Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เคาะยกเลิก RT-PCR ก่อนเข้าไทย ปรับพื้นที่คุมโควิด-19 สีเหลือเป็น 47 จังหวัด เพิ่มเชียงใหม่-เพชรบุรี เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวสีฟ้า ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 2 เดือน และ สงกรานต์ให้เล่นน้ำได้ ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม ขายสุรา

วันที่ 18 มี.ค. 2565 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงผลการประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมว่า วันนี้ที่ประชุมมีการพิจารณาวาระสำคัญทั้งหมด 8 เรื่อง ที่น่าสนใจ คือ

1.แนวทางการรักษาผู้ติดโควิด-19 แบบ เจอ-แจก-จบ ระหว่างวันที่ 1-13 มี.ค. มีจำนวนผู้รับบริการสะสม 207,534 ราย เฉลี่ยต่อวัน 15,964 ราย ส่วนใหญ่ผู้รับยาจะรับยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไข 52% ยาฟ้าทะลายโจร 24% ยาฟาวิพิราเวียร์ 26% สธ.ยืนยันว่าระบบของยังอยู่ได้ ถ้าอาการไม่มาให้ใช้ยาแก้ไข้ แก้ไอ นอกจากนี้ ยังมีการรายงานมาตรา USEP Plus ให้ที่ประชุมรับทราบว่า ผู้ป่วยสีเขียวจะให้รักษาที่บ้าน สถานแยกกักในชุมชน ฮอตพิเทล ซึ่งมีประมาณ 90% ผู้ป่วยสีเหลืองรักษาที่โรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลหลัก มีประมาณ 10% และผู้ป่วยสีแดง รักษาที่โรงพยาบาลหลัก มีจำนวนน้อยกว่า 1%

2. ปรับพื้นที่สถานการณ์และปรับมาตรการป้องกันโควิด-19  ศบค. มีมติปรับระดับพื้นที่ทั่วประเทศ พื้นที่ควบคุม 20 จังหวัด -เฝ้าระวังสูง 47 จังหวัด -นำร่องท่องเที่ยว 10 จังหวัด มีผลตั้งเเต่ 18 มี.ค. 65

– พื้นที่ควบคุม 20 จังหวัด คือ ตาก นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก ระนอง ระยอง ราชบุรี สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์

– พื้นที่เฝ้าระวังสูง 47 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตราด นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุทัยธานี อุบลราชธานี

– พื้นที่สีฟ้า (นำร่องท่องเที่ยว) 10 จังหวัด กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต (จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่)

3.แผนและมาตรการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงแนวทางการปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ที่ประชุมเห็นชอบแผนแผนจัดการโควิดสู่โรคประจำถิ่น 4 ระยะ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในระยะที่ 1 คือระยะที่ต้องต่อสู้ (Combatting) โดยช่วงต้น เม.ย.หากควบคุมป้องกันได้อย่างดี เข้าระยะที่ 2 คือ ระยะทรงตัว และลดลงตามคาดการณ์คือปลาย พ.ค.-มิ.ย. เมื่อถึงวันที่ 1 ก.ค.น่าจะเห็นตัวเลขที่กดลดลงไปได้ ทั้งประเทศต้องช่วยกันกดกราฟลงให้ได้ ซึ่ง ผอ.ศบค.(นายกฯ) ก็เห็นชอบด้วย คือ สิ่งที่ต้องทำแผนด้วยกัน

ส่วนสถานการณ์จริงวันที่ 1 ก.ค.จะเป็นอย่างไร ก็ต้องดูกันไป แต่หากมีการปรับเปลี่ยนจากนี้ ก็ต้องเปลี่ยนแผนด้วย คนกำหนดตัวชี้วัดได้ขึ้นกับประชาชนทั้งประเทศ จัมีมาตรการขึ้นมารองรับ 4 ด้าน คือ ด้านสาธารณสุข ,ด้านการแพทย์ , ด้านกฎหมายและสังคม , ด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์

เป้าหมาย 3 ด้านที่จะเข้าสู่โรคประจำถิ่น คือ

– อัตราการเสียชีวิตไม่เกิน 0.1%
-ความครอบคลุมของวัคซีนเข็มกระตุ้นมากกว่า 60% เพราะเข็มแรกเข็มสองเกิน 60% แล้ว แต่เข็มกระตุ้นยังต่ำอยู่ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสูง อย่างผู้สูงอายุ อยู่ที่ 20-30% เท่านั้น บางจังหวัดยังต่ำเป็นหลักหน่วย ต้องขอความร่วมมือกัน
– สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง หลายคนพอเห็นประกาศว่าจะเป็นโรคประจำถิ่น ก็ผ่อนคลายทันทีทันใด จะทำให้เราจะไปไม่ถึงจุดหมายในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า

4. แผนการให้บริการวัคซีน  นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงการฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป 12.7 ล้านคน ได้เข็มแรกและเข็มสองอย่างละประมาณ 10 ล้านคน แต่เข็มสามอยู่ที่ 4.1 ล้านคน เราเข้าเป้าในเข็มแรกเข็มสอง พอเข็มสามอยู่ที่ 32.5% เท่านั้น จึงมีผู้สูงอายุหลักหลายล้านรายยังขาดเข็มกระตุ้นอยู่ ซึ่งก็คือ กลุ่มเสี่ยงทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ คณะกรรมการจึงห่วงใย

ส่วนกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี ยังได้เข็มสองเพียง 0.5% ก็ต้องช่วยกัน หากป่วยต้องนอน รพ.เพราะไม่สมัครใจฉีดวัคซีน ก็จะไปใช้ทรัพยากรเตียง เครื่องช่วยหายใจ มีเท่าไรก็จะไม่พอ การลดป่วยลดตาย ต้องมารับวัคซีน ผู้ที่ยังไม่สมัครใจรับวัคซีนขอให้เปลี่ยนใจเดี๋ยวนี้เลย

หลายประเทศที่รับวัคซีนสูงๆ เปิดประเทศได้ ก็เพราะรับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทำให้สิ่งที่เราจะผ่อนคลายได้มากน้อยขึ้นกับปริมาณการฉีดวัคซีนด้วย หากเข้าถึง(ฉีดวัคซีน) เร็วก็ปรับเปลี่ยน (ผ่อนคลาย)ได้เร็ว ข้อมูลพบว่า สูงอายุยังไม่ได้รับวัคซีน 2.17 ล้านคน ซึ่งกลุ่มสูงอายุที่เสียชีวิตสูง เป็นกลุ่มไม่ได้รับวัคซีน ถ้าลูกหลานจะกลับสงกรานต์ หากพ่อแม่ปู่ย่าตายายยังไม่รับวัคซีน ต้องไปพูดคุยทำความเข้าใจ และหากรับวัคซีนเข็มกระตุ้นพบว่าช่วยลดเสียชีวิตลง 41 เท่า ฉีดวันนี้ก็อาจจะภูมิขึ้นทันในช่วงสงกรานต์ ซึ่งเรามีวัคซีนเหลือเพียงพอ เราตั้งเป้าเข็มกระตุ้นให้ได้ 70% ก่อนสงกรานต์ มีวัคซีนที่ต้องเพิ่มไว้ 3 ล้านโดสเราเตรียมไว้แล้ว

5. ปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าไทย ศบค.มีมติเห็นชอบผ่อนปรนเกณฑ์การตรวจโควิด-19 ไม่ต้องตรวจ RT-PCR ก่อนขึ้นเครื่องเข้าไทย ผู้ที่เดินทางเข้าไทยไม่ต้องตรวจแบบ RT-PCR จากประเทศต้นทาง และเมื่อเดินทางมาไทยแล้วให้ตรวจ RT-PCR ใน DAY 1 และตรวจครั้งที่ 2 ด้วยวิธี ATK ในวันที่ 5 ที่อยู่ในประเทศไทย ส่วนเงินประกันสุขภาพอยู่ที่ 20,000 เหรียญสหรัฐฯ การปรับแนวทางครั้งนี้จะทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกมากขึ้นจะเริ่มต้นวันที่ 1 เม.ย.2565 เป็นต้นไป คือ ยกเลิก RT-PCR  การเดินทางเข้าไทยทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ระบบ Test&Go จะตรวจ RT-PCR วันแรก และตรวจ ATK ตนเองวันที่ 5 ส่วน Sandbox อยู่ในพื้นที่ลดเหลือ 5 วัน ส่วนกรณีต้องกักตัวก็กำหนด 5 วัน และตรวจ RT-PCR วันที่ 4-5 หลังเข้ามา กรณีควบคุมยานพาหนะให้ตรวจ ATK ในวันที่ 5

และที่มีการขอให้เปิดด่านทางบกในวันที่ 1 เม.ย.ที่ จ.สตูล ท่าเรือใน จ.สุราษฎร์ธานี และสนามบินหาดใหญ่ ต้องรอสถานการณ์ดีขึ้นขอให้ทุกจังหวัดที่มีความพร้อมเตรียมการไว้ ในเดือน พ.ค. จะมีการประเมินอีกครั้งเพื่อเปิดด่านในทุกที่

6. มาตราการป้องกันโควิด-19 ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ศบค.มีมติให้สามารถจัดงานเทศกาลสงกรานต์ได้โดยสถานที่จัดงานสงกรานต์ต้องอยู่ในพื้นที่ควบคุมจำกัด อนุญาตให้เล่นน้ำ และจัดกิจกรรมตามประเพณี  เช่น รดน้ำดำหัว สรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ Covid Free Setting  และห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม และห้ามจำหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน

สำหรับมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 ช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีดังนี้

  • ช่วงการเตรียมตัวก่อนร่วมงาน ผู้ที่จะเดินทางกลับภูมิลำเนาและกลุ่ม 608 ต้องได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ขณะเดินทางกลับห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และต้องประเมินความเสี่ยงของตนเอง หากพบว่ามีอาการ หรือมีความเสี่ยง ขอให้หลีกเลี่ยงเข้าร่วมงาน หรือตรวจ ATK ก่อนเดินทางหรือก่อนร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง
  • ระหว่างช่วงสงกรานต์ พื้นที่จัดงานและควบคุม อนุญาตให้เล่นน้ำและจัดกิจกรรมตามประเพณีได้ และต้องปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด ส่วนพื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง และปาร์ตี้โฟมเด็ดขาด ส่วนกิจกรรมในครอบครัว เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มเป็นเวลานาน
  • หลังกลับจากสงกรานต์ให้สังเกตอาการ 7 วัน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรง และผู้ที่ไปพบปะคนจำนวนมาก หากพบว่ามีอาการสงสัยว่าติดเชื้อให้มีการตรวจ ATK  และบางสถานสามารถพิจารณาให้  WFH ให้เป็นไปตามความเหมาะสม

7. ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คราวที่ 17 วันที่ 1 เม.ย. ถึง 31 พ.ค. 2565

8. ผลการดำเนินงานรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า