SHARE

คัดลอกแล้ว

 

“เรามีภาวะซึมเศร้ามา 4 ปีแล้ว และพยายามที่จะออกมาจากตรงนั้น แต่ก็มีบางครั้งที่ถลำดิ่งลงไป ก็เลยเป็นแบบเดี๋ยวทรงเดี๋ยวทรุดมาตลอด”

อาร์ทตี้ปฐพร ทรัพย์ไพฑูรย์ ยอมรับถึงประเด็นนี้ด้วยน้ำเสียงที่เริ่มสั่นเครือ

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นักข่าวจาก Bangkok Post คนนี้ได้รับการกล่าวถึงในโลกออนไลน์ จากการสไตล์การไลฟ์รายงานข่าวการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยที่โดดเด่นและเป็นธรรมชาติกว่านักข่าวที่สังคมคุ้นชินกันมาตลอด

ภาพเบื้องหน้าของอาร์ทตี้ที่ทุกคนรู้จัก คือชายหนุ่มผู้มีบุคลิกสนุกสนาน มั่นใจ และมีความสามารถในการรายงานข่าวและการแก้ปัญหาที่ผู้ชมต่างชื่นชม แต่เมื่อย้อนเข้าไปในใจ เขากลับยอมรับตามตรงว่า ตัวเองมีอาการของ Imposter Syndrome (ความรู้สึกว่าไม่ควรคู่กับความสำเร็จ) ที่คุกคามชีวิตจิตใจจนมีอาการของโรคซึมเศร้าตามมา

อาร์ทตี้บอกว่าไม่เคยเล่าเรื่องนี้ที่ไหนมาก่อนเพราะไม่อยากสร้างดราม่าแต่หากการเผยเรื่องราวในมุมเปราะบางของตัวเองจะมีประโยชน์ต่อคนที่เผชิญความรู้สึกเช่นเดียวกันได้เขาก็ยินดีอย่างยิ่ง

ความรู้สึกว่าไม่ดีพอ

ก่อนหน้านี้อาร์ทตี้เคยผิดหวังจากการไล่ตามความฝันหลายครั้ง ทั้งถูกตัดชื่อออกการประกวดร้องเพลง ถูกยกเลิกจากการเป็นพิธีกร และถูกตัดชื่อออกจากเป็นนักการทูตสองครั้ง เหตุการณ์หลังกลายเป็นบาดแผลในใจที่ทำให้เด็กหนุ่มที่สดใสมีคิดเสมอว่า ตัวเองไม่ได้มีความสามารถมากพอ

“ครั้งแรกเราไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรผิด ไม่รู้ครั้งที่สองที่อาจารย์มาบอกเหตุผลเราทีหลังว่าเพราะอะไร แล้วก็บอกเราว่า ไม่ว่าอยู่ที่ไหนเพชรก็คือเพชร แต่เราไม่เคยเชื่อตัวเองอีกเลยว่า เรามีความสามารถพอที่จะอยู่ที่ไหนก็ตาม มีความรู้สึกในหัวตลอดว่า ดีพอหรือยัง ดีไม่พอใช่ไหม และอาการก็เดี๋ยวทรงเดี๋ยวทรุดมาตลอด เราไม่เคยคิดว่าตัวเงอเก่งเลย เวลามีคนมาชมเราก็จะบอกว่า ไม่ เราไม่เก่ง อย่าชมเยอะ เพราะเราไม่เชื่อใจตัวเอง”

ความรู้สึกที่ว่านี้กัดกินใจจนตั้งคำถามกับตัวเองเสมอแม้ในวันที่มีชีวิตรายล้อมไปด้วยคำชื่นชม และความรู้สึกดำดิ่งก็กลับเข้ามาอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว

“แม้แต่ในวันที่คนชื่นชมเรา ก่อนนอนก็จะถามตัวเองว่า Have I achieve something today? What’s life worth living? (วันนี้ฉันทำอะไรสำเร็จบ้างไหม ชีวิตมีค่าอะไร) บางทีความรู้สึกแบบนี้มันไม่ได้บอกก่อนว่ามันจะมา บางทีวันนั้นตอนเช้าอาจจะรู้สึกเบิกบาน ซึ่งเราควรจะมีความสุข แต่เรากลับมองตัวเองแล้วนั่งมองเพดาน คิดว่าเราทำอะไรอยู่ มันเป็นแบบนี้มาตลอด”

เริ่มจากปิดโซเชียลมีเดีย

จากการสังเกตผู้คนในสังคมและตัวเขาเองอาร์ทตี้อธิบายว่าการเสพโซเชียลมีเดียมากเกินไปทำให้เกิดความเครียดความสับสนได้เขาเองก็เคยมีประสบการณ์เช่นนี้ไม่ต่างจากคนอื่น 

“เราเคยเกือบถลำลงไปในความสับสนคนใกล้ตัวก็บอกให้หยุดๆเราก็ยังเถียงเขาไม่หยุดๆกลายเป็นว่าทำไมเราไม่โปรเฟสชั่นนอลเหมือนตอนก่อนเล่นทวิตเตอร์ไม่ใช่ว่าทวิตเตอร์ไม่ดีไปเสียหมดแต่คนใช้ต้องใช้อย่างพอเหมาะไม่ตกเป็นเหยื่อของอะไรตามก็เหมือนกับทุกอย่างในชีวิตคือพอเหมาะอย่าไปเสพมากมันเครียด”

เขาแนะนำว่า การเอาตัวเองออกมาจากโลกข้อมูลข่าวสารที่ถูกคัดกรอง (filter bubble) เป็นเรื่องจำเป็นมาก สำหรับเขาที่ต้องทำงานกับโลกข้อมูลข่าวสารจำเป็นต้องจำกัดการใช้หรือปิดโซเชียลมีเดียสักพักเพื่อเป็นการดีท็อกซ์ชีวิตจิตใจอยู่เสมอ ตามคำแนะนำของหนังสือ Ten Arguments for Deleting Your Social Media Accounts Right Now ที่เขียนโดย Jaron Lanier นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ห่วงใยชีวิตของผู้คนภายใต้โลกโซเชียลมีเดีย

“อย่าไปเสพโซเชียลมีเดียเยอะ เพราะมันทำให้เกิดบับเบิลจริง ๆ หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้เราพยายามดีท็อกซ์ทุกเดือน เพราะเราใช้โซเชียลมีเดียทำงานตลอด เราบอกคนใกล้ตัวให้ลบเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ออกไป ลบอะไรก็ตามที่มันสร้างหรือกรอบข้อมูลข่าวสารให้เรา อย่าไปเสพมากเกินไป หรือลองไปสารคดีเรื่อง The Social Dilemma ของเน็ตฟลิกซ์ก็ได้ ว่าทำไมเราควรทำแบบนี้”

“เราเข้าใจนะในฐานะประชาชนที่อยากให้ประเทศดีขึ้นทำไมมันไม่ดีขึ้นทำไมอย่างนั้นอย่างนี้คือโซเชียลมีเดียทำให้โลกมันจะแตกทุกวันโลกในนั้นมันอาจกำลังจะแตกแต่โลกข้างนอกมันยังไม่แตกออกมาดูบ้างอาจจะทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นไปอยู่กับแมวก็มีความสุขอยู่กับสัตว์ไม่มี agenda มนุษย์ agenda เยอะ”

อ่านหนังสือ Self-help บ้างก็ได้

ก่อนหน้านี้อาร์ทตี้เคยปิดโซเชียลมีเดียไป 3 ปี ช่วงเวลานั้นเขาไปอ่านหนังสือมากขึ้น และกลายเป็นว่าช่วงหนึ่งที่อ่านหนังสือวรรณกรรมต่าง ๆ อย่าง The Raven ของ Edgard Allan Pole ที่มีเนื้อเรื่องหดหู่ เขาจึงกลับไปติดกับอารมณ์ความเศร้าอีกครั้ง จนต้องดึงตัวเองออกมาและลองเปิดใจอ่านหนังสือหนังสือแนวพัฒนาตัวเอง ที่สุดท้ายหนังสือประเภทนี้ดึงให้เขากลับมาอยู่กับโลกความจริงมากขึ้น

“ตอนแรกเกลียดหนังสือ Self-help มากแต่จริงๆแล้วมันมีประโยชน์นะหรือจะเป็นพวกหนังสือบริหารธุรกิจก็ได้อ่านแล้วทำให้เราสามารถจะมีชีวิตอยู่ระหว่างชีวิตในอุดมคติที่เราเรียนมากับชีวิตจริงๆได้ทำให้เราบาลานซ์ได้ไม่บ้าเกินไปคุณป้าเคยให้ฟังออดิโอบุ๊คของ Louis Hay ที่ชื่อว่า You Can Heal Your Life ตอนแรกเราก็คิดว่ามันคลีเช่รึเปล่าแต่พอฟังปุ๊บมันปลอดล็อคเราได้”

อยู่กับปัจจุบัน และเรื่องสำคัญ เวลานี้

อาร์ทตี้ค้นพบว่าเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเราเกิดความไม่สบายใจคือการที่รื้อฟื้นอดีตปล่อยใจไปอยู่กับอนาคตจนตัวตนหายไปจากปัจจุบันตรงหน้าซึ่งเป็นเวลาที่สำคัญที่สุด

“มีหนังสือเล่มหนึ่งเรื่อง Charisma Myth ที่บอกว่าการทำให้คุณไม่ใช่ชีวิตเร็วเกินไปคุณต้องระลึกถึงปัจจุบันง่ายๆเลยนะทุกคนทำพร้อมกันก็ได้ลองพยายามรู้สึกถึงปลายเท้าตัวเองคุณรู้สึกถึงมันได้หรือเปล่าถ้ากังวลมากก็จะไม่สามารถรู้สึกถึงปลายเท้าตัวเองได้เราเองอยู่กับปัจจุบันไม่ได้ตลอดทุกวันนะบางทีก็ต้องพยายามทำสมาธิสั้นๆ 10 นาที”

บางคนอาจต่อต้านการอ่านหรือทำตามวิธีในหนังสือประเภทนี้แต่สุดท้ายสิ่งสำคัญคือตัวเราเองหากเป็นวิธีที่ช่วยได้ก็ควรเปิดใจลองดู

“บางคนก็พยายามเข้มแข็งเกินไปบอกตัวเองว่าฉันฉลาดฉันเป็นหัวก้าวหน้าไม่อ่านหรือทำอะไรพวกนี้หรอกแต่มันช่วยคุณได้คนอื่นจะว่ายังไงก็ช่างแต่มันช่วยเราได้ไม่เห็นต้องไปตัดสินกันเลยใครที่เข้มแข็งตลอดคือคนที่สร้างภาพมนุษย์ก็คือมนุษย์อย่าพยายามเข้มแข็งตลอดเหนื่อยก็บอกว่าเหนื่อยหยุดบ้างแล้วลองนึกถึงปลายเท่าตัวเองดู”

อ่อนโยนกับตัวเอง

อีกหนึ่งวิธีสำคัญในการรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกเปราะบางที่เกิดขึ้น คือการอ่อนโยนกับตัวเองและรักตัวเองให้เป็น เขาเน้นย้ำว่า ‘ใครจะใจร้ายกับคุณไม่สำคัญเท่ากับคุณทำร้ายตัวเอง’

“วันไหนที่เราร้ายกับตัวเองเราต้องลุกขึ้นมารักตัวเองก่อนมีคำที่ท่องกับตัวเองเสมอว่าใครจะร้ายกับคุณไม่สำคัญเท่ากับคุณร้ายกับตัวเองซึ่งมันจริงที่สุดบางทีก็เลยยั้งๆมือหน่อยต้องไปมองตัวเองกับกระจกแล้วบอกว่าเราโอเคว่ะอาจจะยากอาจจะดูเข้าข้างตัวเองแต่มันต้องทำ”

วิธีผ่อนคลายความรู้สึกกดดันด้อยค่าหรือเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นในแบบของอาร์ทตี้คือคิดถึงประโยคง่ายๆที่ผ่อนคลายความรู้สึกได้จริง

“เวลาที่ได้คุยกับคนที่เขาอยู่ในเหนือกว่าเราคนที่เขารวยกว่าสวยหล่อกว่าเราหรือมีตำแหน่งอิทธิพลมากกว่าเราให้คิดว่า ‘ท้ายที่สุดแล้วทุกคนต้องนั่งอึเหมือนกันหรือกรีดเนื้อหนังออกมาก็สีแดงเหมือนกัน’ อย่าไปรู้สึกว่าเราด้วยค่า”

และแม้ความคิดในทำนองที่ไม่เห็นคุณค่าของตัวเองนี้เกิดขึ้นได้เสมอแต่สุดท้ายต้องไม่ลืมมองกลับไปหาคนที่เห็นคุณค่าของเรา

“เราชอบฉากหนึ่งในเรื่อง The Help ที่เอบิลีนซึ่งเป็นสาวใช้พูดกับเด็กผู้หญิงที่แม่ไม่รักเพราะเขาเกิดมาไม่สวยเหมือนแม่อบิเกลบอกเด็กคนนี้เสมอว่า ‘You is kind. You is smart. You is important.’ (หนูใจดีหนูเป็นคนฉลาดเฉลียวหนูเป็นคนสำคัญ) บางทีที่เรารู้สึกแย่อาจจะกลับไปดูอะไรแบบนี้บ้างเพราะวันที่เราไม่เห็นค่าตัวเองยังมีคนอื่นที่เขาเห็น”

ความใส่ใจจากคนรอบข้างช่วยได้

เมื่อเผชิญกับภาวะซึมเศร้า หลายคนเลือกปลีกตัวออกมาอยู่คนเดียว ไม่ยอมบอกเล่าหรือระบายความรู้สึกให้ใครฟัง แต่เขาอยากแนะนำให้คนที่ประสบความรู้สึกนี้มองไปที่คนรอบข้างที่รักเราก่อน และอย่ากลัวไปที่จะเดินไปหาคนเหล่านั้น

“เราเข้าใจนะว่าแม้มีคนรอบข้างที่ดีกับเราแต่ถึงจุดหนึ่งเราก็เกรงใจเขาไม่อยากเล่าให้ฟังบางครั้งก็มีพลาดที่อารมณ์ดำดิ่งไปแล้วว่า ‘หรือไปแล้วดี’ แต่สุดท้ายถ้ามองให้ดีก็ยังมีกำลังใจดีๆอยู่ตลอดจากคนที่รักเราซึ่งเราก็มีคุณยายคุณป้าแม่แฟนและเพื่อนเพราะฉะนั้นในวันที่ไม่เห็นค่าตัวเองขอให้โทรหาคนๆนั้นฟังความเห็นของเขาก่อนจบชีวิตหรืออะไรก็ตามก่อนจะเลือกทางนั้นคิดก่อนว่ามีทางอื่นหรือเปล่ามองหาคนที่ช่วยเราได้ก่อน”

อาร์ทตี้บอกเสมอว่าความใส่ใจและเข้าอกเข้าใจจากคนรอบข้างคือกำลังใจสำคัญของคนมีอาการของภาวะซึมเศร้า 

“ถ้าสังเกตเห็นว่าเพื่อนเราเริ่มแปลก ๆ ให้ใส่ใจและฟังเขา เขาอาจจะดูน่ารำคาญหน่อยไม่ยอมพูด แต่ลองถามไป แน่ใจนะ ๆ ไม่เป็นไรหรอก เล่าเถอะ แต่ก็มีเพื่อนบางคนที่เราเล่าไปแล้วเขาก็เหมือนไม่ได้ใส่ใจ เราก็ไม่อยากเล่า เพราะฉะนั้น empathy สำคัญที่สุด”

ไม่หายไม่เป็นไร ต้องอยู่กับมันให้ได้

ถึงตรงนี้ เขาเปิดเผยความรู้สึกของตัวอย่างตรงไปตรงมาว่า คำชื่นชมของคนมากมายในช่วงที่ผ่านมาไม่อาจเยียวยาบาดแผลให้หายไปได้ในฉับพลัน ความรู้สึกเจ็บปวดต้องใช้เวลาและการดูแลรักษาใจตัวเอง แม้ว่าจะไม่หายขาดแต่เขาก็เรียนรู้ที่อยู่กับความรู้สึกเหล่านี้และใช้ชีวิตต่อไป

“ต้องเรียนรู้ที่อยู่กับมัน มันอาจจะหายหรือเปล่าไม่รู้ อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ก็ประคองจิตใจตัวเองไป ยอมรับว่าทุกวันนี้เราก็ไม่ได้ดีขึ้นแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ส่วนเรื่องชื่อเสียงมามันแล้วก็ผ่านไปเป็นปกติ ทุกคนก็รู้ ดังนั้นคนที่อยู่รอบตัวซัพพอร์ตเราสำคัญที่สุด”

จังหวะเวลาในชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกัน

“อยากบอกว่า ทุกคนมีที่ยืน เวลาที่สังคมเปิดให้กับทุกคนมาถึงแล้ว อย่าอาย อย่ากดดันตัวเอง มันทำให้คุณไม่ไปถึงไหน ที่บอกว่าคุณต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่อย่างนั้นสังคมไม่ชอบคุณ แต่สังคมไม่ชอบคุณก็เรื่องของมัน ใจความสำคัญอยู่ที่ว่าคุณชอบตัวเองหรือเปล่า” อาร์ทตี้เน้นย้ำประเด็นนี้อีกครั้ง

ที่ผ่านมาเขาอาจต้องเผชิญความผิดหวังมาหลายต่อหลายครั้งแต่การเป็นที่รู้จักในวันนี้ก็ให้แง่คิดต่อตัวเขาเองและทุกคนว่า “จังหวะเวลา” ในชีวิตของแต่ละคนมีแตกต่างกันความรู้สึกล้มเหลวก็ไม่ได้อยู่ชีวิตตลอดไปซึ่งดูได้จากตัวอย่างชีวิตของเขาได้และสุดท้ายเขาขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน

“ใครจะรู้ว่าอาร์ทตี้ทำข่าวมาก็นานอยู่ๆก็มาเป็นที่รู้จักเราสาบานได้ว่าไม่เคยอยากดังในฐานะสื่อแต่มันดังของมันเองเพราะฉะนั้นจังหวะชีวิตของแต่ละคนต่างกันทุกคนมีความฝันอยากจะมีที่ยืนสักแห่งแต่เรื่องแบบนี้มีเวลาของมันอย่ากดดันตัวเอง”

คำแนะนำจากอาร์ทตี้

  • ปิดโซเชียลมีเดียบ้าง และทำ Social Media Detox ทุกเดือน
  • อ่านหนังสือ Self-help บ้างก็ได้ เปิดมุมมองใหม่ๆ
  • เล่นกับสัตว์เลี้ยงบ้าง
  • หากวันไหนใช้ชีวิตเร็วเกินไป หรือเกิดความกังวลใจ ให้ลองหยุดและรู้สึกถึงปลายเท้าตัวเองให้ได้
  • การอยู่กับปัจจุบันสำคัญที่สุด
  • วันไหนที่เราร้ายกับตัวเอง เราต้องลุกขึ้นมารักตัวเองก่อน
  • อ่อนโยนกับตัวเองบ้าง อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป
  • ในวันที่เราไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง ก็ยังมีคนอื่นที่เห็นคุณค่าของเรา
  • ถ้ามองให้ดี ยังมีกำลังใจดี ๆ อยู่ตลอดจากคนที่รักเราเสมอ
  • ถ้าสังเกตเห็นว่าเพื่อนเราเริ่มแปลก ๆ ให้ใส่ใจและฟังเขา
  • เมื่อไหร่ที่คิดเปรียบเทียบว่าตัวเองด้อยค่า ให้คิดเสมอว่า ‘ท้ายที่สุดแล้วทุกคนต้องนั่งอึเหมือนกัน หรือกรีดเนื้อหนังออกมาก็สีแดงเหมือนกัน’
  • จังหวะชีวิตของแต่ละคนต่างกัน มันก็มีเวลาของมัน อย่ากดดันตัวเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า