Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกางแผนทำงานปร 2564 เน้นรักษาตลาดเดิม เพิ่มตลาดใหม่ ลุยเจรจา FTA รวม 12 กรอบ ฟื้นเจรจากับอียู EFTA เปิดเจรจาใหม่กับยูเค EAEU อาเซียน-แคนาดา เร่งรัด FTA คงค้างกับตุรกี ปากีสถาน ศรีลังกา และอัพเกรด FTA กรอบอาเซียนกับจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ พร้อมวางแผนเจรจา JTC กับ 10 คู่ค้า ดันตั้งกองทุนเอฟทีเอแบบถาวร ส่วน RCEP ลงนามตามกำหนดเดิม พ.ย.นี้

วันที่ 10 ต.ค.2563 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงแผนการทำงานด้านการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ปี 2564 ตามข้อสั่งการของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ว่า กรมฯ มีแผนใช้การเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อรักษาตลาดเดิม และขยายตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออกสินค้าและบริการของไทยรวม 12 กรอบเจรจา มีทั้งการฟื้นการเจรจา FTA การเปิดเจรจา FTA ใหม่ การเร่งรัด FTA คงค้าง และการอัพเกรด FTA ที่มีอยู่เดิม

สำหรับการฟื้นการเจรจา FTA จะเจรจาไทย-สหภาพยุโรป (อียู) โดยได้มีการศึกษาประโยชน์และผลกระทบใกล้เสร็จแล้ว จะเผยแพร่ได้ปลายเดือนต.ค.2563 และจะเปิดรับฟังความคิดเห็นความพร้อม ท่าทีเจรจาของไทย ตั้งเป้าเสนอคณะรัฐมนตรี ธ.ค.2563 และไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) ที่ประกอบด้วย สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์ ได้ศึกษาประโยชน์และผลกระทบ คาดว่าจะเสร็จและเผยแพร่ช่วงต้นปีหน้า และจะเปิดรับฟังความคิดเห็นเรื่องความพร้อมและการเตรียมการของไทย ส่วนการเปิดเจรจา FTA ใหม่ ได้เตรียมเจรจาไทย-สหราชอาณาจักร (ยูเค) คาดว่าการศึกษาประโยชน์และผลกระทบจะเสร็จและเผยแพร่ช่วงต้นปี 2564 และจะเปิดรับฟังความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมหารือเบื้องต้นกับยูเคเพื่อรวบรวมข้อสรุปเสนอระดับนโยบาย และไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) ซึ่งประกอบด้วย คาซัคสถาน เบลารุส อาร์เมเนีย คีร์กิซสถาน และรัสเซีย ได้ศึกษาประโยชน์และผลกระทบแล้ว คาดว่าจะเสร็จและเผยแพร่ช่วงปลายปี 2564 ขณะเดียวกันจะรับฟังความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และหารือกับ EAEU เพื่อรวบรวมข้อสรุปเสนอระดับนโยบายต่อไป รวมทั้งจะหารือความเป็นไปได้เรื่องการเปิดเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา เดือน ม.ค.2564 เพื่อนำไปสู่การจัดทำเอกสารระบุขอบเขต ความคาดหวัง และข้อบทที่คาดว่าจะบรรจุไว้ในความตกลง FTA เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา พิจารณาในเดือน ส.ค.2564 ว่าจะเปิดการเจรจาหรือไม่

ขณะที่ FTA คงค้าง 3 ฉบับ ที่อยู่ระหว่างการเจรจากับตุรกี ปากีสถาน และศรีลังกา จะเร่งรัดผลักดันให้มีความคืบหน้าและได้ข้อสรุป และจะเดินหน้ายกระดับและปรับปรุงความตกลง FTA กรอบอาเซียน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ FTA อาเซียน-จีน FTA อาเซียน-อินเดีย FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ และ FTA อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เพื่อเปิดเสรีเพิ่มเติมในรายการสินค้าที่ยังไม่ได้เปิดตลาด และยกระดับความตกลงข้อบทต่างๆ ให้ทันสมัย สอดรับกับสภาพแวดล้อมและรูปแบบทางการค้าในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น กฎถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร การอำนวยความสะดวกทางการค้า และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สำหรับการประชุมระดับทวิภาคีและการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้ากับประเทศคู่ค้า เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการค้า และการแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าต่างๆ มีแผนจะประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) กับประเทศคู่ค้า ได้แก่ อาเซียน เช่น กัมพูชา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เอเชีย เช่น จีน บังกลาเทศ มัลดีฟส์ และภูฏาน และภูมิภาคอื่นๆ เช่น รัสเซีย สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) และสหราชอาณาจักร เป็นต้น ทั้งนี้ หากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย จะจัดในรูปแบบการประชุมทางไกล

นอกจากนี้ กรมฯ จะให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่เสียประโยชน์และได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยได้มอบสถาบันวิจัยศึกษาแนวทางการจัดตั้งกองทุน FTA แบบถาวร และจัดรับฟังความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบมาเป็นระยะ โดยตั้งเป้าจะเสนอรายละเอียดการขอจัดตั้งกองทุนต่อคณะทำงานพิจารณาแนวทางกองทุนช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ที่มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ในปลายปี 2563 เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พิจารณาต่อไป การลงนามและเร่งรัดการบังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ขณะนี้สมาชิกได้ยืนยันที่จะลงนามความตกลงในช่วงการประชุมผู้นำ RCEP เดือนพ.ย.2563 ที่จะจัดประชุมผ่านทางไกลตามกำหนดเดิม โดยวิธีการลงนาม ทางเวียดนาม ซึ่งเป็นเจ้าภาพกำลังหาวิธีอยู่ อาจจะเป็นการลงนามวิธีใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ต้องรอดูว่าจะเป็นวิธีการไหน และหลังจากลงนามแล้ว ความตกลงจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่ออาเซียน 6 ประเทศ และคู่เจรจา 4 ประเทศให้สัตยาบัน ซึ่งหลังจากลงนาม กรมฯ จะเดินหน้าเผยแพร่ความตกลง ชี้แจงผลประโยชน์ และการรับมือผลกระทบต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า