SHARE

คัดลอกแล้ว
สัปดาห์นี้จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 27-31 พ.ค. มีวาระสำคัญในการพิจารณาพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) 4 ฉบับ และอีก 1 ร่าง พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายปี 2563
 
ในส่วนของ พ.ร.ก.สำคัญ 3 ฉบับ ประกอบด้วย
 
1.พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 (พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท)
 
2. พ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2563 ( พ.ร.ก.ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือ Soft loan ผ่านสถาบันการเงิน เพื่อช่วยธุรกิจ SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท)
 
3.พ.ร.ก.การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ.2563 (หรือ พ.ร.ก.ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งกองทุน BSF หรือ Corporate Bond Stabilization Fund เสริมสภาพคล่องให้กับผู้ออกตราสารหนี้ที่มีคุณภาพดี หรือ พยุงหุ้นกู้เอกชน ซึ่งคือกลุ่มธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ในวงเงิน 4 แสนล้านบาท)
 
รวมวงเงินจาก พ.ร.ก.ทั้ง 3 ฉบับนี้จะอยู่ที่ 1.9 ล้านล้านบาท
 
หากดูจากหน้าข่าว ส.ส.หลายคนโดยเฉพาะซีกฝ่ายค้านมักจะเรียกรวมกันว่า พ.ร.ก. กู้เงิน 1.9 ล้านล้านบาท แต่ใน พ.ร.ก.ฉบับแรก จะระบุชัดเจนในมาตรา 3 ว่า การกู้เงินมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท
 
ถ้าอย่างนั้นอีก 9 แสนล้านบาทมาจากไหนถ้าไม่ใช่เงินกู้
 
ศรัณยกร อังคณากร รองผู้อำนวยการ ฝ่ายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย อธิบายว่า เงินในส่วน 9 แสนล้านที่ธนาคารแห่งประเทศไทยนำมาดำเนินการไม่ใช่เงินกู้ แต่คือการนำเอาสภาพคล่องที่มีเยอะเกินมาเพิ่มช่องทางในการปล่อยเงินเข้าระบบมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสภาพคล่องเกินเป็นหลักล้านล้าน โดย 9 แสนล้านเป็นเพียงการตั้งกรอบของโครงการไว้ ส่วนจะใช้จริงเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
 
ส่วนที่แตกต่างกันของธนาคารแห่งประเทศไทยกับรัฐบาล คือ ธนาคารกลางมีเงินอยู่แล้ว เพียงแต่จะปล่อยให้ใครเท่าไรในแต่ละช่วง แต่รัฐบาลไม่ได้มีเงินด้วยตัวเองจึงต้องหารายได้จากเงินภาษี ถ้ารายได้ไม่พอก็ต้องกู้เงิน
 
“ธนาคารแห่งประเทศไทยเหมือนธนาคารที่มีคนมาฝากเงินกับเราอยู่แล้ว เราก็เอาเงินส่วนอันนั้นไปปล่อยกู้ต่อได้ วันหนึ่งก็จะได้เงินคืนมา เพราะเป็นเงินให้เขายืมชั่วคราวสุดท้ายก็ได้คืนทุกบาท ในขณะที่การดำเนินการของรัฐบาล จะเป็นเหมือนการให้เลย เช่น การจ่ายเงินเยียวยา หรือการลดภาษี รัฐบาลจะไม่ได้เงินกลับมาในแบบการใช้หนี้คืน”
 
สรุปได้ว่า ในวงเงินที่ตั้งเอาไว้ในการเยียวยาและกอบกู้ผลกระทบจากโควิดจะมีวงเงินรวม 1.9 ล้านล้านบาท (ยังไม่รวมโยกงบประมาณปี 2563 อีก 8.8 หมื่นล้านบาท) เป็นเงินที่ต้องกู้มาจริงๆ คือ 1 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในวงเงิน 1 ล้านล้านนี้ บัญชีแนบท้ายพ.ร.ก.จะระบุไว้ว่า จะใช้สำหรับเรื่องอะไร จำนวนเท่าใด ซึ่งมีการแบ่งเป็น
 
1.แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข 45,000 ล้านบาท
 
2.แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และ ชดเชยให้กับประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 555,000 ล้านบาท ซึ่งก็คือ เงินเยียวยาส่วนที่มีการจ่าย เดือนละ 5 พันบาท 3 เดือน นั่นเอง
 
3.แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 400,000 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียด เช่น
– แผนงานลงทุนพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
– แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน
– แผนงานหรือโครงการเพื่อส่งเสริม
– แผนงานกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนและเอกชน, .แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
 
ส่วนที่จะเป็นไฮไลต์ในการอภิปรายในสภาก็คือ ส่วนหลังสุด 4 แสนล้านบาท ที่ฝ่ายค้านมองว่าเป็นการตีเช็คเปล่า ขอวงเงินไว้ก่อนแล้วเอาโครงการไปใส่ภายหลัง โดยที่ยังไม่มีรายละเอียดใดๆ ให้จับต้องได้
 
นี่เป็นข้อมูลเบื้องต้นก่อนติดตามการอภิปรายในสภา ระหว่าง 27-31 พ.ค. นี้
ฟังประกอบข้อหาทางการเมืองว่าด้วยการ “ตีเช็คเปล่า” จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถึง รัฐบาลประยุทธ์ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า