Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ แนะผู้ปกครองพลิกวิกฤตเป็นโอกาสช่วงโควิด-19  ดูแลจิตใจลูกหลานผ่านเกมที่เน้นด้านอารมณ์ ความคิด และประพฤติกรรม เรียนรู้ความจำเป็นในชีวิต ชี้พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรแสดงอารมณ์ไม่เหมาะสมให้ลูกเห็น 

ช่วงที่รัฐบาลกำลังขอความร่วมมือประชาชนอยู่ในที่พักอาศัย เลี่ยงการออกไปในที่ชุมชน นอกจากผู้ใหญ่ต้องปรับตัวกับสถานการณ์การแล้ว ยังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนมากที่ไม่สามารถออกไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ อาจทำให้เกิดความเบื่อหรือเครียดขึ้นได้ พญ.ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต และผู้ช่วยผู้จัดการแผนงานพัฒนานวัตกรรมเชิงระบบเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส. กล่าวว่า พ่อแม่ผู้ปกครองควรรับมือปัญหานี้ด้วยการคุยกับลูกตรงๆ เล่าให้ลูกฟังว่ากำลังเผชิญปัญหาอะไร แนวทางการดูแลตัวเองที่ถูกต้องคืออะไร จะทำอย่างไรจึงจะผ่านพ้นเหตุการณ์นี้ไปได้ ไม่ควรห้ามลูกรับข้อมูลข่าวสารจากภายนอก เด็กๆ สามารถติดตามข่าวได้เป็นปกติ เพียงแต่พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้คำอธิบายอย่างใกล้ชิด และเปิดโอกาสให้ลูกพูดคุยแสดงความคิดเห็นบ่อยๆ

พญ.ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

พญ.ดุษฎี กล่าวว่า ในสถานการณ์วิกฤติ ผู้ใหญ่หลายคนอาจแสดงออกด้วยอารมณ์เครียด โกรธ เศร้า ผิดหวัง แต่อย่าลืมว่าควรหลีกเลี่ยงการแสดงออกอารมณ์เหล่านั้นให้เด็กๆ เห็น เพราะจะส่งผลให้เด็กเรียนรู้การแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม วิกฤติครั้งนี้ช่วยให้เรามองเห็นโอกาสหลายอย่าง มีโอกาสสร้างเสริมนิสัยการมีสุขอนามัยที่ดี โอกาสในการใช้ชีวิตให้ช้าลงเพื่อทบทวนว่าอะไรบ้างที่จำเป็นและสำคัญสำหรับเรา โอกาสที่ครอบครัวจะได้ใช้เวลาร่วมกันมากขึ้น ซึ่งแม้แต่เงินก็ซื้อเวลาคุณภาพเหล่านี้ไม่ได้

ด้านนายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า สิ่งที่ครอบครัวควรทำในช่วงนี้คือ การทำกิจวัตรประจำวันกับสมาชิกในครอบครัวให้คล้ายคลึงเดิมมากที่สุด คัดสรรกิจกรรมทางกายสนุกๆ ให้เด็กทำ เพราะวัยนี้ต้องการการออกแรง ควรหาเวลาให้เด็กออกไปวิ่งเล่นหรือขี่จักรยานข้างนอกตัวบ้านบ้าง เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นพิสูจน์ว่า กิจกรรมทางกายจะนำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี

อย่างไรก็ดีเด็กๆ ต้องหลีกเลี่ยงเครื่องเล่นในสวนสาธารณะหรือที่ต้องแชร์กับคนอื่น และที่เป็นประโยชน์มากๆ คือ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ได้รวบรวม “20 เกมเล่นในบ้าน ดูแลจิตใจ ต้านภัย Covid-19” และเผยแพร่ผ่านทางเฟซบุ๊กสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการสนับสนุนของ สสส. ให้เกิดกิจกรรมทางกายที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น อาทิ ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ จัดบ้านใหม่ แต่งนิยาย กิจกรรมดนตรี กีฬา จิตอาสา DIY ฝึกถ่ายรูป ฝึกตัดต่อ ฝึกเต้น ฯลฯ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเพียงอย่างเดียว

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ

นายชาติวุฒิ กล่าวว่า อีกหนึ่งประเด็นที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรย้ำกับเด็กๆ และเยาวชนก็คือเรื่อง COVID-19 Hero Prosocial Behavior หรือการเป็นฮีโร่ในช่วงโควิด-19 ด้วยการช่วยกักตัวอยู่ในบ้าน ทัศนคตินี้เองจะเป็นอีกหนึ่งแรงหนุนให้เด็กๆ รู้สึกภาคภูมิใจในการให้ความร่วมมือกับพ่อแม่ ตลอดจนได้เรียนรู้การทำหน้าที่พลเมือง สนับสนุนให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาวะและประเทศก้าวผ่านวิกฤตต่างๆ ไปได้ด้วยตัวของเขาเอง นอกจากนี้ สสส. ยังร่วมกับสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ทันสมัยและน่าสนใจ เสนอทางเลือกกิจกรรมทำอยู่บ้านเพื่อการมีสุขภาพจิตที่แจ่มใสสำหรับประชากรทุกช่วงวัย ผ่านช่องทางออนไลน์และทีวีสาธารณะ ซึ่งเราจะทำการประชาสัมพันธ์อีกครั้งในเร็วๆ นี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า