SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษขอความร่วมมือประชาชนงดใช้รถยนต์ส่วนตัวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน เผยค่า PM 2.5 ปีนี้ดีกว่าปีที่ผ่านมา ชี้ควันรถยนต์เป็นสาเหตุหลักอากาศพิษ เตรียมออกออกกฎหมายสะอาด ควบคุมค่าฝุ่น ควันพิษจากรถยนต์ 

วันที่ 8 ม.ค.2563 นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ให้สัมภาษณ์ในรายการเวิร์คพอยท์ทูเดย์ถึงสถานการณ์ฝุ่นพิษที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในขณะนี้ว่า จริงๆ แล้วฝุ่น PM 2.5 มีอยู่ตลอดเวลา ทุกวัน มีมาหลายปีแล้ว แต่เราเพิ่งมีเครื่องมือวัดคุณภาพตรวจสอบได้ และช่วงนี้เป็นช่วงที่อากาศเย็น ความกดอากาศสูงกดทับในช่วงเดือนธันวาคม มกราคม และต้นเดือนกุมภาพันธ์ เมื่ออากาศกดทับทุกสิ่งทุกอย่างจะอยู่ภายใต้มวลอากาศ เหมือนมีฝาชีมาครอบกรุงเทพฯ เพราะฉะนั้นค่าฝุ่น ควัน และทุกๆ อย่างจะระบายได้ยากและต้องใช้ระยะเวลานาน หากเป็นวันที่ไม่มีลม หรือลมอ่อนจะทำให้เกิดปัญหาในการแก้ไขฝุ่น PM2.5

ประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

“วันนี้สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องทำและควบคุมคือแหล่งกำเนิด PM2.5 คือ ยานพาหนะ ข้อมูลล่าสุดพบว่าเกิดจากควันรถยนต์ 72.5% เมื่อทราบแหล่งกำเนิดจากรถยนต์แล้วทางรัฐบาลได้สั่งให้แก้ไขด้วยการออกมาตราการต่างๆ ดูปัญหาที่เกิดขึ้นจากยานพาหนะและการเผาในที่โล่งซึ่งต้องเร่งแก้ไขปัญหา แต่ถ้าเปรียบเทียบค่าฝุ่นวันนี้กับช่วงเดียวของปีที่แล้ว ถือว่าปีที่แล้วหนักกว่ามาก ดูจากจำนวนวันที่ค่าเกินมาตรฐานมากกว่า สาเหตุที่เกิดขึ้นมาจากอากาศ ปีนี้อากาศส่งผลให้ค่าฝุ่นสูงขึ้น รถยนต์ก็เพิ่มมากขึ้น และในกรุงเทพฯ มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า เชื่อว่าทุกหน่วยงานเร่งแก้ไขปัญหาให้ฝุ่นเกินค่ามาตรฐานตามปัจจัย สถานการณ์ปีนี้ดีกว่าปีที่แล้ว และไม่อยากให้ประชาชนตื่นตระหนกมากนัก” อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าว

เมื่อถามถึงการแก้ปัญหาระยะยาวแบบเป็นรูปธรรม อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะยาว มี 3 มาตรการ วิธีง่ายๆ คือ หยุดใช้รถยนต์มาทำงาน ถ้าไม่ช่วยกันก็ไม่มีใครช่วยได้ เพราะ 72.5% ของฝุ่นพิษมาจากรถยนต์ จึงอยากขอร้อง ขอความร่วมมือ เพราะเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนในการทำ การแก้ปัญหาต้องใช้ระยะเวลา ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้เริ่มทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้วด้วยการงดใช้รถยนต์ส่วนตัวในการเดินทางไปทำงานทุกวันพุธ เพียงสัปดาห์ละ 1 วัน พนักงานของกรมควบคุมมลพิษมี 500 คน รถยนต์ทั้งหมด 128 คัน แต่สำหรับคนที่ไม่พร้อมก็ไม่ได้บังคับกัน ไม่เป็นไร เป็นการขอความร่วมมือ

รายงานพลังงานของประเทศไทย 2549 กระทรวงพลังงาน, รายงานโครงการติดตามและประเมินสถานการณ์การเผาในที่โล่งในพื้นที่การเกษตรของประเทศไทย 2548 กรมควบคุมมลพิษ, ระบบฐานข้อมูลแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศและเสียงในประเทศไทย 2537 กรมควบคุมมลพิษ

นายประลอง เชื่อว่า หากประชาชนทุกคนให้ความร่วมมือตามมาตรการต่างๆ และเมื่อระบบขนส่งไทยพร้อมทุกด้าน ในปี 2565 ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จะลดลง เพราะเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2562 เคยทำมาแล้ว กรมควบคุมมลพิษได้ประชุมร่วมกับ กทม. เพื่อแก้ปัญหาฝุ่นพิษ โดย กทม.ได้สั่งปิดโรงเรียนตอนบ่าย จำนวน 437 โรงในกรุงเทพฯ ให้ผู้ปกครองมารับบุตรหลานกลับบ้าน หยุดเรียน 2 วัน ปรากฎว่าค่าฝุ่นลดลง เพราะพ่อแม่ได้ไปรับไปส่งลูกที่โรงเรียน รถไม่ติด นั่นหมายความว่า เมื่อไรก็ตามที่เราลดปริมาณรถยนต์ลงจะช่วยเรื่อง PM2.5 ได้มาก

ระหว่างนี้กรมควบคุมมลพิษกำลังดำเนินการเรื่องกฎหมายสะอาดเพื่อคุมเข้าเรื่องฝุ่น PM 2.5 และตรวจเข้มรถยนต์มากขึ้น หากพบรถยนต์คันไหนก่อให้เกิดมลพิษจะถูกจับปรับตามกฎหมาย เป็นกฎหมายแต่ยังไม่ได้ทั้งหมด เบื้องต้นจะขอความร่วมมือ ทำความเข้าใจ และคุมเข้มในส่วนที่ทำได้โดยเฉพาะส่วนราชการขอความร่วมมือให้ปรับปรุงเครื่อง เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ไม่ควรปล่อยให้มีค่าฝุ่นควันให้เกินค่ามาตรฐาน ช่วงนี้อากาศเย็นจัด ร้อนจัด ซึ่งเราควบคุมอากาศไม่ได้ แต่สิ่งที่เราควบคุมได้คือ เรื่องของรถยนต์ เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายต้องเร่งดำเนินการเข้มงวดในหน้าที่ของตนเอง กรมควบคุมมลพิษมีหน้าที่ออกมาตรการ แนวทาง และข้อบังคับให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการ

 

PM 2.5 คือ ฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 หากจะพูดภาษาบ้านๆ ก็คือ ฝุ่นละเอียด กลายเป็นชื่อที่คุ้นหูคนไทยมากขึ้น มีลักษณะเป็นเขม่าควัน หรือไอเสียจากการเผาเชื้อเพลิงต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายเพราะสามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราทางการหายใจได้มากกว่าฝุ่นขนาดใหญ่

สาเหตุการเกิด PM 2.5   หลายสถาบันวิจัยทั้งไทยและต่างประเทศต่างวิเคราะห์ วิจัยสาเหตุของการเกิด PM2.5 ที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ ทั้งจากเครื่องยนต์ของยานพาหนะต่างๆ และการเผาวัสดุต่างๆ ข้อมูลจากกรมมลพิษ และกระทรวงพลังง พบว่า สาเหตุของ PM2.5 ในประเทศไทยมาจาก ‘การเผาในที่โล่ง’ เป็นแหล่งกำเนิดของ PM2.5 มากที่สุด ตามด้วยอุตสาหกรรมการผลิต และการขนส่ง โดยภาคการผลิตไฟฟ้านั้นเป็นแหล่งกำเนิด PM2.5 ในอันดับที่ 4

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า