SHARE

คัดลอกแล้ว

โควิดขาลงติดเชื้อเหลือ 6.54% ฉีดวัคซีนแล้วติดโควิดอาการน้อย กินยาต้านไวรัสเชื้อหวนกลับมากกว่าการไม่ให้ยา แพทย์ตอบ 3 เหตุผลควรกิน-ไม่กิน ยาต้านไวรัส

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะเเพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ว่า สถิติโควิดดีขึ้นอีกตามลำดับ ตัวเลขการตรวจพบเชื้อในผู้สงสัยโควิดลงไปเหลือ 6.54% ถ้าต่ำกว่า 5% ก็จะสบายใจกันได้มากขึ้น

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เปิดเผยว่า มีโอกาสดีได้ไปบรรยายเรื่อง ‘การเตรียมตัวยุคหลังโควิด’ ให้แพทย์และบุคลากรอื่นของโรงพยาบาลหัวหิน คำถามน่าสนใจหนึ่ง คือ บุคลากรที่วัคซีนเต็มแขน หากติดเชื้ออาการน้อยควรกินยาต้านไวรัสไหม ขอตอบดังนี้

1. ยาต้านไวรัสทุกตัว ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของตัวเราในระยะยาวหรือไม่ เพราะยาฆ่าไวรัสได้ด้วยการรบกวนการสร้างสารพันธุกรรมของไวรัสโดยตรง
2. ยาต้านไวรัสไม่ป้องกันการเกิดลองโควิด
3. ยาต้านไวรัสอาจทำให้มีปรากฏการณ์เชื้อหวนกลับ (rebound) มากกว่าการไม่ให้ยา
“หากเป็นตัวผมเองติดเชื้อ (ยังรอดตัวได้อยู่) ถ้าไม่มีอาการรุนแรงที่ทำให้สงสัยปอดอักเสบ จะกินแค่ยาตามอาการ และคอยสังเกตว่ามีสัญญาณเตือนว่าโรครุนแรงหรือไม่ ในระหว่างแยกกักตัวนาน 5-10 วัน” รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุ ใครสนใจการบรรยายฉบับเต็มติดตามชมได้จาก https://onedrive.live.com/?authkey=!AHr3Uf5lH7g1KOU…

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ย้ำว่าการปกป้องจากวัคซีนโควิดที่ไม่ได้หวังกันติดเชื้อสักเท่าไร (จนกว่าจะมีวัคซีนแห่งอนาคตมาให้ใช้) แต่ที่สำคัญคือ กันไม่ให้โรครุนแรงและกันตาย ซึ่งวัคซีนรุ่นเก่าในทุกแพลทฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นเชื้อตาย ใช้ไวรัสอื่นเป็นพาหะ เอ็มอาร์เอ็นเอ และล่าสุด โปรตีนหน่วยย่อย ล้วนแล้วแต่ได้ผลดีทั้งนั้น และมีผลอยู่ได้นาน 6-12 เดือนยกเว้นคนที่มีโรคทางร่างกายทำให้ภูมิคุ้มกันผิดปกติ แต่บางครั้งถ้าไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดไม่ครบ หรือฉีดครบก็แล้วแต่ (โอกาสน้อย) เกิดพลาดพลั้งไปติดเชื้อโอไมครอนแล้วมีอาการรุนแรงหรือเริ่มมีอาการปอดอักเสบ การรีบให้ยาต้านไวรัสโดยเฉพาะ มอลนูพิราเวียร์และแพ็กซ์โลวิด จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ แต่ข้อมูลการศึกษาประสิทธิผลของยานั้นทำมาในยุคที่ยังไม่มีวัคซีนเต็มแขน

ลองดูผลการช่วยปกป้องของยานี้ในยุคปัจจุบัน ว่ายังช่วยให้ทำให้อุ่นใจได้หรือไม่ ทีมนักวิจัยจากอเมริกาได้ทำการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยอายุที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้วแต่ยังเกิดการติดเชื้อ ระหว่างธันวาคม 2564 ถึงเมษายน 2565 เปรียบเทียบคนที่ได้รับการรักษาด้วยยาแพ็กซ์โลวิดตามข้อบ่งชี้ ภายในห้าวันหลังติดเชื้อหรือหลังเริ่มมีอาการจำนวน 1,131 คน กับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาในช่วงเวลาเดียวกันและมีลักษณะทางกายภาพใกล้เคียงกันจำนวน 110,457 คน โดยทำการติดตามผลการรักษาไปนาน 30 วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับยา มีโอกาสโรครุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาลหรือโรคคุกคามชีวิตคิดเป็น 7.87% เทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีโอกาส 14.4% หรือลดลงมาได้ราว 45% ดังรูป (การทดลองยานี้ในยุคยังไม่มีวัคซีนลดได้ราว 89%) ซึ่งน่าจะยังช่วยประหยัดทรัพยากรสุขภาพที่ต้องใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดได้คุ้มกว่าค่ายา
https://academic.oup.com/…/10.1093/cid/ciac673/6672670…

ข้อสังเกตคือ ในอเมริกาเองก็ยังมีการใช้แพ็กซ์โลวิดไม่แพร่หลายนัก คนที่เข้าถึงยาส่วนใหญ่มักเป็นคนผิวขาว คนมีฐานะ และอยู่ในเมืองใหญ่ อีกทั้งผลในคนอายุน้อยกว่า 75 ปีก็ไม่ค่อยดีนักสำหรับในบ้านเรากำลังจะเปลี่ยนนโยบายลดการใช้ยาต้านไวรัสลง โดยถ้าเป็นคนกลุ่มเปราะบางแต่ฉีดวัคซีนครบและอาการไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องได้ยาต้านไวรัสเหมือนก่อน สำหรับการศึกษานี้ไม่ได้กล่าวถึงการหวนกลับมาตรวจพบไวรัส (virologic rebound) หลังกินยาครบ ซึ่งข้อมูลจนถึงปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ว่าพบมากแค่ไหน แต่ที่เจอล้วนแต่ไม่มีผลต่อความรุนแรงของโรคเมื่อตรวจเจอซ้ำ เพียงแต่ทำให้ต้องยืดระยะเวลาแยกกักตัวเพิ่มจากเดิมเท่านั้น ถึงยุคนี้แล้ว ระมัดระวังติดโรคอยู่เสมอ พร้อมรักษาสุขภาพกายให้แข็งแรงและสุขภาพใจให้สดชื่นแจ่มใส น่าจะเป็นเกราะป้องกันโควิดรุนแรงและลองโควิดได้ดี หากพลาดพลั้งไปติดเชื้อแม้ได้รับวัคซีนครบถ้วนแล้วก็ตาม ส่วนใหญ่ไม่ต้องใช้ยาต้านไวรัส

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0Ubom4FKESkgdqyTbbwRHDmUupa7XeiWkmJgQjy6G4x1ftEZv5XdVd9FTfkYhRaFZl&id=100002870789106

workpointTODAY ร่วมกับมูลนิธิฟรีดริช เนามัน ชวนร่วมกิจกรรม Thailand Talks เพื่อพูดคุยกับคนเห็นต่างในหลากหลายประเด็น ตอบคำถามด้านล่างเพื่อลงทะเบียน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า