SHARE

คัดลอกแล้ว

ก.คมนาคม จับมือ ก.เกษตรฯ เตรียมลงนามความร่วมมือยกระดับราคายางพารา เพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน วงเงินงบประมาณ 8.5 หมื่นล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 11 มิ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง เรื่องอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยจากยางพารา ระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยกระดับราคายางพารา และเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน ด้วยการนำน้ำยางพาราของเกษตรกรไทย มาใช้ผลิตแผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตและหลักนำทางยางธรรมชาติ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้มีนโยบายที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปช่วยเหลือผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรชาวสวนยางให้สามารถพัฒนาและแปรรูปเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นนั้น และกระทรวงคมนาคมได้ให้กรมทางหลวงชนท(ทช.) นำไปศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางดิบให้มาเป็นแผ่นยางหุ้มแบริเออร์ (Rubber Fender Barrier: RFB) และทำหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP)เพื่อมาเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ถนนของทั้งกรมทางหลวง(ทล.) และ ถนนกรมทางหลวงชนบท(ทช.) ขนาด 4 ช่องจราจรกว่า 12,000 กม. ซึ่งระยะเวลาดำเนินการ3ปี (ปี63-65) จะใช้น้ำยางพาราดิบจากเกษตรกรชาวสวนยางรวมประมาณ 1 ล้านตันใน 3 ปี ซึ่งการลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันพรุ่งนี้ เพื่อร่วมมือกันในการนำผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ ทล. และ ทช. ไปจดสิทธิบัตรแผ่นยางพาราหุ้มแบริเออร์ ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ และใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) พร้อมมอบหมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) ไปศึกษาวิธีการใช้น้ำยาเคลือบแผ่นยางพาราแบริเออร์ เพื่อยืดอายุเวลาจาก 3 ปี เป็น 5 ปี รวมถึงศึกษาการนำมาปรับปรุงใช้ใหม่อีกครั้ง (รีโนเวท) เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับผลิตภัณฑ์แผ่นยางหุ้มแบริเออร์ (Rubber Fender Barrier: RFB) ที่ใช้ในการกั้นเกาะกลางถนน และ หลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) ที่จะร่วมกับกระทรวงเกษตรนั้น เพื่อมาเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ถนนของทั้งกรมทางหลวง และ ถนนกรมทางหลวงชนบท ขนาด 4 ช่องจราจรกว่า 12,000 กม.จะแบ่งเป็นถนนของ ทล. ประมาณ 11,000 กม. และ ถนนของ ทช. ประมาณ 1,000 กม. ซึ่งระยะเวลาดำเนินการ3ปี (ปี 2563 – 2565) ใช้วงเงินประมาณ 85,000 ล้านบาท

ขอบคุณภาพปก : กรมทางหลวงชนบท

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า