 21 ร่วมสะท้อนแง่มุมด้านสุขภาพจิต นอกจากนี้ ยังมีผู้บริหาร สื่อมวลชน ผู้จัดรายการ คอลัมนิสต์ จากส่วนต่างๆ รวมทั้งองค์กรภาคประชาชนกว่า 70 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ มุมมองข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อการป้องกันแก้ไขปัญหาด้วย

สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรง ที่จังหวัดนคราชสีมา ขณะนี้เข้าสู่การดูแลจิตใจในระยะกลาง หรือ ระยะที่ 3 คือ ช่วง 2 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้วางแผนดำเนินงานต่อเนื่องในด้านการสร้างทักษะและความยืดหยุ่นด้านจิตใจ การช่วยเหลือกันในครอบครัวและคนใกล้ชิด การสอดส่องมองหาผู้ที่ยังได้รับผลกระทบ การใส่ใจรับฟังซึ่งกันและกัน และการส่งต่อเชื่อมโยงกับบุคลากรทางการแพทย์ ระยะนี้ จึงขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ช่วยเสริมสร้างกำลังใจ เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งทักษะการดูแลจิตใจซึ่งกันและกัน ระหว่างคนใกล้ชิดในครอบครัว และชุมชน เพื่อช่วยให้ผู้ได้รับผลกระทบก้าวผ่านช่วงนี้ไปได้ อธิบดีกรมสุขภาพจิตกล่าว

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า