SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมควบคุมโรค ย้ำฝีดาษลิงไม่รุนแรง สามารถป้องกันได้เมื่อโควิด-19 เผยผลสอบสวนโรคผู้ติดเชื้อรายแรกของไทยที่ภูเก็ต มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย ขอรอ คกก.โรคติดต่อจภูเก็ต ผู้รายงานรายละเอียดหลังมีข่าวผู้จิดเชื้อหนีการรักษาไปแล้ว

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคฝีดาษวานร (Monkeypox) ว่า โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 56 กำหนดอาการสำคัญคือ ไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองบวมโต เจ็บคอ มีตุ่มน้ำหรือตุ่มหนองที่ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศ แขนขา หรือฝ่ามือฝ่าเท้า ดังนั้น คณะกรรมการโรคติดต่อโรคจังหวัด/คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร และเจ้าพนักงานควบคุมโรคต้องทำแผนปฏิบัติการโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์โรคหรือเหตุที่สงสัยอาจเกิดการระบาดขึ้น ทั้งนี้ จ.ภูเก็ตได้ดำเนินการค้นหาและเฝ้าระวังมาต่อเนื่อง

โดยผู้ป่วยรายนี้ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ภูเก็ต เป็นชายชาวไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีอาการต้องสงสัยเข้าได้กับฝีดาษวานร โดยมีตุ่มขึ้นที่ใบหน้า ลำตัว แขนขา และอวัยวะเพศ จึงเก็บตัวอย่างไปส่งตรวจวิเคราะห์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบผลบวกต่อโรคฝีดาษลิง และส่งตรวจยืนยันซ้ำที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันผลตรงกัน ทีมสอบสวนโรคจึงรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยรายนี้ ทั้งทางคลินิก ระบาดวิทยา และผลตรวจห้องปฏิบัติการ เสนอคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ พิจารณาโดยละเอียดและประกาศยืนยันเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ว่าเป็นโรคฝีดาษวานรรายแรกของประเทศไทย โดยเป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกที่มีความรุนแรงน้อย

“จากการสอบสวนโรคผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 2 ราย ที่เป็นเพื่อนของผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการ ส่งตรวจหาเชื้อไม่พบฝีดาษวานร แต่ต้องสังเกตอาการหรือกักตัวเป็นเวลา 21 วัน และค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมในจุดเสี่ยง เช่น สถานบันเทิงที่ไปใช้บริการ นอกจากนี้ทีมสอบสวนยังได้เข้าไปกำจัดเชื้อในห้องผู้ป่วยด้วย” นพ.โอภาสกล่าว

นพ.โอภาสกล่าวว่า ประเทศไทยได้รายงานข้อมูลการพบผู้ป่วยฝีดาษวานรรายแรกไปยังองค์การอนามัยโลกตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ 2548 ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกยังไม่ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับโลก เนื่องจากไม่ได้เข้าเกณฑ์ เรื่อง ความรุนแรงสูง แพร่ระบาดได้ง่าย และต้องจำกัดการเดินทางการค้าระหว่างประเทศ โดยสถานการณ์ระดับโลกตั้งแต่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรรายแรกวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 พบผู้ป่วยเพียง 12,608 ราย กระจาย 66 ประเทศทั่วโลก ไม่ได้เพิ่มขึ้นรวดเร็ว หากเทียบกับโควิดที่ในไม่เวลากี่เดือนพบผู้ติดเชื้อหลักล้านคน สำหรับผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและอเมริกา ข้อมูลทางระบาดวิทยา ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างผู้ป่วย และเชื่อว่าอาจเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ แต่ต้องรอองค์การอนามัยโลกยืนยันข้อมูลก่อน ส่วนการติดทางเดินหายใจไม่ใช่ลักษณะเด่นของโรคนี้

นพ.โอภาสกล่าวว่า คณะกรรมการวิชาการฯ ให้แจ้งเตือนประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่สงสัยมีอาการเสี่ยงให้พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย สถานพยาบาลรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยทางคลินิก ทั้งผู้ป่วยสงสัยหรือผู้ป่วยยืนยัน เพื่อให้องค์การอนามัยโลกรวบรวมข้อมูลในการออกคำแนะนำหรือมาตรการต่อไป มาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ยังใช้ได้กับโรคฝีดาษวานร โดยต้องเน้นล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีตุ่มหนอง ย้ำว่าต้องไม่ตีตราหรือลดทอนคุณค่าผู้ติดเชื้อหรือกลุ่มเสี่ยง ส่วนคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.ให้จัดระบบเฝ้าระวังคัดกรองสถานพยาบาลทุกแห่ง คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ หากพบผู้ป่วยต้องสงสัยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยยืนยันต่อไป การรักษาจะรักษาตามอาการ เนื่องจากยังไม่มียาต้านไวรัสโดยตรง ส่วนวัคซีนที่มีการผลิตและเตรียมใช้มีหลายบริษัท กรมควบคุมโรคสั่งจองเบื้องต้นแล้ว ส่วนวัคซีนเดิม คือ วัคซีนโรคฝีดาษ (smallpox) ที่องค์การเภสัชกรรมเก็บไว้ อยู่ในขั้นตอนที่อาจจะนำมาใช้ได้ ต้องดูตามข้อบ่งชี้ คือ ประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงวัคซีน และประเมินสถานการณ์การระบาด แต่ภาพรวมความจำเป็นการฉีดในวงกว้างยังไม่จำเป็น แต่อาจให้บางกลุ่มเฉพาะ เช่น เจ้าหน้าที่ห้องแล็บที่สัมผัสเชื้อโรค เจ้าหน้าที่การแพทย์และสาธารณสุขดูแลผู้ป่วยใกล้ชิด เนื่องจากข้อมูลวัคซีนเดิมพบผลข้างเคียง ต้องพิจารณาดูผลดีผลเสียและความจำเป็นร่วมด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า