Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กลายเป็นกระแสตีกลับทันที สำหรับประเด็นล้างหนี้ กยศ. ที่มีการออกมาประกาศล่ารายชื่อ 10,000 ชื่อ เพื่อยื่นแก้ไขกฎหมายกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ให้รัฐบาลมีกลไกเข้ามาเป็นลูกหนี้แทนผู้กู้ หลังสำเร็จการศึกษา 2 ปี

เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นโซเชียลทันที เพราะส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยและมองว่า เมื่อกู้ได้ก็ต้องใช้หนี้ได้ และเป็นคนละประเด็นกับเรื่องการศึกษาเท่าเทียม ส่งผลให้เกิด #ล้างหนี้กยศ ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์

ล่าสุด นายนพดล เภรีฤกษ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ชี้แจงประเด็นล่ารายชื่อให้ยกหนี้ กยศ. ว่า การยกหนี้ กยศ. ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ กยศ. แต่จะทำให้ผู้กู้ขาดวินัยทางการเงิน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต แต่รัฐบาลเข้าใจปัญหาของหนี้ กยศ. ตามกฎหมายปัจจุบัน จึงเสนอแก้ไขให้การชำระหนี้ กยศ. ยังคงเป็นไปตามหลัก เป็นหนี้ต้องใช้หนี้ แต่ผ่อนปรนการชำระหนี้ กยศ. ให้สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

  • นายกฯ ห่วงใยลูกหนี้ กยศ.

ขณะที่นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยและได้สั่งการเร่งให้การช่วยเหลือลูกหนี้ กยศ. อย่างเต็มที่ ครอบคลุมการลดภาระหนี้ ลดความเสี่ยงถูกดำเนินคดี แก้กฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้นผ่านกลไกต่างๆ เช่น

งานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ซึ่งจัดขึ้นทั่วประเทศ เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงการขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้กู้ยืมมาชำระเงินคืน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ภายใต้เงื่อนไขของมาตรการ และการที่คณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีอำนาจในการปลดภาระผู้ค้ำประกัน

เมื่อผู้กู้ยืมได้ผ่อนชำระเงินต้นมาแล้วร้อยละ 25 ของเงินต้นที่ค้างชำระ รวมถึงเสนอการปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยและดอกเบี้ยผิดนัดให้เหมาะสม โดยขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติฯ อยู่ในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

นายอนุชา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลมีความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาหนี้ กยศ. มาโดยตลอด นอกจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ลดผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน และเสนอร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาฯ ที่มีเป้าหมายเพื่อปฏิรูปโครงสร้างสินเชื่อ ช่วยเหลือผู้กู้ที่เดือดร้อน สร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้กู้และผู้ค้ำประกัน ช่วยให้การชำระหนี้มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้มากยิ่งขึ้นแล้ว ประเด็นสำคัญที่นายกรัฐมนตรีห่วงกังวลคือ โอกาสในการเข้าถึงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของทรัพยากรบุคคล เพิ่มโอกาสทางการแข่งขันของไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

ขณะที่นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กล่าวว่า กองทุนเป็นหน่วยงานของรัฐ ดำเนินการในลักษณะทุนหมุนเวียนที่ไม่ได้มีการแสวงหาผลกำไร เพื่อให้โอกาสทางการศึกษากับนักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์โดยการให้กู้ยืมเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 1% ต่อปี และให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานถึง 15 ปี

ปัจจุบันมีผู้กู้ยืมได้รับโอกาสทางการศึกษาไปแล้ว 6,217,458 ราย เป็นเงินให้กู้ยืมกว่า 696,802 ล้านบาท และกองทุนมีเงินหมุนเวียนจากการชำระคืนกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี ทำให้กองทุนมีเงินให้นักเรียน นักศึกษารุ่นน้องกู้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นมา โดยในปีการศึกษา 2565 กองทุนได้เตรียมเงินกว่า 38,000 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้กู้ยืมจำนวนกว่า 600,000 ราย

ที่ผ่านมากองทุน กยศ. เป็นหน่วยงานที่ให้โอกาสและช่วยเหลือผู้กู้ยืมมาโดยตลอด ซึ่งการยกเลิกหนี้ กยศ. ไม่ใช่ทางออกของการแก้ปัญหาการเข้าถึงการศึกษา นอกจากจะส่งผลกระทบต่องบประมาณแผ่นดินแล้วยังส่งผลต่อบรรทัดฐานของสังคมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบและวินัยทางการเงินของคนรุ่นใหม่ ที่จะเป็นอนาคตของประเทศ ปัจจุบัน มีผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างชำระหนี้จำนวน 3,458,429 ราย เป็นยอดหนี้คงเหลือจำนวน 337,857 ล้านบาท หากยกเลิกหนี้ดังกล่าวจะทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า