SHARE

คัดลอกแล้ว

เจ้าหน้าที่พบกระทิงเพศเมียตัวเต็มวัยตายใกล้ร่องน้ำทางไปแคมป์แม่กระสาในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ล่าสุดเปิดกล้องดักถ่ายพบเสือโคร่งมือสังหารกลับมากินเนื้อกระทิง

วันที่ 24 ธ.ค.2562 เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เผยแพร่คลิปจากกล้องแอบถ่ายพบภาพเสือโคร่ง HKT204 ผู้ล่ากระทิงเพศเมียตัวเต็มวัย ใกล้แคมป์แม่กระสา ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ หลังจากเมื่อวันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมา นายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร-นครสวรรค์ สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้รายงานว่า พบซากกระทิงเพศเมียตัวเต็มวัยตายอยู่บริเวณใกล้ร่องน้ำด้านขวาก่อนขึ้นมอมะค่า ทางไปแคมป์แม่กระสา ห่างจากเส้นทางเดินรถประมาณ 50 เมตร เพราะถูกเสือล่า และต่อมาได้ร่วมกับ WWF ประเทศไทย นำกล้องดักถ่ายไปติดตั้งไว้รอบซากกระทิง เพื่อเก็บข้อมูลเชิงลึกนั้น

กระทั่งช่วงสายวานนี้ (23 ธ.ค.62) เจ้าหน้าที่ได้เปิดกล้องที่แอบถ่ายไว้ดู พบว่า ได้ภาพและคลิปที่ชัดเจนว่ากระทิงถูกล่าโดยเสือ จากการตรวจสอบของทีมงานนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และนักวิจัยของ WWF พบว่าเสือโคร่งตัวที่เห็นในคลิปวีดีโอซึ่งกำลังกินซากกระทิง คือ เสือโคร่ง HKT 204 หรือ MKM8 เพศผู้ ตัวโตเต็มวัยกำลังเข้าสู่โตเต็มวัยช่วงปลาย (old adult) จากฐานข้อมูลเสือโคร่งของสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ พบว่าเสือโคร่งตัวนี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นลูกของเสือโคร่ง HKT 165 เคยถ่ายภาพครั้งแรกได้เมื่อปี 2556 ต่อมาได้เดินทางมาตั้งถิ่นอาศัยของตนเองในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยสามารถถ่ายภาพได้ตั้งแต่ ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน

จากเหตุการณ์ที่พบเสือล่ากระทิงในครั้งนี้ ถือได้ว่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เป็นผืนป่าที่มีความสำคัญในการจะใช้เป็นพื้นที่รองรับการกระจายของเสือโคร่งจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตเสือโคร่ง (tiger source site) ที่สำคัญของประเทศไทย ที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตก ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพรรณและสัตว์ป่าสูง จึงเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมยิ่งในการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างเสือโคร่งให้คงอยู่กับโลกของเราตลอดไป

ทั้งนี้ ทีมงานนักวิจัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะหารือวางแผนจับเสือโคร่งตัวนี้ใส่ปลอกคอติดวิทยุประจำตัว เพื่อเก็บข้อมูลระยะยาวของเสือโคร่งในระดับผืนป่า อันจะสามารถติดตามประชากรเสือโคร่งได้อย่างแม่นยำและต่อเนื่อง เพื่อนำมาใช้ประกอบการวางแผนและจัดการเพื่ออนุรักษ์ให้ได้อย่างประสิทธิภาพตามหลักสิชาการต่อไป

ข้อมูล/ภาพ 1.นายกิติพัฒน์ ธาราภิบาล หน.อช.แม่วงก์ สบอ. 12, 2.ดร. อัจฉรา ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สบอ. 12 และ 3.WWF

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า