Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“คืนที่ผมดูเรื่อง La Dolce Vita ครั้งแรก เรื่องนี้สร้างโดยเฟลลินีปี 1960 คือผมก็เกิดหลังจากนั้นน่ะครับ แต่ดูเรื่องนี้ปี 1970 ตอนนั้นผมหลงรักมันทันที” โลเรนโซ กาลันตี (H.E. Mr.Lorenzo Galanti) เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์  workpointTODAY  ระหว่างงานแถลงข่าว ‘อิตาเลียน ฟิล์มเฟสติวัล บางกอก 2020’ ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตอิตาลี ถนนสีลม

ภาพยนต์เรื่องโปรดของท่านเอกอัครราชทูต เป็นผลงานชิ้นเอกของ “ฟรานเชสโก เฟลลินี” ผู้กำกับภาพยนต์อิตาเลียนชื่อก้องในยุคทองของโลกจอเงินอิตาลีปี 1960-1970 ปีนี้เป็นปีครบรอบ 100 ปีชาติกาลของเขา และกรุงเทพฯ จะกลายเป็นเมืองแรกและเมืองเดียวที่มีนิทรรศกาลเนื่องในโอกาสนี้เฉลิมฉลองพร้อม ๆ กับอิตาลี

โลเรนโซ กาลันตี (H.E. Mr.Lorenzo Galanti) เอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย

 

“La Dolce Vita ฉายภาพให้เห็นความกระฉับกระเฉง ความสดชื่นของโรม เป็นเหมือนงานบันทึกว่าโรมสวยงามแค่ไหนผ่านความสวยงามของการแสดงที่ตัวละครหลักที่วาดการแสดงออกมา มาร์เชลโล มาสโตรยานนี นักแสดงหลักเขางดงามมากจริง ๆ มีพลังงานเยอะมาก ผมเหมือนต้องมนต์ และรู้สึกมหัศจรรย์ใจที่เฟลลินีสามารถถ่ายทอดช่วงเวลานั้นของอิตาลีออกมาในเวอร์ชันของตนเองได้อย่างสวยงาม”

เฟลลินี : บิดาแห่งภาพยนต์อิตาเลียน

“ในอนาคตเราจะหวนกลับมามองเฟลลินีเหมือนกับที่คนปัจจุบันมองลีโอนาโด ดาร์วินชี เพราะเขามีวิธีคิดที่สร้างสรรค์และแปลกใหม่ในการมองความจริง” เปาโล ยูรอน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุนทรียศาสตร์ อดีตอาจารย์ภาควิชาอิตาเลียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของเฟลลินี “เขาเป็นหนึ่งในภาพแทนของศิลปินอิตาเลียนเลยนะ ไม่ใช่แค่ในฐานะคนทำหนังแต่ในฐานะศิลปิน

“ตอนนี้เฟลลินีกลายเป็นคำคุณศัพย์ (adjective) ด้วยนะ คำว่า fellinian กลายเป็นอะไรก็ตามที่ดูเหมือนหนังของเฟลลินี บางทีเขาก็แสดงความเป็นลักษณะแบบอิตาเลียน อิตาเลียนสไตล์ เพราะเขามีความเฉพาะตัวแต่ในขณะเดียวกันเขาก็นำเสนอภาพของอิตาลีด้วย”

มาร์โก กัตตี อาร์ตไดเรกเตอร์ประจำงาน

ภาพความผสมปนเปกันระหว่างความจริงความฝัน ความเซอร์เรียลแบบ Neorealist กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่เฟลลินีรังสรรค์ไว้ เอกอัครราชทูตอิตาเลียนประจำประเทศไทยบอกเราว่าท่าทีกึ่งจริงกึ่งฝันทำให้หลายครั้งภาพยนต์ของศิลปินในตำนานคนนี้ใช้ภาพยนต์แตะสิ่งที่ไม่สมควรจะแตะได้อย่างง่ายดาย 

เขาเป็นอัจฉริยะ เป็นคนนึงที่สามารถแปรประวัติศาสตร์อิตาเลียนออกมาได้ เขาเกิดปี 1920 จนกระทั่งปี 1943 เขาก็ต้องผ่านยุคฟาสซิสม์ พอหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจของอิตาลี ในหนังของเขาเขาอธิบายเรื่องการเปลี่ยนผ่านนี้ได้หมดเลยโดยไม่สอดแทรกการเมือง ตัวเฟลลินีเองกล่าวว่าเขาแยกตัวเองออกจากการเมือง (apolitical) แต่จริง ๆ เขาแตะประเด็นที่เซนซิทีฟต่าง ๆ ของอิตาลีหลายประเด็นผ่านตัวละคร เช่น บทบาทขององค์กรคาธอลิก แต่สิ่งที่เขาแสดงออกมานั้นเรียบเรียงเหมือนบทกวี สอดแทรกความตลกบ่อยครั้ง นอกจากนี้ก็มีการสอดแทรกความสัมพันธ์ของเขากับสาว ๆ ด้วย เขาเป็นคนที่ตกหลุมรักอยู่ตลอดเวลา ผู้หญิงกลายเป็นคอนเซปที่เขาหยิบมาใช้อ้างอิงเข้าไปในงานศิลปะบ่อยครั้ง ใน Book of Dreams เองก็เหมือนกัน นอกจากนี้เขาก็เป็นแฟนประจำของการแสดงละครสัตว์ เขาใช้ชีวิตด้วยความรื่นรมย์ และเป็นคนที่ดราม่าเก่งมาก แต่เขาก็ใช้ชีวิตด้วยความสนุกสนานรื่นรมย์ นี่คือสิ่งที่ผมชอบในตัวเขา

100 ปี ชาตกาลฟรานเชสโก้ เฟลลินี ในกรุงเทพ

สถานเอกอัครราชทูตอิตาลีประจำประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิเฟลลินี อิตาลี, โรงภาพยนต์เฮาส์ สามย่าน สนับสนุนโดยบริษัทเจนเนอราลี่ประเทศไทย จัด Italian Film Fest Bangkok  ฉายภาพยนต์อิตาลี ตลอดวันที่ 16-25 ตุลาคม 2563 ประกอบกับนิทรรศการรำลึก 100 ปีชาตกาลของผู้กำกับภาพยนต์ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของชาวอิตาเลียน

“ตอนนี้กรุงเทพเป็นเมืองเดียวในโลกที่จัดงานครบรอบ 100 ปีเฟลลินีได้ ทั้งที่จริง ๆ แล้วเทศกาลนี้ในอิตาลีมีการเตรียมตัวกันมานานมาก เฟลลินีมีความหมายกับวัฒนธรรมของคนอิตาเลียนมาก นี่ก็เลยเป็นอีเวนต์ที่ใหญ่มาก” อาจารย์เปาโลกล่าว

“ผมหวังว่าผู้ชมงานนี้จะได้เห็นภาพร่วมสมัยหรือมิติใหม่ ๆ ของอิตาลี หนังใหม่ ๆ ดัง ๆ ของเราใน 2 ปีมานี้ เช่นเรื่องพิน็อกคิโอ ที่เป็นวรรณกรรมอิตาเลียนระดับโลก ซึ่งเป็นการแปลความจากวรรณกรรมมาเป็นภาพยนต์ นอกจากนี้ก็มีเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นภาพยนต์ร่วมสมัยด้วย”  ผู้เชี่ยวชาญด้านสุรียศาสตร์ชาวอิตาเลียนแนะนำ 

เปาโล ยูรอน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุนทรียศาสตร์ อดีตอาจารย์ภาควิชาอิตาเลียนคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“นอกจากนี้ผมก็อยากเชิญชวนให้คนไทยรู้จักอิตาลีมากขึ้น จากที่เคยรู้แค่อาหาร วิวทิวทัศน์ต่าง ๆ รู้จักคนอิตาเลียน รู้จักประวัติศาสตร์ คราวนี้อยากให้รู้จักเฟลลินีที่เป็นผู้สร้างภาพยนต์ที่หยิบเอาเรื่องของความจริงมาเล่นกับความฝัน เอาความฝันมาพิสูจน์ความจริง แล้วคุณก็จะเห็นว่าศิลปะสร้างอะไรได้บ้าง ทั้งสร้างความจริงและสร้างคน”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า