SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมมลพิษ เตรียมเสนอ 12 มาตรการ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 21 ม.ค.นี้

เมื่อวันที่ 20 ม.ค.63 กรมควบคุมมลพิษ เผยแพร่รายละเอียดและข้อเพิ่มเติมจากมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 21 ม.ค.นี้

มาตรการที่ 1. ขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกเข้า กทม. จากวงแหวนรัชดาภิเษก เป็นวงแหวนกาญจนาภิเษก

  • มาตรการนี้เป็นการขยายขอบเขตพื้นที่และระยะเวลาในการห้ามรถบรรทุก ตั้งแต่ 10 ล้อ ขึ้นไป ที่ใช้น้ำมันดีเซล เข้าพื้นที่ กทม. จากขอบเขตเส้น ถ.กาญจนาภิเษก (โดยจากมาตรการปกติที่ สตช. ห้ามรถบรรทุก 10 ล้อ ขึ้นไปเข้าพื้นที่ กทม. (ในช่วงเวลา 06.00 – 10.00น. และ 15.00 – 21.00 น.) ทุกวันเว้นวันหยุดราชการ ) หลังจากช่วงเวลาดังกล่าวสามารถเข้าพื้นที่ กทม.ได้ (แต่ก็เข้าได้เพียงขอบเขต ถ.รัชดาฯ ) เป็นมาตรการที่ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่ กทม. ในช่วงสถานการณ์ที่ค่าฝุ่นละอองเริ่มวิกฤต (ถึงสิ้นเดือน ก.พ. 63 )

 

มาตรการที่ 2. ห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป เข้ามาในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครในวันคี่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ 2563 สำหรับวันคู่ให้เข้าได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด

  • เป็นมาตรการที่เป็นการเพิ่มเติมจาก ข้อบังคับหรือระเบียบตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 (ตามมาตรการที่ 1) ในมาตรการนี้จะเป็นการห้ามไม่ให้รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป โดยห้ามไม่ให้เข้าพื้นที่ตั้งแต่ขอบเขต ถ.วงแหวนกาญจนาภิเษก  เข้าไปในเขต กทม. โดยกำหนดห้ามเฉพาะวันเลขคี่
  • โดยจะเพิ่มระยะเวลาในการห้ามเข้า จากเดิมที่ สตช.ห้ามรถสิบล้อขึ้นไปเข้าพื้นที่ในช่วงเวลา ในช่วงเวลา 06.00 – 10.00น. และ 15.00 – 21.00 น. (ทุกวันเว้นวันหยุดราชการ) โดยจะห้ามเป็นตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. โดยห้ามเฉพาะในวันเลขคี่เท่านั้น จนกระทั้งถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ หรือจนกว่าสถานการณ์ฝุ่นละอองจะคลี่คลาย

 

มาตรการที่ 3. ตรวจวัดควันดำอย่างเข้มงวดกับรถโดยสาร (ไม่ประจำทาง) ทุกคัน โดยเพิ่มชุดตรวจเป็น 50 ชุด ใน 50 เขต

  • มาตรการนี้เป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับชุดตรวจวัดควันดำ โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ บก.จร. และกรุงเทพมหานคร ในการสนับสนุนอุปกรณ์ตรวจวัดควันดำของทางราชการที่มีกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ ให้ จนท.ที่สามารถบังคับใช้กฎหมายสามารถเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงทั้ง 50 เขต ของกทม.

 

มาตรการที่ 4. ปฏิบัติการร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจรในการยกระดับความเข้มงวดการตรวจสอบตรวจจับรถควันดำสำหรับรถโดยสารและรถบรรทุก เพื่อการออกคำสั่งห้ามใช้รถ      

  • เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อ ยกระดับความเข้มงวดในการตรวจสอบ/ตรวจจับรถยนต์ควันดำอย่างเคร่งครัดและสามารถออกคำสั่งห้ามการใช้รถที่มีมลพิษเกินมาตรฐานที่กำหนดมาใช้ในทางเดินรถและออกกฎกระทรวงเพื่อตรวจรับรองรถยนต์ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งแล้วตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522

 

มาตรการที่ 5. ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง หากตรวจสอบแล้วไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ให้สั่งปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือสั่งหยุดการประกอบกิจการ

  • เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อ ขอความร่วมมือโรงงานอุตสาหกรรมลดกำลังการผลิตในช่วงวิกฤตสถานการณ์ฝุ่นละออง และรัฐจะให้การสนับสนุนแรงจูงใจ (Incentive) ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมที่ให้ความร่วมมือ
  • ตรวจสอบโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ กทม.และปริมณฑทลที่เข้าข่ายที่จะมีการปล่อยมลพิษทางอากาศ หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข เจ้าพนักงาน สั่งให้หยุดปิด โรงงานและปรับปรุงแก้ไขจนกว่าจะกลับขึ้นมากลับมาสู่ในสภาพปกติ

 

มาตรการที่ 6. กำกับให้กิจกรรมการก่อสร้างรถไฟฟ้าและการก่อสร้างอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด ไม่ทำให้เกิดฝุ่น และปัญหาการจราจรติดขัดในบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้าง

  • เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า และการก่อสร้างทุกประเภท รวมทั้งเพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง โดย สนง.เขตทั้ง 50เขต จะต้องกำกับให้ปฏิบัติตามมาตรการ 12 ข้อ (กฎเหล็กของกทม.) อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามให้ระงับการก่อสร้างมาตรการทั้ง 12 ข้อ ได้แก่
  • การวางแนวแบริเออร์ ให้จัดวางให้ตรงตามแนวเส้นทางจราจร
  • ช่องทางกลับรถคับแคบ ให้เปิดช่อง U- Turn ให้กว้าง เพื่อให้รถยนต์กลับรถได้สะดวกขึ้น
  • ให้ขนย้ายกองดิน เศษหิน เศษปูนทรายออกจากพื้นที่ก่อสร้างในทันที
  • เร่งแก้ไขผิวจราจรให้เรียบร้อย
  • แนวก่อสร้างที่ยังไม่เริ่มก่อสร้าง แต่ได้วางแผงแบริเออร์ ให้เปิดช่องทางชั่วคราว
  • ให้เร่งก่อสร้างงานฐานราก เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดที่สะพาน
  • ให้จัดระเบียบรถบรรทุกในพื้นที่
  • ปรับผิวจราจรให้เป็นช่องจราจรชั่วคราวเพิ่มขึ้น
  • พื้นที่ที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง แต่ปิดช่องจราจร ให้เปิดช่องจราจรเป็นครั้งคราวในพื้นที่
  • การเปิดแนวแบริเออร์แล้วไม่ปิดให้เรียบร้อย ให้ปิดกั้นให้เรียบร้อยเพื่อความปลอดภัย
  • ติดตั้งไฟฟ้าชั่วคราวตามแนวการก่อสร้าง
  • ปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างและจัดทำทางสัญจรอย่างปลอดภัย

 

มาตรการที่ 7. ไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้กระทำการเผา

  • เป็นมาตรการในพื้นที่ กทม. เพื่อลดพื้นที่ที่จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองและหมอกควันจากการเผาในที่โล่ง โดยอาศัยข้อบังคับและกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข 2535 ซึ่งหากผู้ใดเผาหรือดำเนินการใด ๆ ทำให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น หากจับได้จะต้องลงโทษบุคคลที่ฝ่าฝืนกระทำการเผาในที่โล่ง อย่างเด็ดขาด (โทษจำคุก 3เดือน ปรับไม่เกิน 25,000บ.)

 

มาตการที่ 8. จังหวัดและ อปท. อาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ควบคุมการเผาในที่โล่งในช่วงสถานการณ์วิกฤตฝุ่นละออง และเข้มงวดการควบคุมยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง      

  • เป็นมาตรการที่ให้ท้องถิ่น ที่เกิดสถานการณ์วิกฤติฝุ่นละอองได้ออกเทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ควบคุมการเผาขยะมูลฝอย หญ้า พืชไร่ พืชสวน ตอซังข้าว หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นที่ดินของตนเองหรือที่สาธารณะ เพื่อให้สามารถเข้าระงับเหตุได้ทันที พร้อมทั้งออกมาตรการของท้องถิ่นในการเข้มงวดการควบคุมยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรมการก่อสร้างต่าง ๆ ในระยะที่เกิดสภาวะวิกฤติของฝุ่นละออง

 

มาตรการที่ 9. ลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (Premium diesel) ที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศน้อยกว่าน้ำมันดีเซลปกติที่ขายในตลาดปัจจุบัน

  • เป็นการขอความร่วมมือ บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเพื่อให้ประชาชนที่ใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล สามารถเข้าถึงน้ำมันที่สามารถช่วยลดมลพิษทางอากาศ (เป็นน้ำมันดีเซล เกรดพรีเมี่ยม ซึ่งจะมีค่า Sulfur ต่ำกว่า 10 ppm เทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 เป็นการลดมลภาวะ ได้กว่า 24 เปอร์เซ็นต์ ) ตลอดช่วงสถานการณ์วิกฤตฝุ่นละออง

 

มาตรการที่ 10. ขอความร่วมมือลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน และรถยนต์ของส่วนราชการต้องผ่านมาตรฐานควันดำทุกคัน

  • เป็นการขอความร่วมมือหน่วยงานภาคราชการ ภาคเอกชน ประชาชน ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน เพื่อลดสัดส่วนของแหล่งกำเนิดที่ก่อ PM 2.5 ในช่วงสถานการณ์ที่ค่าฝุ่นละอองอยู่ในระดับวิกฤต
  • ทั้งนี้ รถยนต์ของส่วนราชการต้องผ่านมาตรฐานควันดำทุกคัน โดยให้กำหนดเป็นตัวชี้วัดของหัวหน้าส่วนราชการ

 

มาตรการที่ 11. ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษา สนับสนุนการจัดโครงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง สำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี เพื่อช่วยลดฝุ่นละออง

  • โดยเป็นการขอความร่วมมือกระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภาคเอกชน และภาครัฐที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี (ฟรี/ลดราคาค่าบริการ+อะไหล่ ) ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงได้ดีขึ้น และลดฝุ่นละออง

 

มาตรการที่ 12. สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ฝุ่นละออง

  • ซึ่งจะเป็นภารกิจบูรณาการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ความเข้าใจ ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานอื่น เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์วิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นข้อมูลเดียวกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า