SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ชวนผู้อ่านย้อนวันวาน 10 ปี มองไปในอดีตของประเทศไทย ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลง คงเดิม ดีขึ้น หรือแย่ลงบ้าง

10 ปีที่ผ่าน นายกรัฐมนตรีเปลี่ยนไปแล้ว 4 คน

ย้อนไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว หรือในปี 2552 ในขณะนั้น นายกรัฐมนตรีของไทยคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน แต่หลังการยุบสภาและให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในปี 2554 พรรคเพื่อไทยก็ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้น ได้เสียงพรรคเดียวเกินกึ่งหนึ่งของสภา และส่งให้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อมา

แต่หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่งในปี 2557 นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ก็ขึ้นมาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีรักษาการแทนในช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่จะเกิดเหตุรัฐประหารในวันที่ 22 พ.ค. 2557 และส่งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีมาจนถึงปัจจุบัน

10 ปีผ่านไป ภาพลักษณ์คอร์รัปชั่นของไทย ยังไม่ดีขึ้น

เมื่อ 10 ปีที่แล้วในปี 2549 ไทยถูกจัดอันดับให้มีดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perception Index) อยู่ใน ลำดับที่ 84 จากทั้งหมด 179 ประเทศ ผ่านมา 10 ปี การจัดอันดับล่าสุดในปี 2559 ปรากฏว่าภาพลักษณ์ด้านนี้ของไทยก็ยังไม่ดีขึ้น โดยอยู่ในลำดับที่ 96 จากทั้งหมด 180 ประเทศ ได้คะแนนเพียง 37 คะแนนเต็ม 100 เท่านั้น

10 ปีผ่านไป ตระกูลที่รวยที่สุดในไทยไม่เปลี่ยนแปลง

ตระกูลสิริวัฒนภักดี, เจียรวนนท์, จิราธิวัฒน์ และอยู่วิทยา เป็น 4 ตระกูลที่มีความมั่งคั่งสูงที่สุดในไทยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และในวันนี้ 4 ตระกูลนี้ก็ยังเป็น 4 ตระกูลที่มีความร่ำรวยมากที่สุดในประเทศไทย แม้ลำดับอาจจะมีการสลับกันไปบ้างก็ตาม

โดยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว (ปี 2551) การจัดอันดับของ Forbes ระบุว่า นายเฉลียว อยู่วิทยา ผู้ก่อตั้งกระทิงแดง เป็นบุคคลที่รวยที่สุดในประเทศไทย ตามมาด้วย นายเจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของเบียร์ช้าง, ตระกูลจิราธิวัฒน์ เจ้าของเครือเซนทรัล และ นายธนินท์ เจียรวนนท์และครอบครัว เข้าของเครือซีพี ตามลำดับ

สำหรับการจัดอันดับครั้งล่าสุดในปี 2561 โดยนิตยสาร Forbes ปรากฏว่าตระกูลเจียรวนนท์ ของเจ้าสัวธนินท์ ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 แทน ที่ความมั่งคั่งรวมประมาณ 30,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ตามมาด้วยตระกูลจิราธิวัฒน์ ซึ่งมีความมั่งคั่งรวม 21,200 ล้านดอลลาร์ นายเฉลิม อยู่วิทยา บุตรชายของนายเฉลียวที่เสียชีวิตไปในปี 2555 มีความมั่งคั่ง 21,000 ล้านดอลลาร์ และลำดับที่ 4 คือ นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งมีความมั่งคั่งประมาณ 17,400 ล้านดอลลาร์

20 ปีผ่านไป การแข่งขันในภาคธุรกิจไทยไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง มีเพียงบางอุตสาหกรรมเท่านั้นที่มีการแข่งขันสูงขึ้น

บทความวิชาการเรื่อง “การแข่งขัน ตัวแปรของนวัตกรรมที่หายไป” ซึ่งนำเสนอในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ฉายให้เห็นภาวะการแข่งขันในภาคธุรกิจต่างๆ ของไทยไว้อย่างน่าสนใจ โดยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา การแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมของไทยเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก กล่าวคืออุตสาหกรรมไหนมีการแข่งขันสูงอยู่แล้ว ก็จะมีการแข่งขันสูงต่อไปเรื่อยๆ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่ค่อนข้างผูกขาด ก็จะดำรงความผูกขาดต่อไป

อย่างไรก็ตาม มีบางอุตสาหกรรมเช่นกัน ที่ระดับการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไป เช่น ในธุรกิจการบินเชิงพาณิชย์ ที่มีการเปิดเสรีการบินในช่วงปลายทศวรรษ 2540 ซึ่งทำให้การแข่งขันในธุรกิจการบินสูงขึ้นอย่างมาก หรืออีกอุตสาหกรรมหนึ่งคือวงการโทรทัศน์ ซึ่งหลังจากการประมูลช่องทีวีดิจิตอลในปี 2556 การแข่งขันในธุรกิจทีวีก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

แต่ในภาพรวมแล้วก็ต้องบอกว่า ภาวะการแข่งขันของธุรกิจไทยไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา

10 ปีผ่านไป รายได้เฉลี่ยต่อหัวคนไทย เพิ่มขึ้นเกือบ 50%

ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจไทยจะไม่ได้เติบโตหวือหวา แต่รายได้เฉลี่ยต่อหัวคนไทยก็เพิ่มขึ้นมาตลอด โดยข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าในปี 2559 รายได้ประชาชาติต่อหัวของคนไทยอยู่ที่ 147,088 บาท/คน/ปี (12,257 บาท/เดือน) เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ซึ่งอยู่ที่ 101,787 บาท/คน/ปี (8,482 บาท/เดือน) กว่า 44.5%

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวนี้ยังไม่ได้คิดผลของเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อำนาจซื้อที่แท้จริงของเม็ดเงินในปีหลังๆ ยิ่งลดลง แต่จากตัวเลขที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากก็พอจะอนุมานได้ว่า รายได้ประชาชาติต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้น รวมถึงอำนาจซื้อ (purchasing power) โดยเฉลี่ยของคนไทยก็คงเพิ่มขึ้นด้วย (แม้จะไม่มากเท่า) ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

10 ปีที่ผ่านมา คนจนในไทยลดลงเกินครึ่ง

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งวัดจำนวนคนจนในประเทศไทยด้วย “รายจ่าย” ซึ่งสามารถสะท้อนสะท้อนระดับความภาพชีวิตที่แท้จริงของผู้มีรายได้น้อยได้ดีกว่าการใช้รายได้ ระบุว่าในปี 2551 ประเทศไทยมีคนจน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วหมายถึงผู้ที่มีรายจ่ายต่อเดือนน้อยกว่า 2,172 บาท อยู่ทั้งสิ้นประมาณ 13.11 ล้านคน

แต่จากข้อมูลปี 2560 ซึ่งเส้นความยากจนได้ถูกขยับขึ้นมาเป็น 2,686 บาท/เดือนแล้ว แต่ปรากฏว่าจำนวนคนจนกลับลดลง โดยในปี 2560 ประเทศไทยมีคนจนด้านรายจ่ายเหลือเพียง 5.32 ล้านคน ลดลงจากปี 2551 เกือบ 60%

10 ปีผ่านไป เกษตรกรไทยยังไม่ลดลง

แม้ว่าปัจจุบันภาคเกษตรกรรมจะไม่ได้มีความสำคัญกับเศรษฐกิจไทยมากเท่าในอดีต โดยผลผลิตจากภาคเกษตรคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 8.5% เท่านั้นของ GDP ไทย แต่ภาคเกษตรไทยกลับยังเป็นภาคการผลิตที่รองรับแรงงานจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานนอกระบบ

โดยข้อมูลล่าสุดในปี 2560 ระบุว่า แรงงานในภาคเกษตรของไทยมีทั้งสิ้น 37.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 10 ปีก่อนหน้าเกินกว่า 1 ล้านคน หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นประมาณ 3.6%

โครงสร้างประชาการเปลี่ยน ไทยเดินหน้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุที่เข้มข้นขึ้น โดยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ประเทศไทยมีกลุ่มประชากรที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปคิดเป็นสัดส่วน 10.9% แต่จากข้อมูลล่าสุดในปี 2560 สัดส่วนผู้สูงอายุในไทยเพิ่มขึ้นเป็น 15.8% หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 45% ในช่วงเวลาเพียง 10 ปี

สวนทางกับกลุ่มประชากรวัยเด็กและวัยรุ่น ซึ่ง 10 ปีที่แล้ว ประเทศไทยมีประชากรที่อายุตั้งแต่ 18 ปีลงมาทั้งสิ้น 27.2% แต่ในปี 2560 ประชากรอายุไม่เกิน 18 ปีของไทย ลดสัดส่วนลดลงเหลือเพียง 22.5% เท่านั้น

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า