Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ แนะผู้สูงอายุควรหมั่นออกกำลังกายสมอง เพื่อกระตุ้นการทำงานด้วยวิธีปรับความเคยชินจากสิ่งเดิมๆ หากเดินทางให้บริหารสมอง หรือแม้แต่ขณะทำงาน เพื่อป้องกันสมองเสื่อม

วันที่ 23 ก.ค.2562 นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โดยปกติเซลล์ประสาทของมนุษย์มีการเจริญเติบโตจนถึงอายุ 5 – 6 ปี หลังจากนั้นจะไม่มีการเพิ่มจำนวนของเซลล์ประสาท แต่สามารถเพิ่มจำนวนของแขนงเซลล์ประสาทได้ตลอดชีวิต ทำให้มีการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทมากขึ้น แขนงเหล่านี้ทำหน้าที่ในการรับและส่งสัญญาณประสาทไปยังเซลล์ต่างๆ รอบเซลล์ประสาทเพื่อให้การทำงานของสมองเป็นไปตามปกติ การเพิ่มจำนวนของแขนงเซลล์ประสาทเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ ถ้าเรามีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากขึ้น จะมีการแตกแขนงของเซลล์ประสาทมากขึ้น ถ้าเรามีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ทำอะไรซ้ำซาก จะเป็นการกระตุ้นให้สมองมีการแตกกิ่งก้านสาขาเพิ่มขึ้น การทำงานของสมองจะดีขึ้น ดังนั้นผู้สูงอายุสามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ด้วยการหมั่นออกกำลังกายสมองเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง

นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์

ผู้สูงอายุต้องหมั่นออกกำลังกายสมองเพื่อกระตุ้นการทำงานของสมอง โดยวิธีการออกกำลังสมองแบบง่ายๆ ได้แก่

1) ถ้าอยู่บ้านลองเปลี่ยนความเคยชินในการรับข้อมูลจากประสาทสัมผัสเดิมๆ เป็นการใช้ประสาทสัมผัสในด้านอื่น เช่นหลับตาแล้วใช้มือคลำวัตถุว่าเป็นอะไร เพื่อกระตุ้นประสาทในส่วนสัมผัส สลับกิจกรรมที่เคยทำเป็นประจำ ตั้งแต่ตื่นนอน เช่น จากที่อาบน้ำก่อนกินข้าวเปลี่ยนเป็นกินข้าวก่อนอาบน้ำ จะทำให้สมองใช้พลังงานในการทำสิ่งใหม่ๆ มากกว่าตอนที่ทำกิจกรรมเดิมๆ

2) ระหว่างเดินทางให้บริหารสมอง โดยไม่เปิดแอร์แต่เปิดกระจกขณะขับรถ เลือกบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ เพื่อเชื่อมโยงประสาทรับกลิ่นและเสียงภายนอกให้ทำงานประสานกันมากขึ้น เปลี่ยนเส้นทางกลับบ้านหรือเปลี่ยนวิธีการเดินทาง เพราะวิวทิวทัศน์ กลิ่นและเสียงของเส้นทางใหม่จะช่วยกระตุ้นสมองให้สร้างแผนที่เส้นทาง
ชุดใหม่ขึ้นในสมอง เป็นการเพิ่มการทำงานของสมองให้มากกว่าปกติ

3) ขณะทำงานสามารถฝึกสมองได้ โดยเปลี่ยนตำแหน่งสิ่งของบนโต๊ะทำงานเพื่อสร้างภาพใหม่ๆ ในสมอง เพิ่มการทำงานของสมองให้มากขึ้น เพราะไม่คุ้นชินทำให้สมองต้องเรียนรู้ มากขึ้น พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานใหม่หรือคนที่ไม่ค่อยคุยด้วย โดยจำใบหน้า น้ำเสียง หรืออุปนิสัยส่วนตัว เพื่อเติมข้อมูลใหม่ๆ ให้กับสมอง ทั้งนี้รวมถึงการชวนเพื่อนร่วมงานถกเถียง อภิปรายหรือพูดคุยในประเด็นที่ไม่เคยพูด เพื่อเปิดรับข้อมูลใหม่ๆ

นอกจากนี้ควรหากิจกรรมสนุกๆ ทำเพื่อพัฒนาสมองทั้งซีกขวาและซีกซ้าย เช่น วาดรูป สเก็ตช์ภาพต่างๆ จะเป็นการฝึกด้านจินตนาการให้กับสมอง ทำงานฝีมือหรือประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ฟังเพลงภาษาต่างๆ เพื่อฝึกความสามารถด้านภาษาของสมองเพิ่มเติม หรือแม้แต่การเล่นปริศนาอักษรไขว้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า