SHARE

คัดลอกแล้ว

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/221184109241024/?eid=ARDUv7ks-CF6_hycTnNBMpNmC13d-g3EEXii953aMzCkW8PMBbxx82mrd394fU_Pfw4_EEFt1JlkpN1a

กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย พบว่า คนไทยติดเชื้อโควิดเพิ่ม 111 ราย (ป่วยสะสม 1,045 ราย) ในจำนวนนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อสะสม 9 ราย

วันที่ 26 มี.ค.2563 กระทรวงสาธารณสุขแถลงสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 วันนี้มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 88 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 953 ราย เสียชีวิต 4 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 1,045 ราย ส่วนผู้ป่วยอาการหนักมี 4 ราย ทุกรายใส่เครื่องช่วยหายใจ และเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สำหรับผู้ป่วยที่พบเพิ่ม 111 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 29 ราย
– กลุ่มสนามมวย 6 ราย
– สถานบันเทิง 3 ราย
– กลุ่มผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 19 ราย
– กลุ่มผู้ร่วมพิธีทางศาสนาที่ประเทศมาเลเซีย 1 ราย
.
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 19 ราย ได้แก่
– กลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ/ชาวต่างชาติ 6 ราย
– กลุ่มผู้ทำงานหรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก หรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 9 ราย
– กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย และ
– กลุ่มอื่นๆ ตามเกณฑ์เฝ้าระวัง เช่น ปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุ 1 ราย
.
กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ได้รับผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อแต่อยู่ระหว่างรอประวัติและสอบสวนโรค 63 ราย

นพ.อนุพงศ์ สุจริตยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยสะสมเพิ่มขึ้นทะลุหลักพันเร็วกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้เล็กน้อย แต่ทั้งหมดยังทราบประวัติที่มาที่ไป โดยกลุ่มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ กลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายเก่าที่เคยรายงานแล้ว ทั้งกลุ่มสนามมวย กลุ่มสถานบันเทิง กลุ่มกลับจากงานบุญ พบประมาณ 20-30 รายต่อวัน แสดงว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในเรื่องการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) ในบ้าน ทำให้นำโรคมาแพร่ให้ แม่ พ่อ สามี ภรรยา ลูก หลาน
ส่วนผู้ป่วยรายใหม่ ยังเป็นกลุ่มเสี่ยง มีอาชีพทำงานสัมผัสกับชาวต่างชาติ ทำงานในสถานบันเทิง พบทั้งใน กทม.และต่างจังหวัด วันละประมาณ 10-20 ราย แสดงถึงความตระหนักเรื่อง การป้องกันตัวเองของประชาชนยังไม่ดีพอ ยังไม่งดการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ยังไปในพื้นที่คนแออัด ไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่หมั่นล้างมือ

ทั้งนี้ ยังพบผู้ป่วยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมาจากความรวดเร็วของระบบคัดกรองผู้ป่วย ผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวัง เมื่อได้รับรายงานผู้ป่วยเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคในพื้นที่จะเข้าไปค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเข้าระบบทันที ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ทำให้พบตัวเลขผู้ป่วยในกรุงเทพฯ และภาคใต้ได้ค่อนข้างสูง ส่วนภาคอื่นๆ ยังมีผู้ป่วยประปรายเนื่องจากประชาชนยังไม่งดการเดินทาง พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้กำชับให้สถานพยาบาลทุกแห่งเคร่งครัดมาตรการป้องกัน ควบคุมการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ที่สำคัญหากผู้ป่วยปกปิดประวัติการเจ็บป่วย ประวัติความเสี่ยง จะส่งผลให้ผู้ให้บริการ แพทย์ พยาบาล เสี่ยงติดเชื้อโรคไปด้วย หากเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ จะกระทบต่อระบบการรักษาพยาบาล ทำให้มีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ กลายเป็นผู้ป่วย เป็นกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง ต้องกักกันตัวเองทำให้ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วย

 

[คำถามสำคัญที่สื่อมวลชนถาม ]

1) อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ
นพ.อนุพงศ์ สุจริตยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 วันนี้ 3 ราย รวมติดเชื้อสะสม 9 ราย เคสแรกๆ เกิดที่โรงพยาบาลเอกชนหมอไม่ทราบเลย เพราะผู้ป้วยอาการค้ายไข้เลือดออกจึงไม่ได้ใส่เครื่องป้องกันที่ดีพอ บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงการลงพื้นที่สอบสวนโรคยิ่งมีความเสี่ยง

“ทีมสอบสวนโรคที่ลงพื้นที่ไปสอบสวนผู้ป่วยมีความเสี่ยงมาก สธ.ย้ำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันให้ครบ ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งไม่บอกประวัติว่าได้ไปในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ทำให้หมอไม่ตระหนักพอจึงได้รับเชื้อ หากหมอแต่งชุดป้องกันเต็มที่อาจจะอึดอัดแต่สามารถป้องกันตัวเองได้” นพ.อนุพงศ์ กล่าว

2) ผู้บริหารโรงพยาบาลแห่งหนึ่งป่วยโควิด-19 มีรายงานหรือไม่
นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าอยู่ในจำนวน 9 รายนี้หรือเปล่า ตอนนี้เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแพทย์ทำงานหนักตลอดระยะเวลา 3 เดือน ไม่สามรถเปลี่ยนมือได้ โอกาสเสี่ยงมีมาก เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก ที่ผ่านมา สธ.ย้ำเตือนให้บุคลากรทางการแพทย์ดูแลตัวเองให้ดีที่สุด

3) เพจหมอแล็บแพนด้าจะนำรถโมบายออกตรวจเชื้อโควิด-19 ตามบ้าน ตรงนี้มีความปลอดภัยหรือไม่
นพ.อนุพงศ์ กล่าวว่า ไม่มีความปลอดภัย แต่เราไม่ทราบในรายละเอียด สมมุติว่า เก็บตัวอย่างสดสารคัดหลั่ง หากคนที่ไปเก็บไม่มีความรู้จะมีโอกาสติดเชื้อสูง แต่ถ้านำตัวอย่างไปตรวจกับชุดตรวจสอบเร็วจะปลอดภัยกว่า แต่คนที่แปลผลการตรวจต้องเป็นแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหน่วยงานโดยตรงที่ทำการประเมินรับรองห้องตรวจมาตรฐานที่มีกว่า 40 แห่งทั่วประเทศ และจะมีเพิ่มขึ้นอีกเพื่อรองรับสถานการณ์

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า