Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ป่วยที่ใช้สารสกัดน้ำมันกัญชาทางการแพทย์ ต้องได้รับการสั่งจ่ายโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรมของกรมการแพทย์ และกรมการแพทย์แผนไทย

วันที่ 21 พ.ค.2562  กระทรวงสาธารณสุขคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยสารสกัดน้ำมันกัญชา ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถนำมาใช้รักษาโรคได้ด้วยตนเอง ต้องได้รับการรักษา สั่งจ่ายและควบคุมจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรของกรมการแพทย์และกรมการแพทย์แผนไทย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัย ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิผล มีความเป็นธรรมในการเข้าถึงการรักษา

นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมการแพทย์จัดอบรมการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แก่แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร ทั้งหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข และนอกกระทรวงสาธารณสุข อาทิ กรุงเทพมหานคร กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สภากาชาดไทย มหาวิทยาลัย เอกชนและบุคคล ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 กำหนดจัด 6 รุ่น ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน และรุ่นพิเศษสำหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 17 – 18 มิถุนายน 2562 ขณะนี้อบรมรุ่นที่ 1 แล้ว มีผู้ผ่านการประเมิน 175 คนจากที่เข้ารับการอบรม 192 คน รุ่นที่ 2 จะอบรมวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2562

ขณะนี้เปิดลงทะเบียนออนไลน์รุ่นที่ 3 – 6 พร้อมกันทางเว็บไซต์กรมการแพทย์ http://www.dms.moph.go.th/dms2559 จำนวนรุ่นละ 300 คน และได้ให้กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก อบรมวิทยากร ครู ก หลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์แผนไทย แก่แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ เภสัชกร หมอพื้นบ้าน เมื่อวันที่ 29 – 30 เมษายน 2562 มีผู้ผ่านการประเมิน 157 คนจากที่อบรมทั้งหมด 172 คน โดยวิทยากร ครู ก จะไปขยายผลอบรมแก่บุคลากรในระดับเขตสุขภาพ และกทม. ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562

ทั้งนี้ในการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันใช้ในการดูแลรักษาและควบคุมอาการของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานแล้วไม่ได้ผล ไม่แนะนำให้ใช้เป็นการรักษาเริ่มต้นโดยใช้รักษาใน 3 กลุ่ม คือ

1.สารสกัดกัญชาได้ประโยชน์ในการรักษาซึ่งมีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนชัดเจน ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายากและที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภาวะปวดประสาทที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

2.สารสกัดกัญชาน่าจะได้ประโยชน์ในการควบคุมอาการ ซึ่งควรมีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนหรือการวิจัยเพิ่มเติม เช่น โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรควิตกกังวล โรคปลอกประสาทอักเสบ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

3.สารสกัดกัญชาอาจมีประโยชน์ในการรักษาแต่ยังขาดข้อมูลจากการวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอในด้านความปลอดภัยและประสิทธิผล ซึ่งต้องศึกษาวิจัยในหลอดทดลองและสัตว์ทดลองก่อนนำมาศึกษาวิจัยในมนุษย์ เช่นการรักษามะเร็ง และโรคอื่น ๆ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า