Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สื่อที่เผยแพร่ในปัจจุบันมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งสามารถส่งผลต่อความคิด ค่านิยมและพฤติกรรมของทุกเพศ ทุกวัย โดยทำให้เราอินกับเรื่องราวนั้นโดยไม่รู้ตัว และในยุคดิจิทัลที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความบันเทิงต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย  ถือเป็นดาบสองคม ที่มีทั้งคุณและโทษ

ดังนั้นประชาชนทุกคนควรรู้เท่าทันสื่อ และใช้สื่อแบบสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ตามที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เข้ามามีบทบาทเพื่อสนับสนุนและกระตุ้นเรื่องเหล่านี้ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับสังคมในทางที่ดียิ่งขึ้น

ดร.ธนกร ศรีสุขใส  ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

บทบาทและหน้าที่ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ดร.ธนกร ศรีสุขใส  ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กล่าวว่า “วัตถุประสงค์ที่เกิดกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เริ่มต้นจากเรื่องเด็ก เพราะเด็กมีความสุ่มเสี่ยง และจากการสำรวจพบว่ารายการสำหรับเด็กหรือช่องสำหรับเด็กในประเทศไทยมีจำนวนน้อย และการดำเนินธุรกิจช่องสำหรับเด็กเริ่มขาดทุน มีแนวโน้มปิดตัวลง ทางรัฐบาลจึงตั้งกองทุนนี้ขึ้นมา เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ และทางกองทุนยังดูองค์รวมของสื่อ จึงเข้าไปทำงานร่วมกับสมาคมวิชาชีพสื่อ สนับสนุนสื่อทั้งภาพยนตร์ ละคร ส่งเสริมสนับสนุนสื่อในทุกมิติ   ทำให้สื่อมวลชนทุกแขนง เป็นสื่อมวลชนที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น”

 “และเรื่องหลักที่ทางกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เห็นความสำคัญคือประชาชนทุกคนควรรู้เท่าทันสื่อ  ซึ่งทักษะการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล หรือ MIDL (Media Information and Digital Literacy)  เป็นสิ่งที่ทางกองทุนฯ ศึกษาและดำเนินการในแนวทางนี้ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรอบรู้ และมีวิจารณญาณวิเคราะห์สื่อ รับสื่อ และผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ  โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ใช้สมาร์ทโฟน เป็นกลุ่มที่ถูกหลอกมากที่สุด ทางกองทุนฯ จึงให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก  ซึ่งภารกิจในการทำให้คนในสังคมไทยทุกกลุ่มอายุ ทุกกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

“และอีกด้านที่เป็นงานหลักของกองทุนฯ คือทำให้มีสื่อที่ดี ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้ผลิต บ่มเพาะพัฒนาคน นักคิด นักเขียน ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ตั้งแต่  Pre– production  Production  และ Post -production และคาดหวังว่าจะสามารถสร้างผลงาน ผลลัพธ์ ผลผลิต ออกสู่ตลาดอย่างมีคุณภาพ โดยการสนับสนุนด้านวิชาการ เปิดเป็นฐานข้อมูล สร้างองค์ความรู้ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ได้

ซึ่งทางกองทุนฯ พร้อมรณรงค์ รับมือสื่อร้ายด้วยการรู้เท่าทันสื่อ ขยายสื่อดี ร่วมกันสร้างสรรค์ขยายสื่อดีให้ออกมาได้มากที่สุด และภารกิจทั้งสองด้านต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ฉะนั้นเครือข่ายจึงเป็นเรื่องจำเป็น

ภาพจากโครงการ Edible Story Thailand ผลงานจากผู้รับทุนประเภทเปิดรับทั่วไปประจำปี 2564

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์กับการสนับสนุน Soft Power

เมื่ออิทธิพลของสื่อส่งผลต่อผู้คน ทางกองทุนฯ จึงผลักดันให้ผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้าง Soft Power ให้กับประเทศ  โดย ดร.ธนกร บอกว่า ถ้าสื่อเสนอเรื่องราวของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้านในมิติใหม่ จนสามารถดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกได้  อาจจะยกระดับเศรษฐกิจของประเทศได้เช่นกัน

“คำว่า Soft Power ในความหมายของผม คือ พลังอำนาจที่ไม่ต้องมีใครบังคับ เป็นพลังอำนาจในการโน้มน้าว ชักจูง ทำให้คนหลงใหลที่จะยอมเสียเงิน และเสียความเป็นตัวเอง รู้สึกอยากเป็นเหมือนคนอื่น ยกตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การสร้างพลังบางอย่างผ่านซีรีส์ ผ่านศิลปิน ผ่านนักแสดง พลังที่สื่อออกมาซ้ำ ๆ ทำให้คนส่วนใหญ่ทั่วทั้งโลกยอมจ่ายเพียงเพื่ออยากตามกระแส    เป็นผลทำให้สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้อีกหนึ่งช่องทาง”

“และผมว่าของดีในประเทศเรามีเยอะมาก  แต่เราจะสื่ออย่างไรที่ทำให้ทั่วโลกรู้จัก เราจะต่อยอดแง่มุมภูมิปัญญาชาวบ้านลงไปแบบไหนเพื่อทำให้คนสนใจ การสร้างคุณค่าในสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร เช่น น้ำพริกปลาทู ข้าวแกงปักษ์ใต้ หรือ แหล่งท่องเที่ยว เช่น ภูกระดึง ที่ต้องเดินขึ้น 7 – 8 ชั่วโมง ถ้านำสิ่งเหล่านี้มาสร้างเป็นเรื่องราว มันก็สามารถเป็น Soft Power ได้ทั้งนั้น ซึ่งการทำสื่อเพื่อดัน Soft Power  ของประเทศไทย การมีเรื่องเล่า จะทำให้นักท่องเที่ยวพร้อมจ่าย  ถือเป็นโอกาสที่จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ  เพราะบางอย่างพอมีเรื่องเล่า มาอยู่ในละคร  ซีรีส์ ภาพยนตร์ มันกลายเป็นแรงดึงดูด ให้สิ่งที่ธรรมดา ไม่ธรรมดา”  

ส่องประเด็นเชิงยุทธศาสตร์จากประกาศให้ทุนปี 67

เพื่อเป็นการเน้นย้ำการเป็นผู้สนับสนุนการสร้างสื่ออย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ทางกองทุนจึงเปิดรับข้อเสนอโครงการหรือกิจกรรม เพื่อขอรับการสนับสนุน ประจำปี 2567 โดยมีวงเงินสนับสนุนประมาณ 300 ล้านบาท  แบ่งการให้ทุนจำนวน 3 ประเภท  ได้แก่

1.การให้ทุนประเภทเปิดรับทั่วไป (Open Grant) ต้องการให้พื้นที่ของคนหน้าใหม่ ได้แก่  กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มคนพิการและผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มประชาชนทั่วไป ได้รับแหล่งเงินทุน วงเงิน 80 ล้านบาท โดยมีขอบเขตของโครงการหรือกิจกรรมการสนับสนุนในหัวข้ออิสระ

2.การให้ทุนประเภทเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Grant) ต้องการให้ผู้ที่มีฝีมือ เป็นมืออาชีพมาสร้างสรรค์ผลงาน  ที่สามารถสร้างผลกระทบต่อสังคมได้ ในวงเงิน 180 ล้านบาท  โดยกำหนดประเด็นที่ตอบโจทย์สังคม ตอบโจทย์สภาพการณ์ของสื่อ  แบ่งเป็น 6 ประเด็นได้แก่

2.1 พหุวัฒนธรรมและความหลากหลายทางสังคม

2.2 ทักษะการรู้เท่าทันและเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ รวมถึงการรับมือกับข้อมูลบิดเบือน (Disinformation) ประทุษวาจา (Hate Speech) และการระรานในโลกออนไลน์ (Cyberbullying)

2.3 การสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรม (Soft Power)

2.4 ผลิตรายการโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอ วีดิทัศน์ หรือรายการทางออนไลน์ สำหรับเด็กและเยาวชน

2.5 ผลิตละครชุดเพื่อส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและความมั่นคง

2.6 ผลิตภาพยนตร์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคีและสามารถใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างเป็นสุข

3.การให้ทุนประเภทความร่วมมือ (Collaborative Grant) วงเงิน 40 ล้านบาท มีขอบเขตของโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินงานในหัวข้อเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ หรือการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ต้องเป็นองค์กรที่เป็นนิติบุคคลที่มีความร่วมมือกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์)

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครขอรับทุนสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.thaimediafund.or.th    และยื่นข้อเสนอโครงการได้ที่ http://granting.thaimediafund.or.th/   โดยจะเปิดรับสมัครตั้งแต่ วันที่ 1 – 31 ตุลาคม 2566

ภาพยนตร์แห่งความภาคภูมิใจ A time to fly บินล่าฝัน ผลงานจากผู้รับทุน

ผลงานผู้รับทุนของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยบริษัท อิเมจิแมกซ์ จำกัด กำกับของ โส่ย-ศักดิ์ศิริ คชพัชรินทร์  โดยบอกเล่าถึงเส้นทางบินล่าฝันของ “เด็กชายหม่อง ทองดี” ในช่วงวัย 7-8 ขวบที่ได้เป็นตัวแทนโรงเรียนบ้านห้วยทราย จ.เชียงใหม่ ไปร่วมแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ระดับภูมิภาค จนชนะได้ไปแข่งระดับประเทศ และได้แชมป์ประเทศไทยไปแข่งระดับนานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่น แต่มาติดปัญหาตรงที่เขาเป็นเด็กไร้สัญชาติ ทางการออกพาสปอร์ตให้ไม่ได้ จึงเกิดการรวมตัวของอาจารย์ นักวิชาการ นักกฎหมาย และสื่อมวลชน ที่พยายามช่วยผลักดันให้น้องหม่อง ได้ไปแข่งขันภายใต้เวลาอันจํากัดที่กําลังจะหมดลง ซึ่ง A time to fly บินล่าฝัน เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ถือเป็นภาพยนตร์น้ำดีที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลายคน

ทางกองทุนฯ มีนโยบายสนับสนุนสื่อภาพยนตร์ให้เกิดขึ้นทุกปี และเชื่อมั่นว่าถ้าทำได้ทุกปี 1-2 เรื่อง ในวงเงินที่มีอยู่ จะสามารถสร้างสื่อที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ แม้ทางกองทุนฯ ไม่ใช่หน่วยงานหลักในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ แต่จะเป็นหน่วยงานหลักในพื้นที่ของการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน พร้อมเป็นพื้นที่ทดลองของคนทำสื่อหน้าใหม่ให้มีความสามารถจนเข้าสู่วงการใหญ่ได้”  ดร.ธนกร กล่าวทิ้งท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า