SHARE

คัดลอกแล้ว

การเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี ไม่อาจเกิดขึ้นเพียงเพราะประเทศมีอุตสาหกรรมยาที่เข้มแข็ง หรือมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เก่งกาจ แต่มาจากการผลักดันเชิงนโยบาย และการเสริมสร้างความตระหนักรู้ เพื่อออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในการเอื้อให้ผู้คนเกิดพฤติกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ผลการดำเนินงานของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เป็นหลักฐานชั้นดีที่ช่วยพิสูจน์แนวคิดดังกล่าว ทั้งการจัดทำโครงการให้ความรู้ การโฆษณา และการสื่อสารรณรงค์ด้านสุขภาพต่างๆ ที่พยายามปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย สอดรับกับความท้าทายใหม่ๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นโจทย์ที่ยากขึ้น แต่ผลลัพธ์จากหลายโครงการก็เป็นที่ประจักษ์ และทำให้สสส. กลายเป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินการมานานถึง 22 ปี

การร่วมกันประกาศ ปฏิญญากรุงเทพฯ (INHPF Bangkok Declaration) ของ 8 องค์กรสมาชิกจาก 6 ประเทศ ในการประชุมเครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2566 (The 20th International Network of Health Promotion Foundations (INHPF) Annual Meeting 2023) จัดขึ้นโดยสสส. และ เครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ (INHPF) ก็นับเป็นหมุดหมายใหม่ ที่จะช่วยตอกย้ำถึงความเข้มแข็งของเครือข่าย และความตั้งใจที่จะส่งเสริมสุขภาวะอย่างเป็นธรรมแก่คนทุกกลุ่มต่อไป

ดร. สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. เผยว่า การประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ มีเป้าหมายในการยกระดับการสร้างเสริมสุขภาพ โดยเรียกร้องให้องค์กรสมาชิกของเครือข่ายฯ ระดมทรัพยากรขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างสุขภาพอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน รวมทั้งแบ่งปันแนวทางปฏิบัติ เพื่อสร้างเสริมความรู้ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงาน รวมถึงสานต่อพลังความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ

“เราได้เสนอข้อเรียกร้องต่อองค์กรภายใต้สหประชาชาติ ให้ร่วมสนับสนุนความพยายามในการระดมทรัพยากรและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และความเข้มแข็งของธรรมาภิบาลด้านสุขภาวะ ที่จะเอื้อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังเชิญชวนให้รัฐบาลประเทศต่างๆ พัฒนาแผนงานด้านสุขภาวะแบบบูรณาการ ซึ่งหมายถึงการทั้งผลักดันกฎหมาย สนับสนุนทรัพยากรและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างและขยายระบบสวัสดิการสังคม นอกนี้ยังกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ประสานการดำเนินการข้ามภาคส่วน ส่งเสริมกลไกการเงินการคลังที่ยั่งยืน เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะในทุกระดับที่เป็นธรรม”

ด้าน นพ. อเลสซานโดร ดีเมโย ประธานเครือข่าย INHPF และผู้จัดการกองทุน สสส. แห่งรัฐวิกตอเรีย ออสเตรเลีย กล่าวถึงแนวทางการรณรงค์สังคมต่างๆ ของ สสส. ว่าเป็นตัวอย่างการดำเนินงานที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การรณรงค์เพื่อลดการบริโภคสุราและยาสูบ หรือการปรับพฤติกรรมขยับร่างกายระหว่างวัน และการรับประทานอาหาร กองทุนสสส. ออสเตรเลียเองก็ได้เรียนรู้แนวคิดการทำงาน และได้นำประสบการณ์การทำงานของสสส. ไทยมาประยุกต์ใช้ เพื่อหวังผลในการลดอัตราการบริโภคสุราและยาสูบในออสเตรเลียด้วย

การที่เครือข่าย INHPF ได้ประกาศเจตนารมณ์ปฏิญญากรุงเทพฯ ถือเป็นการตอกย้ำความร่วมมือระหว่าง 8 องค์กรสมาชิกจาก 6 ประเทศ เพื่อประกาศจุดยืนของเครือข่ายฯ ในการสร้างเสริมสุขภาวะอย่างเท่าเทียม โดย มาร์ค ทัวฮี ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งแคว้น ควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย – Health and Well-being Queensland, Australia ซึ่งเพิ่งเข้าร่วมเครือข่ายเป็นปีแรก ให้ความเห็นไว้ว่า ที่จริงแล้วกองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งแคว้นควีนส์แลนด์ ได้รับแรงบันดาลใจและต้นแบบแนวคิดมาจาก สสส. ไทย ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคอ้วนด้วยภาวะโภชนาการที่ดี การออกกำลังกาย และการพัฒนาสุขภาวะในภาพรวม เพื่อลดภาระของระบบสาธารณสุข ด้วยการลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ

“การได้เห็นองค์กรสมาชิกเครือข่ายอื่นๆ ที่มองเห็นความสำคัญของการป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ NCDs และการใช้แนวคิดใหม่ๆ รวมถึงนวัตกรรม ทำให้ทางกองทุนฯ รู้สึกยินดีที่ได้เข้าร่วมกับเครือข่าย INHPF เพื่อร่วมกันสร้างสังคมโลกที่มีสุขภาวะที่ดี และจะนำองค์ความรู้ที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ไปประยุกต์ที่แคว้นควีนส์แลนด์ โดยเฉพาะในการลดปัจจัยเสี่ยงโรค NCDs ต่อไป”

นอกจากจะมีการประกาศปฏิญญาแล้ว ภายในงานยังมีกิจกรรมและเวทีเสวนา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินการ รวมถึงแนวคิดการออกแบบโมเดลการส่งเสริมสุขภาวะจากเครือข่ายสมาชิกประเทศต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ ราชอาณาจักรตองงา ประเทศหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ระหว่างประเทศนิวซีแลนด์และรัฐฮาวายของสหรัฐอเมริกา ที่ได้ส่งตัวแทนอย่างโอฟีนา ฟิลิโมเอฮาลา ผู้จัดการกองทุนสร้างเสริมสุขภาพแห่งตองงา (TongaHealth) มาเล่าเรื่องราวการก่อตั้งกองทุน รวมถึงการดำเนินงานเพื่อจัดการและป้องกันโรค โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ NCDs ที่นับเป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่

“TongaHealth เป็นองค์กรเล็กๆ จากประเทศหมู่เกาะ เรารู้สึกเป็นเกียรติมาก ที่ได้เข้าร่วมประชุมสำคัญนี้ที่ประเทศไทย ในฐานะสมาชิก ทาง TongaHealth มองสสส.เหมือนเป็นองค์กรรุ่นพี่ ที่คอยสนับสนุนด้านองค์ความรู้ และแบ่งปันประสบการณ์อยู่เสมอ โดยที่ผ่านมาก็ได้รับความช่วยเหลือจากสสส.ไทย ทั้งในด้านการดำเนินงานลดปัจจัยเสี่ยง NCDs และด้านนวัตกรรมการเงินการคลัง ก่อนจะนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

การประชุมเครือข่ายกองทุนสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2566 โดยนอกจากจะมีตัวแทนจากหน่วยงานสมาชิก ยังมีตัวแทนพันธมิตรผู้เข้าร่วมฟังกว่า 300 คนจากนานาประเทศ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญในการหารือและร่วมมือกัน เพื่อผลักดันและมองหาวิธีรับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย โดยมีเป้าหมายเป็นสุขภาวะที่ดีของประชาชน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า