SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติเห็นชอบในหลักการ ดำเนินการให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ‘อนุทิน’ เผย สธ.เตรียมตั้งคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ กำหนดแผนตั้งเป้าในปีนี้ ประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตตามปกติแบบ New Normal ได้

วันที่ 27 ม.ค. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวระหว่างการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ครั้งที่ 1/2565 ว่า แนวทางการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุขในระยะต่อไปจะดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ปรับปรุงมาตรการเพื่อให้ประชาชนกลับไปใช้ชีวิตและประกอบอาชีพได้ เชื่อว่าประชาชนเฝ้ารออยู่โดยเห็นได้จากที่กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอต่อ ศบค. ให้เปิดลงทะเบียนการเข้าประเทศแบบ Test&Go อีกครั้งก็ได้รับคำชื่นชมและคำขอบคุณจากผู้ประกอบการอย่างมาก และทุกฝ่ายยินดีที่ปฏิบัติตามมาตรการของทางการ เข้าใจว่าการประกอบธุรกิจในระยะต่อไปจะต้องเป็นไปแบบ New Normal

รมว.สาธารสุข กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบแนวทางการพิจารณาให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น (endemic disease) โดยมีหลักเกณฑ์และค่าเป้าหมาย เช่น ผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 ราย/วัน อัตราป่วยตาย น้อยกว่าร้อยละ 0.1 การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่าร้อยละ 10 และประชาชนมีภูมิต้านทานเพียงพอ กลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรงได้วัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่าร้อยละ 80 เป็นต้น ซึ่งหากสถานการณ์เหมาะสมและเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนด กระทรวงสาธารณสุขจะมีการประกาศแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

นอกจากนี้ยังเห็นชอบหลักการและแนวทางการดำเนินงานคลินิกวัคซีนผู้ใหญ่ เพื่อให้บริการวัคซีนสำหรับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เพื่อให้บริการวัคซีนโควิด และวัคซีนในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่มีความจำเป็น

  • นิยามคำว่า โรคประจำถิ่น

ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โดยหลักการคำว่า โรคประจำถิ่น ต้องไม่ค่อยรุนแรง แต่ระบาดได้ มีอัตราตายไม่มาก ยอมรับได้ มีการติดเชื้อเป็นระยะๆ ได้ โรคต้องไม่รุนแรง มีภูมิต้านทานพอสมควร ระบบการรักษาพยาบาลต้องมีประสิทธิภาพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขวางแผนให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นภายในปีนี้

เมื่อถามว่าการจะเข้าสู่โรคประจำถิ่นจำเป็นต้องพิจารณาสถานการณ์จากทั่วโลกหรือต้องรอทางองค์การอนามัยโลกประกาศก่อนหรือไม่

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ตรงนี้เป็นการจัดการบริหารควบคุมโรคภายในประเทศ หากเป็นพวกกฎหมาย กฎเกณฑ์บางอย่างก็ต้องรอองค์การอนามัยโลก การพิจารณาแนวทางเพื่อเข้าสู่โรคประจำถิ่นนั้น เป็นหลักการบริหารจัดการควบคุมโรคของประเทศไทย ซึ่งมีการวางแผนว่าจะจัดการเป็นโรคประจำถิ่นได้กี่เดือน ตัวอย่างเช่น หากกำหนดไว้ 6 เดือนถึง 1 ปี ก็จะมีการกำหนดว่า 3 เดือนแรกทำอย่างไร ซึ่งตรงนี้จะมีการพิจารณาและเสนอแผนอีกครั้ง

ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับแผนการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ในเด็กอายุ 5-11 ปี จำนวนทั้งสิ้น 5.8 ล้านคน ขณะนี้มีวัคซีนไฟเซอร์สูตรสำหรับเด็ก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.ไทย ส่งมอบลอตแรกแล้วเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 จำนวน 3 แสนโดส และจะทยอยจัดส่งต่อเนื่องทุกสัปดาห์ เพื่อเตรียมฉีดให้เด็กจำนวน 2 เข็ม โดยจะเริ่มในกลุ่มเด็กที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ที่รักษาในโรงพยาบาล (Hospital-based vaccination) เพื่อป้องกันเด็กป่วยและบุคลากรทางการแพทย์จากการแพร่
และรับเชื้อ โดยจะเริ่มในวันที่ 31 มกราคมนี้ ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และขยายไปยังเด็กกลุ่มอื่นๆ รวมทั้งให้บริการที่โรงเรียน (School-based vaccination) ในระดับประถมศึกษา สังกัดหน่วยงานรัฐบาลและภาคเอกชน รวมถึงเด็กที่เรียนผ่านระบบ home school ด้วย

ส่วนผู้ที่ต้องได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น จะฉีดให้ตามสูตรที่กำหนด เพื่อให้บริหารจัดการวัคซีนที่มีอยู่ได้ถูกต้อง ยืนยันว่าวัคซีนที่รัฐบาลจัดหามาเป็นวัคซีนที่ดี รวมทั้งได้เตรียมวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไว้ 60 ล้านโดส และไฟเซอร์ อีก 30 ล้านโดส สำหรับเป็นวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 และ 4 โดยในเดือนกุมภาพันธ์ จะเน้นการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 และเข็มกระตุ้นมากขึ้น ส่วนเข็มที่ 4 จะฉีดให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงมาก เช่น บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่มีความจำเป็น จึงขอความร่วมมือช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้มากที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า