SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมมลพิษ สรุปการตรวจสอบตรวจจับรถควันดำในพื้นที่ กทม.ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงปัจจุบัน พบรถยนต์มีควันดำเกินค่ามาตรฐานจำนวน 1,274 คัน

วันที่ 23 ก.พ. 2562 นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ(อคพ.) เปิดเผยว่า คพ.ยังคงเฝ้าระวังและดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ โดยเข้มงวดการตรวจสอบตรวจจับและห้ามใช้รถควันดำซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการควบคุมป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จากการใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล

นายประลอง กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานหลายพื้นที่ โดยเริ่มมีปริมาณสูงเกินค่ามาตรฐานต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 20-29 ธันวาคม 2561 มีค่าอยู่ระหว่าง 31-104 ไมโครกรัมต่อลูกบาศ์กเมตร ตั้งแต่ขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา คพ.ได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบและห้ามใช้รถควันดำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยจัดชุดปฏิบัติการพิเศษ 7 ชุด เข้าร่วมกับกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) ตรวจสอบตรวจจับรถควันดำครอบคลุมพื้นที่ 50 เขตของกรุงเทพมหานคร เป็นประจำทุกวัน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 ถึงปัจจุบัน เรียกรถตรวจสอบ 4,821 คัน เป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่ตามพระราชบัญญัติขนส่ง พ.ศ. 2522 จำนวน 3.597 คัน

มีควันดำเกินค่ามาตรฐานจำนวน 1,274 คัน (ร้อยละ 35) รถยนต์ขนาดเล็กตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ เรียกตรวจสอบ จำนวน 1,224 คัน ควันดำเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด 293 คัน (ร้อยละ 24) พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวกับรถที่มีควันดำเกินค่ามาตรฐานเป็นเวลา 30 วัน ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

นายประลอง กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าของรถหรือผู้ขับขี่ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราว ได้นำรถไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีสภาพสมบูรณ์ไม่ปล่อยควันดำเกินมาตรฐานและนำไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพร้อมยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะชั่วคราวแล้วจำนวน 131 คัน (ร้อยละ 45) ซึ่งทำให้ลดการปลดปล่อยควันดำหรือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่จากการใช้รถยนต์ดีเซลออกสู่บรรยากาศได้ ช่วยให้คุณภาพอากาศดีขึ้น สำหรับรถอีกส่วนหนึ่งเนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาที่สั่งให้แก้ไขปรับปรุง หรือเป็นรถต่างจังหวัดที่วิ่งเข้ามาในกรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษจะได้ติดตามให้ผู้ขับขี่มายกเลิกคำสั่งห้ามใช้ชั่วคราวต่อไป

ทั้งนี้ ผู้ขับขี่สามารถนำรถไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อลดปัญหาควันดำและนำรถไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่อยกเลิกคำสั่งห้ามใช้ชั่วคราวได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครสามารถนำรถไปให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจวัดควันดำได้ตามสถานที่ต่างๆ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ ถนนพหลโยธินซอย 7 อาคารห้องปฏิบัติการคลองหก สน.คู่ขนานลอยฟ้า สำนักงานขนส่งพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 พื้นที่ ได้แก่ บางขุนเทียน ตลิ่งชัน พระโขนง หนองจอก และจตุจักร และกองโรงงานช่างกลกรุงเทพมหานคร พื้นที่ต่างจังหวัดติดต่อที่สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเภท ผู้ขับขี่ที่ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้ยานพาหนะที่มีการใช้รถที่ถูกคำสั่งห้ามใช้ชั่วคราวเกินกว่าระยะเวลา 30 วัน หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจจะถูกกดําเนินคดี ตามกฎหมายฐานฝ่าฝืนคําสั่งห้ามใช้ยานพาหนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ มีโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท ตามมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 นายประลอง กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า