SHARE

คัดลอกแล้ว

นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) กล่าวในฐานะตัวแทนผู้ริเริ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เข้าชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับประชาชนต่อรัฐสภา โดยระบุถึง “ความฝันห้าข้อ” ที่หวังให้เกิดขึ้นจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนี้

  1. การได้อยู่ในประเทศที่ประชาชนมีสิทธิในการเลือกผู้ที่จะมาใช้อำนาจปกครอง หรือเลือกนายกรัฐมนตรี โดยอาจจะเป็นการเลือกตั้งผ่านสมาชิกรัฐสภา แต่สมาชิกทุกคนที่จะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกของประชาชน
  2. ได้อยู่ในประเทศที่ผู้ใช้อำนาจรัฐ มีความโปร่งใส สามารถถูกตรวจสอบได้ โดยมีองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบหากมีข้อสงสัยเรื่องทุจริตคอร์รัปชันหรือมีการใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้อง ซึ่งที่มาขององค์กรเหล่านั้นจึงต้องเป็นอิสระจากผู้ใช้อำนาจ เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร เป็นอิสระจากคนที่พวกเขาต้องไปทำหน้าที่ตรวจสอบ
  3. ได้อยู่ในประเทศที่ประชาชนมีอำนาจกำหนดอนาคตของตนเอง ผ่านการเลือกตั้ง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งต้องแถลงนโยบาย เพื่อให้ประชาชนเลือกทิศทางประเทศผ่านนโยบายเหล่านั้น ซึ่งจะเลือกใหม่ได้ทุกๆ 4 ปี
  4. ได้อยู่ในประเทศที่ระบบยุติธรรมบังคับใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียม คนที่กระทำความผิดหรือถูกสงสัยว่ากระทำความผิดต้องถูกดำเนินคดีอย่างเป็นธรรม และถ้าหากศาลตัดสินเป็นที่สุดว่ามีความผิดก็ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่มีการยกเว้น
  5. การได้อยู่ในประเทศที่กติกาสูงสุดของประเทศ ที่ออกแบบการเมืองการปกครองและรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ถูกร่างขึ้นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ ต้องร่างโดยตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน 100 เปอร์เซ็นต์ และประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมได้อย่างต็มที่

พร้อมระบุว่าสิ่งที่ประชาชนยากเห็นเป็นเรื่องพื้นฐาน ไม่ใช่ข้อเรียกร้องใหม่ หรือเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้  แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 มีกลไกที่ขัดต่อความฝันดังที่กล่าวข้างต้น จึงเสนอยกเลิกและแก้ไขบางเรื่อง อาทิ ยกเลิกมาตรา 269 และ 272 ยกเลิกช่องทางนายกฯ คนนอก รวมทั้งแก้ไขมาตรา 252 ที่ให้ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง , เสนอให้ยกเลิกมาตรา 203 ว่าด้วยที่มาขององค์กรอิสระ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง ให้กรรมการชุดปัจจุบันที่มาจากระบบสรรหาแบบเดิมพ้นจากตำแหน่ง และให้สรรหาชุดใหม่มาทำหน้าที่ ด้วยกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อให้การตรวจสอบมีความโปร่งใส , ยกเลิกแผนยุทธศาตร์ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ ยกเลิกมาตรา 65 แก้ไขมาตรา 142, 162 และยกเลิกหมวดที่ 16 เรื่องการปฏิรูปของ คสช. , เสนอให้มีการแก้ไขวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปิดให้จัดตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. ที่มาจากการเลือกตั้ง

ขณะที่ นายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ได้กล่าวในฐานะผู้แทนผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย ว่าร่างรัฐธรรมนูญที่นำมาเสนอเป็นของภาคประชาชน ไม่ใช่ร่างของ iLaw ซึ่งผ่านการรับรองจากประชาชนกว่า 1 แสนรายชื่อ โดยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการปรึกษาหารือระหว่างประชาชนที่ต้องการเห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง และเป็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีปัญหา เนื่องจากออกแบบเพื่อให้ คสช.ยังคงอำนาจอยู่ แม้ผ่านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไปแล้ว จะเห็นได้จากการนำ คสช.มาเป็นคณะรัฐมนตรีหลายคน

“รัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนไว้เหมือนทุกฉบับที่ผ่านมาว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนชาวไทย ซึ่งไม่เป็นไปตามความจริง เพราะประชาชนมีสิทธิเลือกแต่ ส.ส. แต่ไม่มีโอกาสกำหนดว่าใครจะมาจัดตั้งรัฐบาล และนายกฯ เพราะมีส่วนอื่นเข้ามากำหนด” นายจอน กล่าว

นายจอน ได้ระบุถึงการร่วมจัดทำร่างรัฐธรรมนูญว่า เมื่อ ช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาภาคประชาชนพยายามแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยที่ถอดพิษเผด็จการ แล้วอยากให้มี สสร. ที่จะรับรัฐธรรมนูญต่อไป ซึ่งใช้เวลาหารือไม่นานก็เกิดเหตุการณ์ที่ประชาชนจำนวนมากออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยตามท้องถนน ในจำนวนนี้เป็นคนรุ่นใหม่ ทำให้เห็นว่าคนรุ่นใหม่ทนรอไม่ได้ และอยากให้เห็นความเปลี่ยนแปลง จึงนำร่างที่แก้ไขมาให้ประชาชนลงชื่อ ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก เพื่อให้ร่างฉบับนี้ได้เข้าไปพิจารณาร่วมกับร่างของพรรคการเมืองต่างๆ ที่สำคัญถ้าประเทศไทยจะเข้าสู่อารยประเทศได้ เราจำเป็นจะต้องทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย และผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญไทยมีปัญหา เราถึงได้มีร่างแก้ไขมากมายในสภานี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า