SHARE

คัดลอกแล้ว

ชาวเชียงใหม่ร่วมกันสืบสานประเพณีเลี้ยงดง ล้มควายกินเนื้อเซ่นไหว้ผีกะยักษ์ หรือเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะที่ดูแลรักษาผืนป่าต้นน้ำ ถือเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี

พิธีเลี้ยงดงไหว้ผีปู่แสะย่าแสะ เป็นพิธีกรรมสำคัญทางภาคเหนือ เพื่อถวายเครื่องเซ่นบูชาแก่ผีปู่แสะย่าแสะ หรือที่ชาวบ้านเรียกผีกะยักษ์ และเหล่าผีป่าที่เป็นบริวารอีก 32 ตน เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของผีปู่แสะย่าแสะ และผีป่าบริวาร ที่ปกปักษ์รักษาผืนป่าต้นน้ำบนดอยสุเทพ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล โดยปีนี้จัดบริเวณลานหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย ที่ 4 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับเครื่องเซ่นไหว้บูชาในพิธีประกอบด้วย กระบือรุ่นสีดำ ที่มีลักษณะเฉพาะคือ ความยาวของเขาจะต้องเท่ากับใบหู โดยชาวบ้านจะช่วยกันเชือดกระบือไปวางไว้กลางลานดงที่ประกอบพีธี จากนั้นจะมีพิธีแห่ผ้าบฎ เป็นผืนผ้าที่มีรูปวาดของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปางห้ามญาติ ที่มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี เข้ามาในบริเวณพิธี ก่อนที่จะเชิญวิญญาณผีปู่แสะย่าแสะและผีบริวารลงสู่ร่างทรง เพื่อมารับของเซ่นไหว้ ซึ่งร่างทรงก็จะกินเนื้อและเครื่องในของกระบือสดๆ

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า เหตุผลสำคัญที่การเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะที่ดอยคำของชาวแม่เหียะ ยังคงดำรงอยู่ได้ก็เพราะในอดีตแม่เหียะนับเป็นชนบทที่อยู่ห่างตัวเมืองเชียงใหม่ (แม่เหียอยู่ห่างจากตัวเมืองราว 10 กิโลเมตร) หลังการสิ้นสุดอำนาจเจ้าเมือง อำนาจส่วนกลางก็มิได้เข้ามาก้าวก่ายหรือมีผลมากนักต่อท้องถิ่นที่อยู่ นอกเขตเมือง ปู่แสะย่าแสะยังคงได้รับการบูชาเซ่นสรวงโดยลูกหลานของแสนวิเศษและคนแม่เหียะ ก็เพราะด้วยในสายตาชาวบ้าน ปู่แสะย่าแสะมิได้เป็นเพียงผีเมืองหรือเจนบ้านเจนเมืองเชียงใหม่ ที่ประจำอยู่ ณ จุดหรือตำแหน่งต่างๆ (ดอยคำซึ่งอยู่นอกเมือง) หากแต่ยังเป็นผีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำ ท้องถิ่นแถบชุมชนแม่เหียะที่คอยอำนวยฝนฟ้าเป็นทั้งผีป่าผีขุนน้ำ (ห้วยแม่เหียะ) และคุ้มครองภัยแก่ ชาวบ้าน ดงย่าแสะสถานที่ประกอบพิธีเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ (เลี้ยงดง) อยู่ระหว่างเชิงดอยคำ (ซ้าย) และ ดอยเหล็ก (ขวา) ตามความเชื่อชาวบ้านย่าแสะยืนคร่อมภูเขาสองลูกนี้อยู่ในอิริยาบถยืนคอยจับสิ่ง มีชีวิตที่จะผ่านช่องเขานี้กิน (ก่อนที่จะพบพระพุทธเจ้า)และเมื่อย่าแสะสะบัดกระพือปลายผ้าซิ่นจะ พัดพาเป็นลมฝนสร้างความอุดมสมบูรณ์แก่ชาวบ้าน ตำแหน่งที่ตั้งในการทำพิธีเลี้ยงดงที่ตั้งอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ บริเวณลาน เชิงวัดพระธาตุดอยคำ และบริเวณหมู่ที่ 3 บ้านแม่เหียะใน ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

ขอบคุณข้อมูลจาก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ www.cm108.com

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า