SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 วันที่ 20 มี.ค.2563 กระทรวงสาธารณสุขยืนยันพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 50 ราย รวมยอดสะสมในไทย 322 ราย ยืนยันมีความพร้อมที่จะดูแลรักษาผู้ป่วย ขอความร่วมมือผู้สัมผัสเสี่ยงสนามมวยกักตัว 14 วันเพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อ

วันที่ 20 มี.ค.2563 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงยืนยันพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่มอีก 50 ราย ยอดรวมผู้ติดเชื้อ 322 ราย, หายแล้ว 43 ราย, กำลังรักษา 278 ราย และเสียชีวิต 1 ราย

ผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่ม 1 ผู้สัมผัสใกล้ชิด (41 ราย)
– สนามมวย 18 ราย กระจายสู่ต่างจังหวัด
– สถานบันเทิง 5 ราย มีทั้งพนักงานและคนท่องเที่ยว สถานที่คือเขตทองหล่อและรามคำแหง
– สัมผัสกับผู้ป่วย 12 ราย เป็นผู้สูงอายุ นักศึกษา แม่บ้าน ตำรวจ และเด็กเล็ก 6 เดือน
– ผู้ร่วมกิจกรรมทางศาสนา 6 ราย อยู่ที่ปัตตานีและสงขลา

กลุ่ม 2 ผู้ป่วยรายใหม่ (9 ราย)
– คนไทยเดินทางกับจากอังกฤษ 2 ราย เป็นนักศึกษาและพนักงานข้าราชการ
– ชาวเมียนมา 2 ราย
– ผู้ทำงานใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ 2 ราย
– รอผลตรวจ 3 ราย

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับสนามมวยและร่วมพิธีทางศาสนาจะพบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ร่วมกิจกรรมเหล่านี้ต้องไปรายงานตัว ตอนนี้จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 76.7 อยู่ที่กรุงเทพฯ และจะมีการกระจายไปหัวเมืองหลักๆ ภูมิภาค หรือภูมิลำเนา  กลุ่มคนเหล่านี้ต้องนำหลักสาธารณสุขไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด หากป่วยจะต้องไปพบแพทย์ 

ด้าน ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ยืนยัน กระทรวงสาธารณสุขได้แบ่งงานกันทำอย่างชัดเจนเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 มีการประชุมร่วมผู้ที่เกี่ยวข้องทุกเครือข่ายเพื่อเตรียมพร้อมทั้งเรื่องของโรงพยาบาล มีเตียงกว่า 1,600 เตียง ทั้งโรงพบาลเอกชน โรงเรียนแพทย์ และโรงพยาบาลในสังกัด กทม. มีการสำรองสถานพยาบาลพิเศษ มีโรงแรมที่จะเข้ามาร่วมเสริมรับผู้ป้วย โดยสัปดาห์หน้าจะมีการย้ายผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในโรงแรม

“เราจะประมาทไม่ได้ คนที่อยู่ใกล้ชิดมีความเสี่ยงเป็นพาหะ เราต้องป้องกันตัวเองอยู่เสมอ บางคนกลัวสถานที่ เช่น สนามมวย และทองหล่อ แต่ความจริงเชื้อไม่ได้อยู่ที่นั่นแล้ว เชื้อโรคเดินทางไปกับคน ไปตามสถานที่ต่างๆ แล้ว ดังนั้นทุกคนต้องป้องกันตัวเอง” รมช.สาธารณสุข กล่าว

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงข้อสงสัยยาต้านไวรัส 2 ชนิด คือ ยาอาวีแกน (Avigan) และยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) ว่า ยาทั้งชองชนิดนี้เป็นยาตัวเดียวกัน ต่างกันที่เครื่องหมายการค้า ประเทศไทยมีการนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แล้วจำนวน 40,000 เม็ด ได้มีการกระจายยาไปแล้วทั่วประเทศ และสำรองไว้ในกรุงเทพฯ 20,000 เม็ด จัดทำระบบการเบิกจ่ายพร้อมคู่มือการชัดยาไว้อย่างชัดเจน
.
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงข้อสงสัยยาต้านไวรัสยาอาวีแกน (Avigan) และยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) ว่า ยาทั้ง 2 ชนิดเป็นยาตัวเดียวกัน ต่างกันที่เครื่องหมายการค้า โดยประเทศไทยมีการนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ เพื่อรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 40,000 เม็ด กระจายยาไปแล้วทั่วประเทศ และสำรองไว้ในกรุงเทพฯ 20,000 เม็ด จัดทำระบบการเบิกจ่ายพร้อมคู่มือการใช้ยาไว้อย่างชัดเจน
.
ทั้งนี้ กรมการแพทย์ได้ออกคู่มือของการใช้ยา เป็นสูตรยาเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่ 80% ไม่ต้องใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ มีแค่ 20% ที่ต้องใช้ยา ในจำนวนนี้แบ่งเป็น 10% ใช้ยากลุ่มพื้นฐาน ดังนั้น ยาฟาวิพิราเวียร์จะใช้ในผู้ป่วยหนัก โดยแพทย์จะเป็นผู้ประเมิน
.
อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงผลข้างเคียงของยาว่า ยาต้านไวรัสเป็นยาประคองอาการและไม่ให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวได้ และยาทุกตัวมีอาการข้างเคียง อาจส่งผลต่อตับ ไต เพราะฉะนั้นก่อนจ่ายยาแพทย์จะประเมินผู้ป่วย

 

เตรียมใช้โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียนรับผู้ป่วยโควิด-19

ขณะที่ นพ.สุกิจ ศรีทิพยวรรณ รอง ผอ.สำนักการแพทย์ (ปฏิบัติงานด้านการศึกษาแพทย์) กทม. เปิดเผยว่า ได้มีการเตรียมพื้นที่ทั้งหมดของโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ให้เป็นจุดที่รับผู้ป่วยยืนยันที่มีอาการไม่มากจำนวน 103 เตียง ณ วันนี้มีเตียงพร้อมใช้งาน 43 เตียง และจะมีการนำอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปเสริมจนครบจำนวนเตียงทั้งหมด 103 เตียง ยืนยันว่า ศักยภาพทางการแพทย์ไทยไม่แพ้ใครในโลก แต่สิางสำคัญคือความร่วมมือจากทุกคน


.

เมื่อถามว่า การกระจุกตัวของผู้ป่วยส่วนใกญ่อยู่ใน กทม. แสดงว่า กทม. เสี่ยงกว่าต่างจังหวัดหรือไม่
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย. อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า ความเสี่ยงแตกต่างกันชัดเจนอยู่แล้ว สภาพปัญหาโดยรวมร้อยละ 76.7 หรือเกือบ 80% อยู่ที่กรุงเทพฯ  นโยบายของรัฐบาลจึงให้มีการจำกัดการเคลื่อนไหว คนกลุ่มเสี่ยงหากไม่มีความจำเป็น ควรจะกักตัวเองอยู่ที่บ้านมากกว่า รวมถึงป้องกันตัวเองและครอบครัวตามแนวทางปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข

นพ.สุวรรณชัย อธิบายถึง เคสเด็กเล็ก 6 เดือน ที่ติดเชื้อวันนี้ว่า การรักษาเป็นไปตามมาตรฐาน คนกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ คนมีโรคประจำตัว เด็กเล็ก ไม่ควรออกไปนอกบ้านในช่วงนี้ โดนเฉพาะกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ๆ แต่เมื่อออกไปแล้วเข้าบ้านก็ให้รีบล้างมือก่อนเป็นอันดับแรก กลุ่มคนเปราะบางเวลาป่วยรักษาหายยาก เพราะความรุนแรงจะสัมพันธ์กับสภาพร่างกายและโรคประจำตัว

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า