Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รองนายกฯ ‘วิษณุ’ ชี้แจง “ยุบศบค.” ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะจะยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข

วันที่ 8 ก.ย. 2564 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเตรียมยุบ ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) ว่า “ไม่ควรใช้คำว่ายุบ”

นายวิษณุ อธิบายว่า ศบค.เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน) โดยขณะนี้รัฐบาลกำลังขอแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขได้ โดยแยกจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ 2548 ที่ใช้รวมกับเหตุการณ์ฉุกเฉินหลายเรื่อง ที่เริ่มจากใช้กับการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ แต่สามารถนำไปใช้ในกรณีเกิดภัยพิบัติ โรคระบาด

อนุโลมใช้กับโรคระบาด แต่เมื่อใช้ไประยะหนึ่งเมื่อเห็นว่าไม่ค่อยตรง จึงคิดว่าควรแก้กฎหมายโรคติดต่อ เพื่อรองรับเวลามีโรคระบาด เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ที่ต้องมีมาตรการต่างจากด้านอื่น

“อย่าไปคิดว่าเรื่องยุบศบค. เป็นเรื่องใหญ่ จะต้องยุบหรือไม่ยุบ เพราะไม่ใช่ว่ายุบไปแล้ว จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น อาจจะมีและใหญ่กว่า ศบค.ด้วยก็เป็นได้”

รองนายกฯ ด้านกฎหมาย กล่าวเพิ่มเติมว่า หากประกาศใช้สถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ ก็ไม่ต้องใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อไม่ใช้ ศบค.ก็ไม่มีความจำเป็น แต่อาจจะเปิดศูนย์ใหม่ขึ้นมา ตามกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข

โดยสรุป ศบค. เกิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เมื่อหยุดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ศบค.ต้องเลิก ส่วนนายกรัฐมนตรีหรือใครจะนั่งเป็นประธานก็แล้วแต่ ทั้งนี้ศบค. ที่แปลงสภาพ ยังทำงานต่อได้ เพราะในบทเฉพาะกาลเขียนว่าในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร คำสั่งเก่าก็ยังใช้อยู่ ในระหว่างที่รอ ‘พ.ร.บ.โรคติดต่อฉบับใหม่’ ออกมา

“ไม่ใช่การยกเลิกพ.ร.ก. แต่ยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ร.ก.คือตัวกฎหมาย ถ้าเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น ให้ครม. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้พ.ร.ก. มีตั้งแต่ปี 2548 ประกาศทีละ 3 เดือน 2 เดือน หรือ 1 เดือน แต่เมื่อต้องการหยุดเรื่องนี้ เพื่อให้มีสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขขึ้นมา เพราะสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 ใช้ครอบจักรวาล โดยใช้มาตราเดียวกันหมด และในช่วง 1 ปี เริ่มเห็นว่ านำมาใช้ได้ แต่อาจจะไปต่อไม่ได้” นายวิษณุ กล่าว

ส่วนเรื่องนี้จะมีการหารือในที่ประชุมศบค.ใหญ่ วันที่ 10 ก.ย.นี้ หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มี เป็นการประชุมทั่วไป พิจารณาเพิ่มมาตรการให้เข้มขึ้น หรือเบาลง หรือจะผ่อนคลายบ้าง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า