SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์ชี้โรคซึมเศร้าเป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจ ทำให้หม่นหมอง สิ้นหวัง ไร้ค่า และอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย ลูกหลานที่ดูแลผู้สูงอายุควรเข้าใจภาวะโรคซึมเศร้า รับฟังเรื่องราว อดทนในการดูแล และรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง หากมีปัญหาในการดูแลหรือปรับตัวกับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า สามารถเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้

นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า สาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักเกิดจาก โรคทางกาย เช่น การเจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคประจำตัว ทำให้ใช้ชีวิตไม่ได้ตามปกติและยากลำบากขึ้น จากยา เช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจบางชนิด ยารักษามะเร็งบางชนิด ยารักษาโรคพาร์กินสันบางชนิด นอกจากนี้ยังพบสาเหตุทางจิตใจและสังคม ได้แก่ สูญเสียบุคคลผู้เป็นที่รัก ไม่มีงานไม่มีรายได้ สูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเหมือนเช่นเดิม เป็นต้น

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ค่อนข้างสูงกว่าวัยอื่น นอกจากอาการด้านจิตใจคือ ซึมเศร้า ไม่อยากทำอะไร ไม่ใส่ใจตนเอง รู้สึกตนเองไร้ค่า แล้วอาจมาด้วยอาการทางกาย ดังนี้

1. นอนไม่หลับ หรือหลับมากกว่าปกติ
2. มีอาการปวดตามที่ต่างๆ หลายๆ ที่พร้อมกัน เช่น ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้อง หรือ ไม่สบายตามร่างกาย
3. มีอาการอ่อนเพลียรู้สึกไม่มีแรง
4. มีอาการทางระบบทางเดินอาหารเช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับถ่ายอุจจาระกระปริดกระปรอย แต่เมื่อไปพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพกลับไม่พบความผิดปกติใดๆ

สำหรับวิธีการรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ได้แก่ การรักษาด้วยยาซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะเห็นผลการรักษา ไม่ควรซื้อยากินเองแต่ควรปรึกษาแพทย์ เพราะยาแก้โรคซึมเศร้าอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายหากใช้ ไม่ถูกวิธี การทำจิตบำบัดแบบประคับประคองด้านจิตใจ พฤติกรรมบำบัด เพื่อแก้ไขความคิดในด้านลบต่อตนเอง การรักษาทาง ด้านจิตใจ เช่น ให้คำปรึกษา และการรักษาด้วยไฟฟ้าในผู้ป่วยเฉพาะรายที่อาการหนักไม่ตอบสนองต่อวิธีการรักษาอื่นๆ นอกจากนี้ลูกหลานที่ดูแลผู้สูงอายุควรเข้าใจภาวะโรคซึมเศร้าก่อน ยินดีรับฟังเรื่องราวที่ผู้สูงอายุเล่าให้ฟัง มีความอดทนในการดูแลอย่างเพียงพอ เพราะผู้สูงอายุบางรายอาจมีลักษณะอารมณ์กลับมาเป็นเด็กหรืออาจหงุดหงิด จึงควรพูดคุยด้วยท่าทีที่อ่อนโยน รู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง ทั้งนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้

 

แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า