SHARE

คัดลอกแล้ว

การออกมาประกาศยุติบทบาทนักแสดงของ ‘บรูซ วิลวิส’ นักแสดงฮอลลีวูดวัย 64 ปี สร้างความแปลกใจบรรดาแฟนคลับ และทุกคนจับจ้องไปที่ประเด็นการยุติบทบาทนักแสดง ซึ่งป่วยและตรวจพบอาการของโรค อะเฟเซีย (Aphasia) หรือภาวะสูญเสียการสื่อความ 

ทำความรู้จัก โรคอะเฟเซีย (Aphasia)

ข้อมูลจากคลินิกฝึกพูด รามาธิบดี  ระบุว่า โรคอะเฟเซีย เป็นภาวะผิดปกติของสมองซีกซ้าย ซึ่งเป็นสมองซีกที่ควบคุมเกี่ยวกับภาษาและทักษะต่างๆ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านการพูด การออกเสียงพูด หรือความเข้าใจภาษา ภาวะเสียการสื่อความไม่ได้จำกัดอยู่ที่การพูดและฟังเท่านั้น มันรวมถึงการอ่าน การเขียน และการพิมพ์ด้วย ภาวะนี้ทำให้ไม่สามารถอธิบายหรือสื่อสิ่งที่ต้องการออกมาได้อย่างถูกต้อง การตอบสนองอาจผิดพลาดความผิดปกติของไวยากรณ์ในภาษาทำให้การเรียงลำดับและการจัดรูปประโยคผิดได้ หรือพูดคำที่ไม่มีความหมายเลย มีความผิดปกติในการใช้ภาษา ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน พูดลำบาก พูดได้ช้า พูดเป็นประโยคสั้น ๆ เป็นภาษาโทรเลข

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอะเฟเซีย มาจาก 4 สาเหตุใหญ่คือ

  • เส้นเลือดในสมองอุดตัน ตีบ หรือแตก
  • เนื้องอกในสมอง
  • ติดเชื้อในสมอง
  • การบาดเจ็บที่กระทบกระเทือนถึงสมอง

โรคอะเฟเซีย มีอาการที่แตกต่างกันไปหลักมี 4 แบบใหญ่ๆ คือ บกพร่องด้านความเข้าใจ, การพูด, การพูดทวนซ้ำ บกพร่องทั้งด้านการพูดและการทำความเข้าใจ

แบบที่สามารถสื่อสารได้ (Wernicke’s Aphasia) อาการนี้เกิดจากส่วนกลางของสมองซีกซ้ายได้รับความเสียหาย ผู้ป่วยพูดได้ปกติ แต่ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด ไม่สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง มีแนวโน้มที่จะพูดประโยคยาว ๆ หรือประโยคที่ซับซ้อนติดต่อกันโดยไม่มีความหมาย หรือใช้คำไม่ถูก และไม่ทราบว่าผู้อื่นไม่เข้าใจ

แบบที่ไม่สามารถสื่อสารได้ (Broca Aphasia) อาการนี้เป็นผลมาจากส่วนหน้าของสมองซีกซ้ายได้รับความเสียหาย ส่งผลให้มีปัญหาด้านการสื่อสารโดยเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสารได้ดีกว่าการพูดสื่อสารออกไป ผู้ป่วยจะสื่อสารได้แค่ประโยคสั้น ๆ พูดไม่จบประโยค และไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นสื่อสารได้ทั้งหมด

แบบ Conduction คือ ผู้ป่วยมีความเข้าใจและสามารถใช้ภาษาได้ดีทั้งการพูด และการเขียน แต่ไม่สามารถพูดตามได้หรือหากพูดตามจะพูดผิด

แบบ Global อาการนี้เป็นผลจากสมองซีกซ้ายได้รับความเสียหายทั้งส่วนหน้าและส่วนกลาง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปัญหาทั้งการสื่อสารและการรับสาร ไม่สามารถอ่านหรือเขียนได้ มีอาการของภาวะบกพร่องทางการสื่อความแบบที่สามารถสื่อสารได้และไม่ได้รวมกัน

ศูนย์ข้อมูลสุขภาพพบแพทย์ อธิบายว่า ภาวะบกพร่องทางการสื่อความเป็นผลมาจากการที่สมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้ภาษาได้รับความเสียหาย ทำให้การลำเลียงเลือดเข้าสู่ในบริเวณดังกล่าวถูกขัดขวางจนทำให้เนื้อสมองตายในที่สุด ภาวะอะเฟเซีย อาจเกิดขึ้นได้อย่างกะทันหัน หลังเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ภาวะสมองขาดเลือด การได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะหรือการเข้ารับการผ่าตัดสมอง นอกจากนี้ยังพบว่าในบางรายอาการอาจจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยสาเหตุอาจมาจากเนื้องอก การติดเชื้อในสมอง โรคทางระบบประสาท หรือภาวะเสื่อมถอยของสมองอย่างโรคสมองเสื่อม

ในการวินิจฉัยโรค แพทย์จะตรวจร่างกาย ระบบประสาท การไหลเวียนของโลหิตบริเวณคอ และสังเกตการกลืนอาหารเพื่อทดสอบความผิดปกติของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและลำคอด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และเครื่อง MRI ซึ่งจะช่วยให้แพทย์เห็นถึงความรุนแรงและจุดที่ได้รับความเสียหายในสมองของผู้ป่วย

โรคอะเฟเซียทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และพฤติกรรม เช่น

  • มีอาการซึมเศร้า แยกตัว
  • ช่วงความสนใจสั้น
  • ร้องไห้ง่าย หงุดหงิดง่าย
  • รู้สึกผิดหรือรู้สึกเป็รภาวระ
  • คับข้องใจเนื่องจากสื่อสารลำบาก

การรักษาโรคอะเฟเซีย

แพทย์จะรักษาด้วยวิธีการบำบัดทางการพูดและภาษาเป็นหลัก เพื่อฟื้นฟูความสามารถด้านการใช้ภาษาและเสริมทักษะการสื่อสาร เริ่มจากการประเมินสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย วัดระดับความผิดปกติของการใช้ภาษา และทักษะทางสังคม จากนั้นเข้ารับการบำบัดจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญโดยแพทย์จะฝึกหรือทบทวนการใช้คำ ใช้ประโยคที่ถูกต้อง การพูดทวน และการถามตอบที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย รวมทั้งมีการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้คำศัพท์และเสียงของคำต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร เข้าร่วมบทสนทนา สื่อสารได้เมื่อถึงเวลาของตนเอง เข้าใจในข้อผิดพลาดทางการใช้คำและแก้ไขบทสนทนาที่ผิดพลาดนั้นได้

หลังได้รับการบำบัดอย่างต่อเนื่องอาการของผู้ป่วยจะค่อย ๆ ดีขึ้น จากการศึกษาแพทย์ระบุว่า การบำบัดจะได้ผลที่ดีที่สุดเมื่อเริ่มทันทีหลังร่างกายและสมองเริ่มฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บจนอยู่ในอาการที่ปลอดภัย ในบางรายอาจมีการใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย

โรคอะเฟเซียป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่สร้างความเสียหายต่อสมอง และดูแลสุขภาพของสมอง เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, รับประทานอาหารที่มีโซเดียมและไขมันต่ำ, งดการสูบบุหรี่, งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมระดับความดันโลหิตและไขมันในเลือด สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนโลหิต ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

4 วิธีสำหรับการสื่อสารกับผู้ป่วยโรคอะเฟเซีย

  • ต้องพูดสั้นๆ เข้าใจง่าย
  • รอคอยไม่เร่งเร้า
  • ตัดสิ่งรบกวนขณะสื่อสาร เช่น ปิดทีวี ปิดเพลง
  • ใช้ท่าทาง การเขียน หรือรูปภาพประกอบการสื่อสาร

 

ที่มา : ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทยข้อมูลสุขภาพ | พบแพทย์คลินิกฝึกพูด รามาธิบดี Rebrain กายภาพบำบัดโรคหลอดเลือดสมอง รักษาที่บ้าน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง ‘บรูซ วิลวิส’ ประกาศยุติบทบาทนักแสดง หลังป่วยเป็นโรคอะเฟเซีย หรือภาวะสูญเสียการสื่อความ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า