SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพจำของโครงการรณรงค์และผลักดันด้านสุขภาวะอันเป็นผลงานต่อเนื่องของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เรียกได้ว่ามีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และยืดหยุ่นไปตามยุคสมัย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของการรับรู้ของคนไทย จนยากจะเชื่อว่านี่คือองค์กรที่ดำเนินงานมาแล้วกว่า 22 ปี

วันนี้สสส. ไทยก็ได้สะท้อนภาพความสำเร็จของการร่วมมือและการดำเนินงาน ในฐานะเจ้าภาพงานพบปะครั้งยิ่งใหญ่ การประชุมเครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2566 (The 20th International Network of Health Promotion Foundations 2023 หรือ the 20th INHPF Annual Meeting 2023) ที่จัดขึ้นร่วมกับ เครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (INHPF) ซึ่งสสส. เป็นเจ้าภาพครั้งที่สอง

การประชุมดังกล่าว จัดขึ้นภายใต้ธีม “ก้าวต่อไปของเครือข่าย สสส. โลก: ขับเคลื่อนนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพสู่สุขภาวะที่เป็นธรรม” (The Next Step of INHPF: Accelerating Health Promotion Innovations towards Equitable Well-being)  มีเป้าหมายเพื่อการแบ่งปันข้อมูล ประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือ รวมถึงหารือแนวทางการดำเนินงานต่อไปของสมาชิกเครือข่าย INHPF ตลอดจนมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพื่อที่จะสานต่อ และยกระดับงานสร้างเสริมสุขภาวะสู่วาระระดับโลก

ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. เผยถึงที่มาของการประชุมครั้งนี้ว่า เครือข่าย INHPF หรือ สสส.โลก ถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพประเทศต่าง ๆ ที่สนใจงานสร้างเสริมสุขภาพประชากรผ่านการดำเนินงานของกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ หัวข้อการประชุมครั้งนี้มีแรงบันดาลใจจากมุมมองของทศวรรษต่อไปของเครือข่าย INHPF ที่ต้องขับเคลื่อนกลยุทธ์เชิงนวัตกรรม เพื่อสร้างสรรค์สุขภาวะที่เป็นธรรม ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวของเมือง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ฯลฯ

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม กรรมการกองทุน สสส. และประธานกรรมการบริหารแผนคณะที่ 7 สสส. ได้พูดถึงความจำเป็น และเหตุผลที่ทำให้เกิดการประชุมครั้งนี้ว่า ที่ผ่านมาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพที่เคยใช้ได้ผล จำเป็นต้องปรับตัวให้สอดรับกับสถานการณ์สุขภาพที่เปลี่ยนแปลง อย่างที่ดร. สุปรีดากล่าวว่า ขณะนี้เรากำลังเผชิญหน้ากับปัญหาที่ซับซ้อน และความไม่แน่นอนใหม่ๆ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาแนวคิด นวัตกรรมการสร้างสุขภาวะ และเชื่อมต่อเชื่อมความร่วมมือระหว่างองค์กรสมาชิกและพันธมิตรของเรา

“ในวันนี้เป็นวันครบรอบ 22 ปี ของการจัดตั้ง สสส. ในฐานะหน่วยงานที่ได้แสดงบทบาทกลไกนวัตกรรม ที่สนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ ผมเชื่อว่าสสส. ไทยได้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และบทเรียนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อมุ่งสู่สุขภาวะที่เป็นธรรมของคนทุกกลุ่มได้อย่างแท้จริง”

ตลอดระยะ 23 ปีที่ผ่านมา เครือข่าย INHPF ได้รับการพัฒนาเป็นกลไกที่แข็งแกร่งสำหรับการทำงานร่วมกัน และแบ่งปันการเรียนรู้ระหว่างสมาชิกที่หลากหลาย ที่ผ่านมาสมาชิกเครือข่ายและหน่วยงานพันธมิตรได้ร่วมกัน ทำหน้าที่เสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศต่างๆ ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อเป็นกลไกนวัตกรรม และแบ่งปันบทเรียนและองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ อาทิ องค์การอนามัยโลก และ มูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่ (SEATCA) ที่ช่วยผลักดันและเสริมสร้างขีดความสามารถของหลากหลายประเทศ ในการจัดตั้งกองทุนสร้างเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน นับเป็นผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ว่าแนวคิดการก่อตั้งเครือข่าย ที่ช่วยเกื้อหนุนและร่วมมือกันผลักดันในประเด็นต่างๆ สามารถทำให้การเปลี่ยนแปลงในระดับประเทศเกิดขึ้นได้

นพ.อเลสซานโดร ดีเมโย ประธานเครือข่ายกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ The International Network of Health Promotion Foundations – INHPF และผู้จัดการกองทุน สสส. แห่งรัฐวิคตอเรีย ออสเตรเลีย กล่าวทิ้งท้ายการเปิดการประชุมว่า “สสส. มีทั้งความเป็นผู้นำ และเป็นต้นแบบของโลกด้านการส่งเสริมสุขภาวะ เพราะมีความพร้อมทั้งด้านนโยบาย การนำไปปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จ ที่ผ่านมาทั้งการรณรงค์สังคม การพัฒนานวัตกรรม ตลอดจนกลไกสร้างเสริมสุขภาพ ได้ถูกพัฒนาออกมาเป็นแนวทางใหม่ๆ ไม่ว่าจะในประเด็นบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารทำลายสุขภาพ ที่ล้วนเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต้องเผชิญ ก็ได้ถูกให้ความสำคัญและออกแบบการรณรงค์โดยเน้นหนักไปที่กลุ่มเด็ก และเยาวชน ให้มีสุขภาวะที่ดี วิธีการดำเนินงานแบบนี้คือการคำนึงถึงกลุ่มประชากรสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผมเชื่อว่าการประชุมครั้งนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกเครือข่ายอยู่สามารถเรียนรู้การทำงาน นำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของแต่ละประเทศได้”

อนึ่ง สุขภาวะที่เป็นธรรม ในความหมายของทางสสส. คือ การทำให้สุขภาพเป็นสิทธิของทุกคนโดยไม่แบ่งแยก ทั้งสภาวะสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือความแตกต่างทางเชื้อชาติ ล้วนไม่มีผลต่อการมีสุขภาวะที่ดี นอกจากนี้ เป้าหมายการปรับปรุงระบบสุขภาพ ยังไม่พยายามพึ่งพาแต่เพียงระบบรักษาพยาบาล แต่มองครอบคลุมไปถึงปัจจัยทางสังคมตลอดจนเศรษฐกิจ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของบุคคล และชุมชนด้วย

การประชุมเครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2566 โดยนอกจากจะมีตัวแทนจากหน่วยงานสมาชิกทั้ง 7 ประเทศ มาแบ่งบันประสบการณ์ เส้นทางการดำเนินงาน ปัญหาที่พบเจอแล้ว ก็ยังมีตัวแทนพันธมิตรผู้เข้าร่วมฟังกว่า 300 คนจากนานาประเทศ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า