SHARE

คัดลอกแล้ว

‘หมดใจ’ หรือ ‘หมดไฟ’ จะทำอย่างไรเมื่อกายและใจของเราไม่เหมือนเดิม แต่เพิ่มเติมไปด้วยความเครียด  ความขุ่นหมองของอารมณ์ ที่ทำให้เหนื่อยล้าหนัก จนไม่อยากสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือทำอะไรในชีวิต

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ‘ภาวะหมดไฟ’ หรือที่คนรุ่นใหม่ทำงานไปแล้วมักบอกว่ารู้สึก ‘เบิร์นเอาท์’ ในทางการแพทย์คำๆ นี้เป็นโรคชนิดหนึ่งชื่อว่า Burnout Syndrome ส่วนใหญ่มาจาก ‘ความเครียด’ และ ‘ความอ่อนล้า’ ที่เป็นสารตั้งต้นทำให้เกิดภาวะนี้

คนทำงาน’ ช่วงวัยที่กำลังตั้งหลักชีวิต เพื่อความมั่นคงมักเป็นภาวะหมดไฟในยุคนี้ เพราะต้องทำหน้าที่แข่งขันกับเวลาและภาระ ที่ต้องแบกรับในการดูแลตัวเอง ครอบครัว รวมถึงวางแผนอนาคต

แต่ปัจจุบันเด็กและเยาวชนที่อยู่ใน ‘วัยเรียน’ ต้องเผชิญกับ ‘ภาวะหมดไฟ’  จำนวนมากเช่นกัน เพราะต้องมีชีวิตที่เดิมพันด้วยผลการเรียนที่ดี มีเกรดเป็นตัวชี้วัด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ จากสภาพแวดล้อม พื้นฐานครอบครัว และการใช้ชีวิตในสังคม

‘ภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตาย’ ในเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน เป็นเรื่องที่ต้องป้องกันและจับตามอง หลังงานวิจัยเรื่องความชุกของภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงฆ่าตัวตาย สำรวจโรงเรียน 13 เขตสุขภาพ ช่วงเดือนมิถุนายน – กันยายน 2561 พบเด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยเรียน อายุตั้งแต่ 11-19 ปี เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า 2 ใน 3 โรงเรียนที่สำรวจ โดยเพศหญิงเสี่ยงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่เกิดจากจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิต

‘ข้อความระบายอารมณ์’ บนโซเชียลมีเดีย เช่น ทวิตเตอร์ เว็บไซต์พันทิปและเด็กดี กลายเป็นอีกเครื่องพิสูจน์ ที่อาจบ่งชี้ว่าเด็กและเยาชนที่อยู่ในวัยเรียนของไทย มีภาวะหมดไฟไม่ต่างจากผู้ใหญ่ หลังการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม 2562 – มิถุนายน 2563 มีข้อความยอดนิยมลักษณะนี้บนโซเชียลมีเดียรวมกันมากถึง 117,180 ครั้ง

‘ปัญหาความสัมพันธ์’ คือสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้วัยรุ่นในวัยเรียนหมดไฟ ซึ่งพบมากถึง 55,828 ข้อความ รองลงมาเป็นปัญหาการเรียน 12,302 ข้อความ ความรุนแรง 6,884 ข้อความ ปัญหาทางเศรษฐกิจ  3,534 ข้อความ การกลั่นแกล้ง 3,427 ข้อความ หน้าที่การงาน 2,483 ข้อความ และปัญหาอื่นๆ เช่น การโดนละเมิด 82 ครั้ง ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นอีกสาเหตุของโรคซึมเศร้าที่มีผลทำให้เกิดอาการเบิร์นเอาท์หรือภาวะหมดไฟในวัยเรียน

      “ความเครียดเป็นส่วนที่ทำให้เด็กวัยเรียน วัยรุ่นเกิดภาวะหมดไฟในการเรียน ยิ่งหากพวกเขาเป็นโรคซึมเศร้าแม้ความเครียดกับโรคซึมเศร้า อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวทั้งหมด แต่เด็กวัยเรียนเป็นควบคู่กันได้ เช่น เมื่อเครียด กดดันตัวเอง ไม่ชอบตัวเอง อึดอัด สื่อสารกับคนรอบข้างไม่ได้ หรือเรียนในสาขาวิชา คณะที่ยากต้องสอบทุกสัปดาห์ อาจจะทำให้เด็กและเยาวชนวัยเรียนเกิดอารมณ์เชิงลบ และแก้ปัญหาไม่ถูกต้อง

ศ.ดร.นพ. นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy by สสส.)

ข้อความข้างต้นเป็นมุมมองจาก ศ.ดร.นพ. นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy by สสส.) ที่พูดถึง ‘ภาวะหมดไฟในวัยเรียน’ ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาศักยภาพนักสร้างเสริมสุขภาพ ของ ThaiHealth Academy ขึ้นมา

‘นักสร้างเสริมสุขภาพ’ หมายความว่า เป็นบุคคลที่ได้รับการพัฒนาด้านสุขภาวะกาย จิต ปัญญา และสังคม ถือเป็นหัวเรือหลักในการป้องกันเรื่องภาวะหมดไฟหรือโรคซึมเศร้าอีกวิธีหนึ่งในสังคม ผู้ที่ได้รับการพัฒนาจะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ ช่วยให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นวัยทำงานหรือวัยเรียนมีสุขภาวะที่ดีขึ้นทุกมิติ

เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นในงานที่จัดขึ้นที่ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย GenEd Fair 2023 “Designing your (university) life towards sustainable lifelong learning with GenEd โดย สสส. มีเป้าหมายทำให้ ‘นักสร้างเสริมสุขภาพ’ จะเป็นกำลังหลักสำคัญอีกแนวทาง ที่จะช่วยป้องกันและส่งเสริมความรู้ให้ทุกคนรู้วิธีจัดการกับความเครียด เพื่อทำให้สุขภาพกายและใจไม่ถูกทำร้าย จนหมดไฟและเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า แน่นอนว่าในโลกของการทำงานและการเรียน ไม่มีใครหนีความเครียดและเหนื่อยล้าได้ทุกอย่าง แต่การมองหาแนวทางจัดการชีวิตได้ จะเป็นอีกวิธีบ่มเพาะที่ สสส. เชื่อว่าจะทำให้เกิดการอยู่ดีและมีสุขได้

ศ.ดร.นพ.นันทวัช เผยว่า ปัจจุบัน โรคซึมเศร้าและความเครียดในหมู่วัยรุ่นที่อยู่ในวัยเรียน เกิดจากการค่อยๆ สะสมมาในระหว่างทางการใช้ชีวิต ไม่ได้เกิดแค่ตอนสอบแข่งขันวิชาต่างๆ หรือเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว

อีกปัจจัยที่เด็กและเจาวชนเจอปัญหานี้มาจากพื้นฐานครอบครัว ที่บางคนมีต้นทุนชีวิตที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่มีที่พึ่งทางใจในชีวิต จึงไม่สามารสื่อสารกับคนในบ้านไม่ได้ หรือระบบการศึกษาและสังคมที่เป็นอยู่ไม่เอื้อประโยชน์ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

ไม่มีคู่ ไม่แต่งงาน ไม่มีลูก และไม่มีบ้าน” คือสถานการณ์ 4 ไม่ ที่ถูกนำมาพูดถึงคนรุ่นใหม่สมัยนี้โดย ศ.ดร.นพ.นันทวัช เขาเล่าว่าที่ต้องบอกแบบนี้เพราะปัจจุบันหลายครอบครัวเมื่อมีลูก ก็ไม่สามารถอยู่กับลูกได้ ต้องไปทำงานในเมือง หรือบางคนต้องกลายเป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยว แม่วัยใส หลังจากนั้นทันที

ขณะที่สภาพสังคมที่เปราะบางด้วยสภาพเศรษฐกิจ หลายคนต้องดิ้นรนให้มีชีวิตรอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันมากมาย เรื่องนี้อาจทำให้เด็กรวมถึงพ่อแม่ปรับตัวไม่ทัน เพราะความรู้ความเข้าใจแบบเดิม อาจไม่สามารถนำมาใช้เลี้ยงดูเด็กยุคนี้ได้เหมือนเก่า ศ.ดร.นพ.นันทวัช เผยว่าสถานการณ์นี้ทำให้มีความเสี่ยงตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา เพราะช่องว่างระหว่างวัยระหว่าผู้ใหญ่และเด็กเยาวชน

“เมื่อปรับตัวไม่ทัน พ่อแม่หลายคนไม่รู้วิธีการเลี้ยงลูก การสื่อสารกับลูก เมื่อครอบครัวไทยเปราะบาง เด็กๆจะไม่เปราะบางได้อย่างไร” ศ.ดร.นพ.นันทวัช ตั้งคำถามถึงเรื่องนี้

‘การรับฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ’ เสมือนสิ่งล้ำค่าที่ทำให้คน 2 วัยเข้าใจกันได้ ศ.ดร.นพ.นันทวัช บอกว่าถ้าหลายครอบครัวทำได้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการตัดตอนปัญหาภาวะหมดไฟ ความเครียด และโรคซึมเศร้า เพราะการฟัง คือการแสดงความรักอย่างหนึ่ง

ฟังอย่างเข้าใจ ไม่ใช่ฟังด้วยการสอน อย่าดุด่า ในสังคมตอนนี้ทุกคนต่างได้รับข้อมูลข่าวสาร และมีแต่คนพูด ไม่มีคนฟัง การฟังจึงเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องการ ที่สำคัญสายตาต้องแสดงถึงความเข้าใจด้วย

ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy by สสส.) เชื่อว่าภาวะหมดไฟ หรือโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นจะน้อยลง ถ้าทุกคนทำเรื่องแบบนี้กันได้

“โรคซึมเศร้า สามารถรักษาหายได้แต่ก็เป็นซ้ำได้ เช่นเดียวกับความเครียดสามารถจัดการได้ แต่ต้องรู้ว่าจะจัดการอย่างไร ระบบการจัดการปัญหา ต้องเริ่มจากตัวเราเอง บริหารจัดการตัวเอง ควรให้รางวัลแก่ตนเองบ้าง ทำในสิ่งที่ชอบ มองหากิจกรรมใหม่เพื่อตัวเราเอง ต่อมาพ่อมา คนรอบข้าง แฟน รุ่นพี่ รุ่นน้อง ครูอาจารย์ ต้องเป็นผู้สนับสนุน รับฟังความคิดเห็น สื่อสารแบบสร้างสรรค์ และระบบในองค์กร มหาวิทยาลัย สังคมที่พวกเขาอยู่ ต้องมีการให้ความช่วยเหลือ โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อใหเการสื่อสารมันง่ายขึ้นและต้องเป็นการสื่อสารด้วยความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง มีความจริงใจ จ ที่สำคัญต้องพูดอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่เป็นการทำลายกัน อย่าไปตำหนิ หรือว่าเด็ก”

.ดร.นพ.นันทวัช พูดทิ้งท้ายถึงสถานการณ์หมดไฟทั้งในวัยเรียนและวัยทำงาน โดยมีมุมมองว่า การสอบแข่งขันไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต การผิดหวังกับความรักไม่ใช่ความล้มเหลวด้านความสัมพันธ์  ทุกคนต้องรู้จักถนอมน้ำใจและรักตัวเองให้เป็นในโลกแห่งความจริงทุกวันนี้  เพราะถ้าเราทุกคนทำได้ เชื่อว่าทุกคนจะมีจังหวะชีวิตที่เป็นของตัวเอง ที่สำคัญไม่ต้องคาดหวังแต่ทำให้เต็มที่ก็เพียงพอแล้

“โลกนี้ยังมีคนใจดีกับเราอีกมาก ขอให้หันมากอดตัวเอง ให้กำลังใจแต่ตัวเองและหากเราจะมองหา save zone คนที่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย จริงๆ แล้วเราเลือกได้ ว่าใคร คนไหนจะเป็น save zone ของเรา และsave zone ไม่จำเป็นต้องมีคนๆ เดียว”

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันดูแลจิตใจจำนวนมาก หากไม่อยากสื่อสารกับคนใกล้ชิดหรือครอบครัว เทคโนโลยีสามารถช่วยได้เช่นกัน  ทุกวันนี้มีแอปพลิเคชันดูแลใจใจของเราจากนักจิตวิทยา จิตแพทย์ที่ให้บริการ โดยที่ต้องไม่ด้อยค่าตัวเอมากมาย เพียงแค่ต้องคิดบวกไว้ก่อนเมื่อเจอปัญหาเข้ามา และต้องเชื่อมั่นเสมอว่าทุกคนมีคุณค่าในตัวเอง

แต่ถึงแม้จะมี ‘แอปพลิเคชันดูแลจิตใจ’ ออกมามากแค่ไหน ก็อาจไม่เท่าการพัฒนาคนให้แข็งแกร่งไปด้วยร่างกายและหัวใจที่มีสุขภาวะ นี่คือเหตุผลที่เป็นต้นน้ำสำคัญทำให้ สสส. ก่อตั้ง Thaihealth Academy สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ ขึ้นมา มีจุดมุ่งหมายทำให้ทุกคนในประเทศไทยมีศักยภาพดูแลตัวเองและส่งต่อพลังบวกผ่านวิธีการสื่อสารและวิธีคิดรูปแบบต่างๆ ทั้งทางหลักวิชาการ จิตวิทยาและการลงมือทำ เพื่อให้เกิดการตระหนักว่าคุณภาพชีวิตที่ดีเริ่มได้ที่ตัวเรา

“สสส. ตั้งใจว่าให้สถาบันนี้ สร้างประโยชน์ กระจายส่งไปให้ถึงคนทุกคนในสังคมได้อย่างชัดเจนมากขึ้น โดยการสร้างสุขภาวะ จะไม่เน้นแค่เรื่องเดียว แต่เน้นเป็นธีมใหญ่ไปเลย ทำให้ สสส. และภาคีมีชีวิต เพราะเป็นการสั่งสมประสบการณ์ และสามารถดึงหน่วยงานของ สสส. ที่มีองค์ความรู้จากการทำงานต่างๆ ให้สามารถใช้ต้นทุนเหล่านี้มาออกแบบพัฒนาหลักสูตร อัปเดตเนื้อหาให้ตรงกับผู้รับประโยชน์โดยตรงได้”

‘นักสร้างเสริมสุขภาพมืออาชีพ’ คือ หัวใจสำคัญที่  ThaiHealth Academy โดย สสส. ต้องการผลักดันและบ่มเพาะคนกลุ่มนี้ให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยการจัดฝึกอบรมหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาจากความต้องการของผู้เรียนจริงๆ เป้าหมายของการพัฒนาคนกลุ่มนี้คือการทำให้เกิดหลักสูตรที่ยั่งยืน ผู้เข้าอบรมส่งต่อและสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ เพื่อรวมพลังให้เกิดพาร์ทเนอร์หรือภาคีที่ยิ่งใหญ่ได้ โดยที่ใช้งานได้จริง ไม่ใช่แค่การสร้างขึ้นมาแล้วนำไปใช้ในชีวิตจริงไม่ได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า