Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนอาจจะทราบกันบ้างแล้วว่าในปีนี้มีผู้หญิงไทย 3 คน ติดอยู่ใน 100 ผู้หญิงทรงอิทธิพลประจำปี 2563 ซึ่งจัดโดยบีบีซี แต่นอกจากทั้งสามคนนี้แล้ว ผู้หญิงที่บีบีซีคัดเลือกยังมีอีกหลายคนที่น่าสนใจ วันนี้ workpointTODAY จะขอหยิบยกมาให้อ่านกัน

โดยในทุกๆ ปี บีบีซี สื่ออังกฤษ จะเปิดเผยรายชื่อ 100 ผู้หญิงที่สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลของโลก โดยในปีนี้บีบีซีวางกรอบการคัดเลือกเอาไว้ว่า จะต้องเป็นผู้หญิงที่สร้างความแตกต่างได้ ในภาวะที่ทุกคนกำลังเผชิญความยากลำบาก ซึ่งก็ทำให้ผู้หญิงจำนวนหนึ่งที่ได้รับการยกย่อง มีความเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไปโดยปริยาย

ชื่อที่บีบีซีคัดเลือกให้เป็น 100 ผู้หญิงทรงอิทธิพล มีความหลากหลายตั้งแต่นักการเมือง นักกิจกรรมเพื่อสังคม แพทย์ นักวิชาการ ไปจนถึงนักแสดง แต่ทุกคนจะต้องสร้างแรงบันดาลใจหรือมีอิทธิพลในการสร้างความแตกต่าง ตามที่บีบีซีกำหนดกรอบการคัดเลือกเอาไว้ โดยทางบีบีซีได้แบ่งประเภทที่คัดเลือกมาเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1️⃣ กลุ่มความรู้ (Knowledge)
2️⃣ กลุ่มความเป็นผู้นำ (Leadership)
3️⃣ กลุ่มความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
4️⃣ กลุ่มความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (Identity)

สำหรับผู้หญิงไทย 3 คนที่ได้รับการยกย่องในปีนี้ ถูกจัดให้กระจายอยู่ใน 3 กลุ่ม คือ
🎀 รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล อยู่ในกลุ่มความเป็นผู้นำ
🎀 กชกร วรอาคม อยู่ในกลุ่มความคิดสร้างสรรค์
🎀 ซินดี้ สิรินยา บิชอพ อยู่ในกลุ่มความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

🔸 กลุ่มแรกคือกลุ่มความรู้
บีบีซีคัดเลือกผู้หญิงทรงอิทธิพลให้อยู่กลุ่มความรู้มากที่สุดคือ 32 คน แต่ไม่มีคนไทยติดอยู่ในกลุ่มนี้ โดยผู้ที่ได้รับคัดเลือกในกลุ่มความรู้มีความหลากหลายตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ นักการเมือง แพทย์ พยาบาล เป็นต้น ชื่อที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ได้แก่

ลอร์นา เพรนเดอจาสท์ หญิงชาวออสเตรเลียที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นด้วยวัย 90 ปี โดยเธอทำงานวิจัยเกี่ยวกับอาการสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่สามีของเธอป่วย หวังให้เกิดความรู้ความเข้าใจในผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้น

ดร.เลียว ยี-ซิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด ซึ่งทำงานในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมากับการติดเชื้อ HIV โรคซาร์ส จนประสบการณ์เหล่านั้นมีส่วนสำคัญทำให้เธอช่วยสิงคโปร์ควบคุมโรคโควิด-19 โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในชุมชน ซึ่งเคยเป็นปัญหาใหญ่ของสิงคโปร์

🔸 กลุ่มที่สองคือกลุ่มความเป็นผู้นำ
กลุ่มความเป็นผู้นำมีผู้ติดอยู่ในรายชื่อนี้ 29 คน หนึ่งในนั้นคือรุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งจุดกระแสเรียกร้องทางการเมืองไทยครั้งใหญ่ในปีนี้ ซึ่งนอกจากรุ้ง ปนัสยาแล้ว ยังมีนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกหลายคน เช่น แอกเนส โจว นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในฮ่องกงวัย 23 ปี ที่มีบทบาทต่อสู้มาตั้งแต่การชุมนุมที่เรียกว่าการปฏิวัติร่ม เมื่อปี 2557 จนในปีนี้ผู้สนับสนุนการชุมนุมในฮ่องกงตั้งสมญานามให้เธอเป็น “มู่หลาน” ฮีโร่ในตำนานจีนที่กล้าออกมาต่อสู้เพื่อชาติและครอบครัว

รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล

นักเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกคนที่ติดโผนี้คือ สเวียตลานา ชีคานอฟซายา นักการเมืองฝ่ายค้านของเบลารุส ซึ่งกำลังมีการประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก ซึ่งอ้างว่าชนะเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อเดือนสิงหาคม ก่อนจะมีสัญญาณความรุนแรงมากขึ้น จนสเวียตลานาต้องลี้ภัยทางการเมืองไปลิทัวเนียเพื่อความปลอดภัยของลูก และเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในต่างแดนแทน

🔸 กลุ่มที่สามคือกลุ่มความคิดสร้างสรรค์
กลุ่มความคิดสร้างสรรค์มีผู้หญิงทรงอิทธิพลอยู่ในกลุ่มนี้ 21 คน หนึ่งในนั้นคือกชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกที่คำนึงถึงการออกแบบพื้นที่เมืองให้ตอบสนองกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งนอกจากกชกรแล้ว ยังมีนักคิด นักเขียน และนักแสดงอีกหลายคนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น มิเชล โหย่ว นักแสดงระดับฮอลลีวู้ดสัญชาติมาเลเซีย ที่มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นสาวบอนด์ ในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ ก่อนจะโลดแล่นในฮอลลีวู้ดมาอย่างยาวนาน พร้อมๆ กับการแสดงพลังเคลื่อนไหวถึงปัญหาที่คนเอเชียอาจไม่ได้รับโอกาสในพื้นที่การแสดงระดับโลกมากเท่าที่ควร

กชกร วรอาคม

ส่วนอีกคนที่น่าสนใจคือคาเรน โดววา ผู้หญิงคนนี้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพชื่อ No Isolation ที่ตั้งใจนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาความโดดเดี่ยวที่อาจเกิดกับเด็กหรือผู้สูงอายุ

🔸 กลุ่มที่ 4 คือกลุ่มความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
กลุ่มนี้ซินดี้ สิรินยา บิชอพ นักแสดงและนางแบบของไทยได้รับการยกย่องรวมกับผู้หญิงรวม 17 คน โดยซินดี้ได้รับเลือกจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศ โดยเฉพาะการเริ่มรณรงค์ผ่าน #DontTellMeHowToDress เมื่อ 2 ปีก่อนที่มีส่วนเปิดประเด็นทัศนคติของสังคมเกี่ยวกับการแต่งกายของผู้หญิง

ซินดี้ สิรินยา บิชอพ

นอกจากซินดี้แล้วยังมีนักเคลื่อนไหวอย่างอาลิเซีย การ์ซา ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มการรณรงค์ Black Lives Matter ซึ่งจุดกระแสเป็นการประท้วงใหญ่ในสหรัฐฯ และหลายประเทศในปีนี้ รวมทั้งลาเลห์ ออสเมนี หญิงชาวอัฟกานิสถานที่กล้าลุกขึ้นมาต่อสู้กับสิทธิในการใช้ชื่อของตัวเองผ่านแคมเปญ WhereIsMyName หลังจากที่ผ่านมาผู้หญิงอัฟกานิสถานถูกจำกัดสิทธิถึงขั้นที่แม้แต่ชื่อของตัวเองยังแทบไม่สามารถใช้ได้ในที่สาธารณะ ต้องใช้ชื่อของผู้ชายเช่นพ่อ ในการติดต่อสื่อสารกับคนอื่น

บีบีซีใช้วิธีการคัดเลือกผู้หญิง 100 คนจากทั่วโลกจากการให้เครือข่ายของบีบีซีซึ่งมีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกเสนอชื่อบุคคลที่มีความเหมาะสม โดยเน้นย้ำว่า ไม่จำเป็นที่ทุกคนจะต้องมีบทบาทถึงขั้นเป็นข่าวใหญ่โต แต่หากเป็นผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชนก็สามารถเสนอชื่อได้ จากนั้นจะมีคณะกรรมการมาพิจารณาชื่อต่างๆ อีกครั้ง โดยนอกจากทั้ง 4 กลุ่มนี้ ซึ่งมีผู้หญิง 99 คนที่บีบีซีคัดเลือกให้เป็นผู้หญิงที่สร้างแรงบันดาลใจและทรงอิทธิพลแห่งปี บีบีซียังเหลือพื้นที่ผู้หญิงอีก 1 คนว่างเอาไว้ โดยระบุว่า ต้องการให้ผู้อ่านนึกถึงผู้หญิงที่ตัวเองรู้จักที่กำลังทำงานหรือเสียสละเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสังคม

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า