Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ- การเยือนระดับนายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อเจรจาความร่วมมือกับ ประธานาธิบดี สหรัฐฯ ยืนยันในความสัมพันธ์สองประเทศที่เข้มแข็ง พร้อมขับเคลื่อนความร่วมมือในทุกมิติ ดังเช่นที่เป็นมาตลอด 184 ปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้ (2 ต.ค. 60) เวลา 17.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงผลการหารือกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดังนี้

ประเทศไทย – สหรัฐฯ มีความร่วมมือในทุกมิติมากว่า 184 ปีในปีนี้ ซึ่งหากนับความสัมพันธ์ภาคประชาชน ต้องถือว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินสู่ปีที่ 200

การเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี ของการเยือนอย่างเป็นทางการ ระดับนายกรัฐมนตรี ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงความขอบคุณประธานาธิบดีสหรัฐฯ และภรรยา สำหรับการต้อนรับที่อบอุ่นเป็นมิตร พร้อมกันนี้ยังได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในประวัติการณ์ นั่นคือ เหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุเฮอริเคนที่เปอโตริโก และเหตุโศกนาฎกรรมที่ลาสเวกัส

ทั้งนี้ในการหารือ ผู้นำทั้งสองประเทศได้หารือความร่วมมือมิติต่างๆ ที่สอดคล้องกัน อาทิ ด้านความมั่นคง ซึ่งระหว่างไทย-สหรัฐฯ ได้มีการฝึกซ้อมร่วมกันมาโดยสม่ำเสมอเป็น นั่นคือ การฝึก Cobra Gold ซึ่งเป็นการฝึกทางทหารที่เสริมสร้างเสถียรภาพและสันติภาพในระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

หรือแม้แต่นโยบายหลักที่ต่างสนับสนุนโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย นั่นคือ นโยบาย America First ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศไว้ก่อนหน้านี้ สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 ของไทย เพื่อเสริมสร้างชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของภาคประชาชน

พร้อมกันนี้ ไทยและสหรัฐฯ จะขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทย ได้เชิญนางอิวานก้า ทรัมป์ (Ivanka Trump) บุตรสาวประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ให้ความสนใจและมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ เยือนไทยเพื่อดูงานของรัฐบาลไทยที่พยายามแก้ปัญหาด้านนี้มาโดยตลอดเช่นกัน

ขอบคุณภาพ: รัฐบาลไทย

นอกจากนี้ ไทย-สหรัฐฯ ยังจะขยายความร่วมมือการต่อต้านการก่อการร้ายและส่งเสริมความมั่นคงทางไซเบอร์ สนับสนุนด้านข่าวกรอง พร้อมทางหาแนวทางว่าจะร่วมมือเพื่อเสริมสร้างสันติสุขในภูมิภาค รวมทั้ง การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศด้วย

ด้านสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาค ไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ ยืนยันความร่วมมือ ดำเนินการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ทั้งด้านสถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งรัฐบาลไทยสนับสนุนให้เกาหลีเหนือเข้าสู่การเจรจา ส่วนสถานการณ์ในรัฐยะไข่ ไทยและสหรัฐฯ จะร่วมผลักดันการแก้ปัญหาตามหลักมนุษยธรรม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในระยะยาว

ด้านการค้าและการลงทุน ตามสนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ที่ลงนามร่วมมือกันตั้งแต่ปี ค.ศ.1966 ทำให้นักธุรกิจอเมริกันได้ประโยชน์เหมือนคนไทยในการลงทุนที่ประเทศไทย พร้อมทั้ง ร่วมผลักดันมูลค่าการค้าระหว่างกันให้สูงขึ้น ด้วยกลไกที่มีอยู่ พร้อมตั้งกลไกใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนหากมีปัญหาติดขัด โดยขณะนี้ นักลงทุนไทยมีการลงทุนในสหรัฐฯ ทั้งหมด 23 บริษัท มูลค่าการลงทุนรวม 5.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีแผนเพิ่มการลงทุนอีกรวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะสามารถสร้างงานได้มากกว่า 8,000 ตำแหน่ง จึงขอให้สหรัฐฯ ให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนไทยเหล่านี้ พร้อมทั้งขอให้สหรัฐฯ เปิดตลาดสินค้าเกษตรไทยมากขึ้น

ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัท PTTGC America LLC กับหน่วยงาน JobsOhio ว่าด้วยความร่วมมือในการศึกษา วางแผน และจัดทำโครงการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่เขตเบลมอนต์ (Belmont County) ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานปิโตรเคมี

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า